www.facebook.com/ibehindyou

ทุก comment ที่คุณให้มา ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ได้สนุกกับการเขียน blog แล้วอ่านอยู่คนเดียว

บทความชมก่อนเชือด (ตอน 2) : หนังโหดเลือดสาด หนังลาบเลือด เชือด แทง มีผลต่อเด็กๆ (จริงหรือ?)

อ่านตอนแรกของบทความ ก่อนอ่านบทความนี้ได้ที่นี่ --> คลิก




... สาเหตุที่ทำให้ คนๆหนึ่ง กลายเป็น คนมีปัญหาสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็น ก้าวร้าวรุนแรง หรือ ขี้ตื่นตระหนกตกใจ ฯลฯ มีอยู่หลักๆแค่สองสามปัจจัย

1.ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น กำเนิดติดตัวมาจากยีนส์ตั้งแต่แรกเกิด , ฮอร์โมนบางตัวผิดปกติ , เป็นโรคทางจิตเวช , ใช้ยาหรือสารเสพติด ฯลฯ

2 ปัจจัยทางจิตใจหรือสังคม เช่น การเลี้ยงดู , การซึมซับความรุนแรง , สภาพแวดล้อม ฯลฯ

ความรุนแรงจากสื่อ ไม่ว่าจะเป็น หนังโหด , ละครข่มขืนตบตี ฯลฯ เป็น ส่วนหนึ่งของข้อ 2 ซึ่ง เราสามารถป้องกันได้


... จริงที่ เด็กคนหนึ่งจะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี สำคัญที่สุดคือ การเลี้ยงดูของพ่อแม่

จริงที่ การดูหนังรุนแรงหนึ่งเรื่อง คงไม่ทำให้เด็กโตมาเป็นฆาตกร หรือ โรคจิต

แต่ไม่ได้แปลว่า การเลี้ยงดูที่ดีพร้อม แล้วให้ เด็กเสพสื่อที่รุนแรง จะปลอดภัย

เพราะ การปล่อยให้เด็กเสพสื่อที่มีความรุนแรง ก็เป็น หนึ่งในรูปแบบ การเลี้ยงดู

และนั่นคือ การส่งมอบปัจจัยเสี่ยง ให้กับเด็ก จาก ความเชื่อผิดๆ ดังต่อไปนี้



ความเชื่อ VS. ความจริง






ความเชื่อ : ให้เด็กเล็กๆดูหนังโหดนานๆที หรือ พาเด็กเล็กๆเข้าโรงหนังคงไม่เป็นอะไร


ความจริง : ในกรณีเด็กเล็ก เด็กจะยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อนของหนังที่ดู

สิ่งที่เด็กรับเข้าไปในสมอง คือ อารมณ์ที่หนังถ่ายทอดออกมาผ่าน เสียงดังๆกับภาพที่มีความรุนแรง และ ถึงเด็กจะหลับ แต่สิ่งเหล่านั้นก็ซึมซับเข้าไปได้

เราจึงเห็นการพยายามที่จะให้เด็กตั้งแต่ในครรภ์รับฟังเสียงพ่อแม่ หรือ ดนตรีบรรเลงเพื่อผ่อนคลาย

อีกทั้งการพาเด็กเล็กๆเข้าโรงหนัง หรือ ดูหนังรุนแรง อาจทำให้เกิดความกลัวตกใจ

ตัวอย่างของประสบการณ์ที่ทำให้ตกใจกลัวรุนแรงเพียงครั้งสองครั้ง สามารถมีผลต่อเนื่องมาสู่ผู้ใหญ่ เช่น เด็กบางคน ถูกขังในห้องมืดแค่ครั้งเดียว โตขึ้นไม่กี่ปีต่อมา เขากลัวที่จะต้องอยู่คนเดียวและมีอาการเครียดรุนแรงเวลาต้องนอนปิดไฟ

ดังนั้น ประสบการณ์ในโรงหนัง หรือ การดูหนังที่มีความรุนแรง เป็น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่เลี่ยงได้ ควรเลี่ยง

... การศึกษาจำนวนมากยืนยันแล้วว่า

กรณีเด็กเล็กๆ โดยเฉพาะอายุไม่เกินสองปี แทบจะไม่มีความจำเป็นต้องดูอะไรที่เป็นหน้าจอ เช่น เกมส์ หรือ หนัง

มิหนำซ้ำ การเสพสื่อหน้าจอที่มากไป อาจจะะทำให้เด็กมีอาการต่อไปนี้

อาการเหมือนเด็กสมาธิสั้น – ซน ยุกยิก ไม่นิ่ง ใจร้อน ไม่ได้ดั่งใจขว้างของหรือตีเพื่อน จนถึง ก้าวร้าว

อาการเหมือนเด็กออทิสติก – พูดช้า ไม่สนคนอื่น มีโลกส่วนตัวสูง

หากมีอาการข้างต้น ลองงดหรือลดทีวี ก่อนไปพบแพทย์อาจทำให้เด็กดีขึ้นได้โดยอัตโนมัติ




ความเชื่อ : สมัยเด็กๆ ฉันก็เคยดูหนังโหดๆ เคยดูฉากโป๊ ฉันไม่เห็นเป็นฆาตกร หรือ ไปข่มขืน ใครเลย


ความจริง : ปัญหา 'สื่อ กับ ความรุนแรง' ถ้าเอาตัวเองหรือคนใกล้ตัวเป็นที่ตั้ง ไม่มีวันเข้าใจหรือแก้ไขได้

เช่น นายไก่ใช้ยาบ้า ไม่เห็นเป็นบ้า เพื่อนนายไก่ก็ใช้ไม่เห็นเป็นไร ในขณะที่ คนเจอปัญหาจากยาบ้า ไม่ใช่ นายไก่กับเพื่อนๆ แต่คือ ตำรวจ หรือ หมอที่ทำการรักษา

ดังนั้น จะใช้ ตรรกะว่า ฉันก็ดูไม่เห็นเป็นไร เพื่อนฉันก็ดูไม่เห็นเป็นไร มันก็เป็นแค่สังคมเฉพาะตัวที่ไม่ได้มอง ปัญหา แบบภาพรวม

... ปัจจัยที่ทำให้คนก้าวร้าวรุนแรง นอกจากด้านชีวภาพ เช่น ยีน , ฮอร์โมน ฯลฯ การซึมซับหรืออยู่กับความรุนแรง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ (เช่น อยู่ในบ้านที่เต็มไปด้วยเสียงด่าทอ อาละวาด ตบตี ฯลฯ)


...ดังนั้น คนสิบคน ดูแต่หนังรุนแรงมาตั้งแต่ เด็ก

ผลกระทบเชิงลบ ไม่จำเป็นต้องเป็น ฆาตกร แต่

2 คน อาจเป็นคนที่ขี้กลัวขี้ตกใจง่าย
2 คน อาจเป็นคนเก็บกด
2 คน อาจรักความรุนแรง แก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง
2 คน อาจเป็น ฆาตกร
2 คน อาจเป็น คนปกติ

... ตัวเราเองที่อยู่กับความรุนแรงมา อาจบังเอิญโชคดีเป็น หนึ่ง ใน 2 คนที่ปกติ แต่ไม่ได้แปลว่า ลูกหลานของเราจะโชคดีเหมือนๆกัน

และ

ถึงเราอาจดูแลลูกเราได้ดีมากๆก็ตาม แต่ ลูกเรา หลานเรา ดันไปโดนทำร้ายจาก ฆาตกร หรือ พวกมิจฉาชีพ ที่เติบโตมาจากปัจจัยของสื่อที่รุนแรง

เราหรือคนที่มีส่วนรับผิดชอบจะไม่รู้สึกเสียใจหรอกหรือ ที่เมินเฉยเรื่องต่างๆเหล่านี้

... ถึงความรุนแรงจากหนัง ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักปัจจัยเดียวที่ทำให้เด็กมีปัญหา แต่ เราจะยื่นปัจจัยเสี่ยงนี้ให้กับเด็กโดยไม่แยแสอะไรเลยหรือ





ความเชื่อ : อย่าคิดมากกันเลย แค่3- 4 ขวบจะอะไรนักหนา


ความจริง :เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถใช้เหตุผล แต่จะเรียนรู้จากการสังเกตบุคคลต้นแบบ แล้วเลียนแบบตาม (imitation > reason)

เช่น กรณีที่เราเห็นข่าวเด็กผูกคอตายเลียนแบบละครที่ดู หลายคนทักว่า ถ้าพ่อแม่ดูแลใกล้ชิดก็คงไม่เกิดปัญหา แต่ พ่อแม่จำนวนมากในสังคมไทยยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า หลักจิตวิทยาในการเลี้ยงลูกเป็นอย่างไร

หลายคน มองว่า จิตวิทยาเป็นอะไรที่ซับซ้อนหรือพิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ใช่เลย

หลายคนหลงลืมไปว่า การเลือกสื่อที่เหมาะสม ก็คือ การเลี้ยงดู ด้วยเช่นกัน

เด็กอาจไม่รู้ความ แต่ เด็กซึมซับได้แน่นอน

ไม่ต้องดูอื่นไกล เด็กที่อยู่ในบ้านที่พ่อแม่ตบตีด่าทอกันทุกวัน โตขึ้นมาซักนิดอาจจำไม่ได้ว่าเนื้อหาของการทะเลาะคืออะไร แต่ ความหวาดกลัว หรือ ความก้าวร้าว คือ สิ่งที่หลงเหลือสืบต่อมา





ความเชื่อ : ถ้ามีลูกฉลาด ลูกน่าจะเข้าใจ หรือ ดูจบเดี๋ยวผู้ใหญ๋อธิบายให้ฟังก็ได้


ความจริง : พัฒนาการของคนมีมากกว่าด้านสติปัญญา

และ ระดับสติปัญญา เป็น คนละเรื่องกับความสามารถในการจัดการอารมณ์หรือด้านศีลธรรม ( IQ not EQ / MQ )

ต่อให้ฉลาด เข้าใจ ก็ไม่ได้แปลว่า เด็กจะไม่กลัว หรือ ไม่เลียนแบบ มิเช่นนั้น เราคงไม่มี คนฉลาดเจ้าอารมณ์ , คนฉลาดไร้จริยธรรม อยู่ในสังคม




ความเชื่อ : โธ่ ต้องให้เด็กมันเจออะไรที่มันเลวร้ายบ้าง จะให้ดูแต่สิ่งดีๆอย่างเดียวไม่ได้หรอก เดี๋ยวโตขึ้นเอาตัวไม่รอด


ความจริง : เป็นข้อเท็จจริงที่ เด็กควรเรียนรู้ด้านมืดของโลกใบนี้ ไม่ใช่ว่าดูแต่เรื่องลั้ลลา การ์ตูนวอลท์ ดิสนีย์

เพียง แต่ การให้รู้จักโลกผ่านหนังแต่ละเรื่องก็มีช่วงวัยที่เหมาะสม


เช่น หากเราอยากสอนเรื่อง ความตาย ให้กับเด็ก 5-6 ขวบ

ก็ไม่จำเป็นที่จะหยิบหนังที่ฉากเชือด กระซวก เลือดพุ่งปรี๊ดพุ่งปรี๊ด จาก Saw มาให้เด็กดู แต่ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกสอนเรื่องนี้ได้จากหนังอย่าง Charlotte's Web

หากเราอยากสอนเรื่อง อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า ให้กับเด็ก 5-6 ขวบ

ก็ไม่จำเป็นที่จะหยิบหนังควักลูกตา เลื่อยไฟฟ้าหั่นนักท่องเที่ยว อย่าง Hostel มาให้เด็กดู แต่ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกสอนเรื่องนี้ได้จาก The Chronicles of narnia

แล้วเมื่อเด็กโตขึ้นหน่อย ก็ค่อยๆให้ดูหนังที่โหดขึ้นได้ จะเลือกอย่างไร ไม่ยากเลย ก็เช็คดูที่เรตหนังที่เมืองนอกเขาจัดมาก่อน




ความเชื่อ : ไม่ผิดหรอกที่จะพาเด็กไปดูหนัง ถ้ามั่นใจว่าสามารถที่จะให้คำแนะนำว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดีได้ มั่นใจว่าเลี้ยงลูกด้านอื่นๆดีพอแล้ว


ความจริง : ต่อให้เลี้ยงลูกแบบดีเยี่ยมในทุกด้าน แต่ยังปล่อยให้มีการเสพความรุนแรงต่อเนื่อง ความรุนแรงนั้นก็จะมีผลต่อเด็กเช่นกัน

เหมือน ต่อให้เลี้ยงลูกดีมากๆ แต่ให้เสพบุหรี่วันละมวน สุดท้าย เด็กก็จะติดบุหรี่และมีผลต่อปอด

ความรุนแรงจากสื่อ หรือ Media violence ไม่ต่างอะไรจาก ลูกกวาดอาบยาพิษ ที่กินแล้วรสชาติดีแต่คนเสพต้องพึงเตือนใจไว้เสมอว่า พิษที่จะตามมามีได้ดังนี้

พิษทันใจ พิษรุนแรง (More aggression) เช่น กลายเป็นคนรุนแรงมากขึ้น , ควักปืนมายิง , ชกต่อยทันใจ , ใช้ความรุนแรงเป็นทางเลือกแรกในการแก้ปัญหา

พิษสะสม (desensitization ) กลายเป็นคนชินชากับความรุนแรง , ยอมรับความรุนแรงได้มองเป็นเรื่องธรรมดา , ขาดความเห็นอกเห็นใจคนที่ถูกกระทำรุนแรง

พิษผกผัน (more fearful) กลายเป็นคนไม่ไว้ใจโลก ไม่ไว้ใจคน , ขี้กลัวตื่นตระหนกตกใจ , ฝันร้าย ฯลฯ

... หากใครภูมิคุ้มกันมาดี พิษก็อาจจมีฤทธิ์น้อย

แต่จะรู้ได้อย่างไร ว่าเด็กคนไหนภูมิติดตัวมาดีเพียงใด หากเราไม่สนใจปล่อยให้เด็กเสพสื่อรุนแรงต่อไป กว่าผลลัพธ์จะแสดงออกมา ก็ต่อเมื่อเด็กคนนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่

เมื่อถึงตอนนั้น อะไรๆ ก็อาจจะสายเสียแล้ว


สรุป



สำหรับวัยผู้ใหญ่

หนัง ไม่ใช่ ปัญหา แต่ ปัญหาหากจะเกิดก็มาจาก คนดูว่าจะรู้จักเสพสื่ออย่างมีสติหรือไม่


แต่

สำหรับเด็ก และ วัยรุ่น

ปัญหาหากจะเกิดก็มาจาก ผู้ใหญ่มีความจริงใจในการป้องกันปัญหามากน้อยเพียงใด

พ่อแม่ จะช่วยกัน เลือกหนังให้เหมาะสมกับวัยหรือไม่

ผู้ประกอบการ จะช่วยกันหนังที่ไม่เหมาะสมกับวัยเด็กอย่างไร

คนที่มีส่วนรับผิดชอบ ยังจะเลือกใช้วิธีการเกาไม่ถูกที่คัน แบบการเบลอหรือตัดหนัง แต่ ปล่อยให้เด็กๆยังนั่งเห็นความรุนแรงตลอดทั้งเรื่อง แล้วผู้ใหญ่ดูแบบเสียอารมณ์

หรือ จะเลือกใช้วิธีการที่ดีกว่าและเหมาะสมกว่า เช่น เอาจริงกับการจัดเรตหนัง หรือ ตอนนี้กฎหมายยังไม่ออกก็สามารถทำได้ด้วยการแปะสัญลักษณ์เรตหนังไว้ที่หน้าหนังสือพิมพ์ ให้พ่อแม่ได้รับรู้ก่อนเลือกหนังให้เด็กชม


ทางออกสำหรับผู้ปกครองคนรักหนังที่ต้องดูแลเด็ก


1.ถ้าอยากดูหนังในโรง แต่ ลูกยังไม่เหมาะ ฝากลูกไว้กับคนที่ไว้ใจได้ เช่น ปู่ย่า หรือ พ่อกับแม่ผลัดกันมาดู


2.หากหาคนไม่ได้ ก็รอแผ่นเถอะครับ ไม่ได้ดูหนังในโรงก็คงไม่ได้มีผลต่อชีวิตอะไรมากนัก ผมคิดว่า การเลือกอยู่บ้านและเลือกบทบาทพ่อแม่ที่ดี ลูกย่อมเติบโตมาอย่างภูมิใจ


3.ถ้าลูกอายุไม่ถึงหกขวบ อย่าเพิ่งพาลูกเข้าโรงหนังเลย เพราะเด็กยังไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดีพอ และ เด็กในช่วงนี้พัฒนาการการเรียนรู้ยังไม่มากพอที่จะทำความเข้าใจอะไรหลายๆอย่างที่เป็นเหตุเป็นผลซับซ้อน

สู้ดูที่บ้านแล้วช่วยอธิบายไปพร้อมๆกัน เป็นการฝึกเด็กดูหนัง และ สอนพื้นฐานมารยาทการเข้ามาดูหนังในโรงหนังก่อนดีกว่า

เพราะถ้าคุณพาเข้าโรงหนัง เด็กไม่ผิดเลย ถ้าเด็กจะร้องกระจองอแง เด็กถามตลอดเวลา ฯลฯ กรุณาอย่าดุว่าเด็ก และ เสียงเด็กร้อง เสียงเด็กถาม เสียงคุณสอน เสียงคุณปราม สิ่งเหล่านี้ก็คือ ตัวคุณกำลังรบกวนคนอื่นที่นั่งดูหนังในโรงเดียวกันด้วย


4.ถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยแล้ว พร้อมกับการพาเข้าโรงหนัง หากอยากจะดูหนังเรื่องอะไร ลองเข้าไปเช็คสิ่งที่เรียกว่าเรตหนัง ก่อนพามาดูครับ

เช่น เข้าไปเว็บ//www.imdb.com พิมพ์ชื่อหนังแล้วกดเข้าไปอ่านรายละเอียด ลองไล่ๆมาจะพบ การบอกเรตหนัง หลังตัวอักษร MPAA พร้อมคำอธิบายสั้นๆว่าทำไมถึงได้เรตนี้






"ผมอยู่ข้างหลังคุณ" ขอส่งเทียบเชิญเพื่อนๆผู้อ่านผ่านหน้านี้ ชวนแวะมาพบปะทักทายกัน และ เว้าวอนให้มารับลายเซ็นกลับไปเป็นที่ระทึก ในงานสัปดาห์หนังสือ วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม และ เสาร์ที่ 4 เมษายน เวลาบ่ายสองโมง โซน C1 บูธ N45 สนพ.4-letter word ศูนย์ประชุมสิริกิติติ์

พร้อมกับ ขอฝากหนังสือเล่มใหม่ชื่อ มากกว่าที่ตาเห็น - LifeScan เปิดตัวในงานหนังสือครั้งนี่ครับผม





บทสรุปแห่งปี 2008

9 หนังดี(วีดี)น่าดู ประจำปี 2008

10 ตัวละครประทับใจ ประจำปี 2008

10 ฉากประทับใจ ประจำปี 2008

50 หนังประทับใจ ประจำปี 2008(ตอน 1)

5 หนังไม่ชอบ + 50 อันดับหนังประทับใจ ประจำปี 2008 (ตอนจบ)





พื้นที่แนะนำผลงาน{ตัวเอง}

(คลิกที่รูปหนังสือ เพื่อ อ่าน หรือ แสดงความเห็น ต่อหนังสือแต่ละเล่มได้เลยครับ)

ปีนี้ “ผมอยู่ข้างหลังคุณ” ขอฝากผลงานเล่มล่าสุดที่เพิ่งคลอดจ้า อันว่าด้วย 'ความรักและกำลังใจ' ผ่านแรงบันดาลใจจากชีวิตและภาพยนตร์ ในหนังสือที่ชื่อว่า

เมื่อฉันลืมตา แล้วโลกเปลี่ยนไป



และ ผลงานสองเล่มก่อน จากสองปีที่ผ่านมา



"หนังสือรัก" หนังสือที่หยิบยกความรักและความสัมพันธ์ในภาพยนตร์ มาช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง ได้มากขึ้นและลึกซึ้งกว่าเดิม กับ องศาที่ 361 หนังสือที่อาสาช่วยคุณค้นหามุมเล็กๆในตัวเองที่จะมีความสุขในชีวิตได้มากขึ้น โดยอาศัย'หนัง'เป็นสะพานพาไปเข้าใจตัวเอง


มีขายตามร้านหนังสือทั่วไป แต่ เพื่อนๆที่หาซื้อตามร้านไม่ได้ "หนังสือรัก"เข้าไปสั่งได้จากเว็บของสนพ.เลยจ้าที่ //www.bynatureonline.com/store/bookstore.php ส่วน องศาที่ 361 สั่งได้จากเว็บของซีเอ็ดครับผม






ชวนไปอ่านบทความเรื่องอื่นๆ คลิก

พูดคุยกับเจ้าของ Blog คลิก

เปิดหารายชื่อหนังเก่าๆนอกเหนือจากในหน้าสารบัญ คลิก





ขอคิดค่าบริการต่อการอ่าน 1 หน้าในอัตราเพียง

ความเห็น
ของคุณมีประโยชน์กับผู้อ่านคนถัดมา คำทักทายของคุณเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน คำติชมหรือคำแนะนำของคุณจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาหากคุณเข้ามาอ่านครั้งถัดไป



Create Date : 24 มีนาคม 2552
Last Update : 24 มีนาคม 2552 0:50:44 น. 8 comments
Counter : 2485 Pageviews.

 
รักการอ่านบล๊อกของคุณหมอ แต่ดูภาพโหดๆไม่ไหวแล้ว
รักนะเด็กๆ แต่ให้ดูไปเถอะ ถ้าเด็กกลัวภาพที่เห็นแต่เด็ก โตมามันอาจจะไม่ทำ


โดย: Ghoeby วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:8:47:48 น.  

 
ผู้ปกครองสมัยนี้ก็มีเหตุผลเข้าข้างตัวเอง ในการที่จะพาลูกเข้าโรงหนัง เหอ เหอ เหอ


โดย: หัวใจสีชมพู วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:10:03:57 น.  

 
เห็นด้วยครับ อ่านแล้วรู้สึกรู้อะไรมากขึ้น
อยากให้พ่อแม่หลายๆคนมาอ่านจัง


โดย: Dr.Garden IP: 124.120.38.247 วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:13:22:49 น.  

 
ตามมาอ่านค่ะ
แต่ขอสารภาพว่ายังไม่ได้ลองทำแบบทดสอบในบล็อกก่อนหน้าหรอกนะคะ ... กลัวอ่ะ ... แหะๆ ...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ


โดย: ยืมล็อกอินพี่มาโพสต์ค่ะ IP: 124.122.199.166 วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:16:01:10 น.  

 
ดิฉันเป็นคอหนังแนวนี้เหมือนกัน
ดูถึงระดับ SAW ค่ะ ยังไม่ถึง Hostel
ดิฉันเชื่อว่า ดูหนังแนวนี้มากๆ มีผลต่อจิตใจแน่นอน
ยกตัวอย่างตัวเองเลย (อย่ามองดิฉันแบบน้านนน)
มีอยู่ช่วงนึงดูหนังแนวนี้บ่อยๆ
หนังก็เชือดคอกันจัง เลือดสาดๆๆๆ
ดิฉันก็พาลคิดไปว่า อยากลองเชือดดูบ้างจัง
ว่ามันจะเลือดสาดแบบนั้นไหม อายุตอนนี้ก็ 20 ค่ะ
เรียกว่ามีวุฒิภาวะแล้วแหละ ยังมีความคิดแบบนี้เลย
(แต่ไม่ได้ทำนะ แหะๆ)
นับประสาอะไรกับเด็กๆ


โดย: JT IP: 118.173.194.159 วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:17:38:44 น.  

 
ตามมาที่บล็อกอีกรอบคะ ขอบคุณบทความดีๆนะคะ


โดย: sawkitty วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:20:53:50 น.  

 
ขอบคุณครับ

ตามมาจากกระทู้แนะนำ บล็อกวันนี้เขียนดีมากเลยครับจะแนะนำให้เพื่อน ๆ มาอ่านครับ


โดย: littlebean IP: 130.101.15.20 วันที่: 25 มีนาคม 2552 เวลา:5:57:06 น.  

 
ชอบทั้งสองบทความเลยค่ะ เห็นด้วยมากๆ

อยากให้พ่อแม่เข้ามาอ่านเยอะๆ เลย ^^


โดย: Clear Ice วันที่: 26 มีนาคม 2552 เวลา:9:25:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.