<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
2 พฤศจิกายน 2558

เทรนด์อุตสาหกรรมอาหาร ไทย-จีน

ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยและจีน





      ปี 2560 มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า มูลค่าส่งออก อาหารไทยน่าจะแตะที่ตัวเลข 2 ล้านล้านบาท อาหารไทย ส่งออกไปยัง 6 ทวีป รวม 222 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารติดอันดับหนึ่งของโลก หลายรายการ นอกจากนี้ภาครัฐได้มีนโยบายผลักดันอาหารไทย สู่ครัวโลก ทำให้สินค้าอาหารไทยได้รับการพัฒนาให้สอดคล้อง กับตลาดในยุคปัจจุบัน ปี 2558 การรวมตัวเป็นตลาดเดียวของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน หรือเออีซี ยิ่งทำให้อาหารไทยมีความโดดเด่นมากขึ้น เพราะอาหารของไทยมีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาด อาเซียน และปัจจัยที่ทำให้อาหารไทยมีศักยภาพสูงเป็นเพราะ ปริมาณวัตถุดิบมีเพียงพอและมีคุณภาพดี มีทักษะความ ชำนาญของผู้ผลิต มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และราคาแข่งขันได้ ประเทศไทยจะเป็นครัวเอกที่ผลิตและสร้างสรรค์สินค้า อาหารที่ได้มาตรฐานระดับโลก และยกระดับอาหารไทยให้เป็น อาหารจานโปรดคนทั้งโลก ความได้เปรียบในด้านของรสชาติ อาหารที่ได้รับการยอมรับในเวทีโลกเป็นปัจจัยสำคัญ ประกอบ กับหากมีการดำเนินนโยบายและโครงการสนับสนุน เพื่อ ขับเคลื่อนให้อาหารไทยกลายเป็นอาหารจานโปรดของคน ทั่วโลก ก็เป็นสิ่งที่สามารถจะเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้



จากการที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย มีรากฐานมาจากภาคการเกษตรมาเป็นระยะเวลานาน นับตั้งแต่ระยะแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยเริ่มต้นจากการแปรรูปสินค้าขั้นปฐม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเกษตรมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูปต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นการผลิตสินค้าประเภทอาหารแปรรูป ซึ่งมีทั้งการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรต่างๆมาเพิ่มผลิตภาพ โดย ลักษณะเด่นของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจะควบคู่กับการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจ คือการเป็นอุตสาห-กรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรขั้นปฐม (primary product) ซึ่งสินค้าที่ผ่านการแปรรูปดังกล่าว อาจจะอยู่ในรูปของสินค้าขั้นกลาง (intermediate product) ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปแปรรูปอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำมาบริโภคหรือในรูปสินค้าขั้นสุดท้าย (final product) ที่สามารถบริโภคได้เลย นอกจากนั้นยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในสัดส่วนที่สูงอีกด้วย (resource base industry) และนำมาซึ่งเงินตราต่างประเทศจำนวนมากในแต่ละปี 


อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยทั่วไปจะเน้นการใช้แรงงาน (labor intensive) จึงเท่ากับว่าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ช่วยเพิ่มการมีงานทำ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับแรงงานไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาค่าแรงที่สูงขึ้นหรือปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้

ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิต และส่งออกสินค้าอาหารที่มีคุณภาพดี และมีชื่อเสียงที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการผลิตเพื่อการส่งออก มีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ รวมถึง ศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ที่สามารถพัฒนาคุณภาพ และรูปแบบของสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้ ทำให้ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปในอันดับต้น ๆ ของโลกหลายรายการ อาทิเช่น ไก่แช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง และ ทูน่ากระป๋อง เป็นต้น ในขณะที่ประเทศจีนได้มีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจมานับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 โดยได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ทั้งนี้ประเทศจีนมีการตั้งเป้าหมายทางนโยบายเกี่ยวกับอาหารเพื่อให้ประเทศจีนมีอุปทานอาหารอย่างเพียงพอ มีเสถียรภาพทางด้านราคาอาหาร เพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิตอาหารในประเทศจีน และมีการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้นสถานะของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของจีนและไทยที่จะศึกษาในที่นี้ประกอบด้วยอุตสาหกรรมไก่แช่เย็นและแช่แข็งและอุตสาหกรรมกุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง


1.1 อุตสาหกรรมไก่แช่เย็นและแช่แข็ง (HS.020714)

1.1.1 ปริมาณการผลิต


ปริมาณการผลิตเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดในช่วงปี 2540-2545 (ตารางที่ 1.1) โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อไก่มากที่สุด คือในปี 2545 มีปริมาณการผลิต 14,382,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 31.2 ของปริมาณการผลิตทั้งโลก รองลงมาคือ ประเทศ
บราซิลและสหภาพยุโรป โดยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 15.3  และ 15.1 ตามลำดับ ส่วนประเทศจีนมีสัดส่วนในการผลิตเนื้อไก่ประมาณร้อยละ 11.7 ในขณะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่มากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก โดยมีปริมาณการผลิตในปี 2545 จำนวน 1.3 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของปริมาณการผลิตทั้งโลก




ครื่องจักรสำคัญสำหรับการผลิตอาหาร
เครื่องอัดลมหรือ ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)

เป็นปั๊มลมที่ใช้ตัวไดอะแฟรมทำให้การทำงานของลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกัน ดังนั้นลมที่ถูกดูดเขาในปั๊ม หรืออัดอากาศ จะไม่ได้มีการโดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ และลมที่ได้จะไม่มีการผสมน้ำมันหล่อลื่นแต่จะไม่สามารถสร้างแรงดันได้สูง ข้อดีคือลมที่ได้จากปั๊มประเภทนี้จึงมีความปลอดภัยมาก ไม่มีสารตกค้าง เช่น น้ำมัน หรือส่วนเกินจากวัตถุดิบและมักใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเคมี และอาจะใช้ในการอุสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำเนื่องจากเสียงที่เงียบกว่าแบบลูกสูบ



เทรนด์อาหาร
แนวโน้มสำคัญ “ความสวยงามในการมีผิวพรรณและรูปร่างที่ดี” ยังคง เป็นแนวโน้มสำคัญอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคคนไทย แม้ว่า พฤติกรรมการบริโภคโดยส่วนใหญ่จะสวนทาง ที่มักจะบริโภค ตามใจปาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากจำนวนคนอ้วนที่เพิ่มขึ้น ปีละ 4 ล้านคน (กระทรวงสาธารณสุข, 2556) ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ อาหารเพื่อสุขภาพ ที่อร่อยแต่ไม่เสียสุขภาพ และช่วยให้เกิด ความสวยงามต่อผิวพรรณ และรูปร่างดี จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ การนำเข้า ทิศทางการนำเข้าคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เหมือนใน ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมูลค่านำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4 แสนล้าน บาทต่อปี โดยสินค้านำเข้าร้อยละ 60 เป็นวัตถุดิบในโรงงาน แปรรูป เช่น ปลาทูน่า ปลาทะเลแช่แข็ง ข้าวสาลี แป้งสาลี และ กากถั่วในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เป็นต้น และส่วนอีกร้อยละ 40 ที่นำเข้ามาใช้บริโภคโดยตรง ได้แก่ ผัก ผลไม้สด เนื้อสัตว์ ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต และอาหารสำเร็จรูปสำหรับผู้ป่วย เป็นต้น (สถาบันอาหาร, 2556) การส่งออก ในปี 2557 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะอยู่ที่ 970,000 ล้าน บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีมูลค่า ประมาณ 913,000 ล้านบาท (สถาบันอาหาร, 2556) โดยปัจจัย สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออก คือ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพ ยุโรป มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการค้ากับ อาเซียน ซึ่งนับวันจะมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมอาหารของ ไทยเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ (ในปี 2556 ไทยส่งออกไปอาเซียน ประมาณร้อยละ 22 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) นอกจาก นั้นปัจจัยสนับสนุนในเรื่องค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ผลผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญของไทยคาดว่ายังคงเป็น สินค้าส่งออก 5 อันดับแรกเหมือนในปี 2556 ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ทราย ปลาทูน่ากระป๋อง ไก่ และ กุ้ง ในปี 2557 คาดว่าแนวโน้ม ส่งออกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออก ที่โดดเด่น ได้แก่ ไก่ คาดว่าจะส่งออกไก่เพิ่มขึ้นถึง 650,000-700,000 ตัน มูลค่า ส่งออกประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยปัจจัยผลักดันสำคัญมา จากญี่ปุ่น เปิดการนำเข้าไก่ไทย นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 เป็นต้นมา หลังจากห้ามนำเข้ามาตั้งแต่ปี 2547 ในช่วงที่มี ไข้หวัดนกระบาดในไทย สิ่งดังกล่าวช่วยสร้างความเชื่อมั่น ไก่ไทยมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศอื่นๆ พิจารณานำเข้า ไก่ไทยมากขึ้นตามไปด้วย อาทิ เกาหลีใต้ ประกอบกับไก่ เป็น อาหารโปรตีนที่ราคาไม่สูงเกินไป ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค (สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย, 2557)



สนับสนุนเนื้อหาโดย


  Specialist in compressed air products
Ultra Compressor on Facebook

Contact Ultra Compressor 


20 ถ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 48 แยก 13 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 

 โทร 0-2726-2311, E-mail sales@ultra-compressor.com





Create Date : 02 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2558 22:07:56 น. 0 comments
Counter : 3148 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1085247
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1085247's blog to your web]