It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
24 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
●● อังกฤษอเมริกัน ๒.๑.๘ ●●

*under fire(2)

คราวก่อนเราเห็นแล้วว่าความหมายของ under fire แปลว่า ถูกระดมยิง

ดังนั้นถ้าจะแปลประโยคว่า He came under fire for mishandling the situation. แปลว่า เขาถูกระดมยิงเพราะจัดการสถานการณ์ผิดพลาด ถูกต้องใช่หรือไม่

ไม่ใช่ครับ เพราะ under fire ยังมีอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ ถูกโจมตี (ด้วยคำพูด) ถูกวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหลายเสียงพร้อม ๆ กัน

ถ้าเรานึกถึงการวิพากษ์วิจารณ์ โจมตีด้วยคำพูด ว่าคล้ายกับการถูกยิงก็น่าจะช่วยให้จำสำนวนนี้ง่ายขึ้น

Justice Under Fire ที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสารคดี BBC เกี่ยวกับเมืองไทย ก็น่าแปลว่า “ความยุติธรรมถูกโจมตี”

ไม่ใช่ “ความยุติธรรมใต้เปลวไฟ” (ซึ่งถ้าจะบอกว่าความยุติธรรมถูกเผาวอดหมดก็น่าจะเป็น justice up in flames มากกว่า) และไม่ใช่ “ความยุติธรรมภายใต้กระบอกปืน” (ซึ่งน่าจะใช้ว่า under the gun มากกว่า)

ชื่อของสารคดี BBC ดูเหมือนจะบอกว่าความยุติธรรมในประเทศไทยถูกกระหน่ำโจมตี ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่นั่นเป็นข้อสรุปของผู้ทำสารคดีหลังจากที่พิจารณาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่สามารถหาได้

แต่มีอีกสำนวนที่อาจทำให้เรามอง justice under fire ในอีกความหมายหนึ่งได้ (แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้น้อยกว่า) นั่นคือ courage under fire = ความกล้าหาญภายใต้การถูกระดมยิง

ทหารที่แสดง courage under fire ก็อาจได้รับเหรียญเกียรติยศ Congressional Medal of Honor ซึ่งหมายความว่าไม่ว่าทหารผู้นั้นจะยศต่ำต้อยเพียงใด แม้แต่นายพลก็จะต้องทำความเคารพ (แต่กว่าครึ่งจะได้รับหลังจากที่ตายแล้ว)

ถ้า courage under fire หมายถึงความกล้าหาญทั้ง ๆ ที่โดนกระหน่ำยิงจากรอบด้าน ในเชิงเดียวกัน justice under fire ก็อาจจะหมายถึง ความยุติธรรมทั้ง ๆ ที่ถูกกระหน่ำโจมตี

ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นสารคดีนี้ก็อาจเป็นการบอกว่าผู้นำคนใหม่ของไทยควรจะทำให้เกิดความยุติธรรมให้ได้ไม่ว่าจะโดนกระหน่ำโจมตีมากน้อยเพียงใด.


* nobody(1)

คุณผู้อ่านที่ชื่นชอบหนังการ์ตูนของ Pixar เรื่อง Finding Nemo เคยทราบไหมครับว่า Nemo มีความหมายว่าอะไร

ไม่ทราบก็ไม่เป็นไรครับ เพราะชื่อฝรั่งโดยมากจะไม่ค่อยมีความหมายอยู่แล้ว ต่างจากชื่อไทยที่ทุกพยางค์และแม้แต่ทุกตัวอักษรถือว่ามีความหมาย บางคนถึงกับเปลี่ยนชื่อตัวเองหลายรอบด้วยหวังว่าถ้ามีชื่อที่ถูกโฉลกแล้วโชคลาภจะตามมา (หรืออย่างน้อยความซวยจะหมดไป)

ความจริง Nemo ไม่เหมาะที่จะเป็นชื่อคน เพราะเป็นภาษาลาตินที่ีแปลว่า nobody = ไม่มีใคร ผู้ที่ไม่มีตัวตน ผู้ที่ีไม่มีความสำคัญแม้แต่นิด (ว่าไปแล้วก็แปลเป็นไทยยากเหมือนกัน เพราะภาษาไทยไม่ได้เรียกแบบนี้ เช่น I want nobody but you. ต้องแปลว่า ฉันไม่ต้องการใครนอกจากเธอ แทนที่จะแปลว่า ฉันต้องการไม่มีใครนอกจากเธอ)

แต่ก็ยังอุตส่าห์มีบางคนเรียกตัวเองว่า nobody โดยครั้งแรกปรากฏในตำนาน the Odyssey ที่เล่าโดยกวีกรีกโบราณนามว่า Homer (โฮ้เหม่อร์)

เปล่าครับ Homer ที่ว่านี้ไม่ได้มีนามสกุล Simpson แต่เป็น Homer ต้นตำรับเจ้าเก่า เป็นนักเล่าตำนานกึ่งประวัติศาสตร์ซึ่งอมตะและโด่งดังอันดับต้น ๆ ในวรรณกรรมตะวันตก นั่นคือ the Iliad (อิ๊ลหลิแหยด) และ the Odyssey (อ๊อดดิสสี่)

The Iliad เล่าเรื่องสงครามเมือง Troy หรือ Ilium ในภาษาลาติน (ซึ่งเดิมทีคนนึกว่าเป็นแค่เมืองในตำนาน จนกระทั่งนักโบราณคดีขุดพบร่องรอยของเมือง Troy จริง ๆ) ส่วน the Odyssey เล่าเรื่องของการเดินทางกลับบ้านของ Odysseus (โอดิ๊สสิหยัส) นักรบผู้เป็นต้นคิดม้าไม้ทำให้กองทัพกรีกตีเมือง Troy ได้สำเร็จ

ในเรื่อง the Odyssey พระเอกไปเทียบเรือที่เกาะซึ่งมีเผ่ายักษ์พันธุ์ดุร้ายมีลูกตาดวงเดียวอยู่ตรงกลางหน้าผาก เรียกว่า Cyclops (ไซ้ขล็อพส) (หลายพันปีให้หลัง Marvel Comics ได้นำมาใช้เป็นชื่อตัวเอกคนหนึ่งในการ์ตูน X-Men)

หลังจากที่ Cyclops กินลูกเรือของ Odysseus ไปหลายคน เขาก็วางแผนมอมเหล้ายักษ์ตาเดียว แล้วเมื่อยักษ์หลับก็ร่วมกับลูกเรือที่ยังรอดชีวิตอยู่เอาไม้แหลมแทงตายักษ์จนบอด

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ nobody ด้วย คราวหน้าเราจะดูกันต่อครับ


※●●※

*Nobody (2)

ระหว่างที่ Odysseus มอมเหล้า Cyclops ยักษ์ตาเดียวก็ถามเขาว่าชื่ออะไร และบอกว่าจะมีรางวัลให้ถ้าตอบ

เมื่อ Odysseus ตอบว่าชื่อ nobody (= ไม่มีใคร) ยักษ์ (ผู้ไม่ค่อยฉลาด) ก็บอกว่า เออ ชื่อแปลกดี รางวัลที่เราจะให้เจ้าก็คือจะกินเจ้าเป็นคนสุดท้าย

หลังจากนั้นไม่นาน Cyclops ก็หลับไปด้วยความเมามาย เมื่อเริ่มกรนได้ที่ Odysseus กับลูกเรือที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ช่วยกันยกต้นไม้ที่เหลาปลายจนแหลมวิ่งเข้าไปเสียบฉึกที่ลูกตาที่ปิดอยู่ของ Cyclops

เจอเข้าอย่างนั้น Cyclops ก็กรีดร้องด้วยความเจ็บปวด Cyclops อีกตัวในถ้ำใกล้เรือนเคียงก็ตะโกนถามว่าเป็นอะไร เจ้านี่ก็ตอบว่า Nobody is trying to kill me! = ไม่มีใครพยายามฆ่าฉัน เพื่อนบ้านถามย้ำว่า Who’s trying to kill you? = ใครพยายามฆ่าคุณ เมื่อได้ยินคำตอบอีกทีว่า Nobody! เพื่อนบ้านก็พึมพำว่าไอ้หมอนี่ชอบเล่นตลกเรื่อย กวนบาทาสิ้นดี กลับไปนอนดีกว่า

ถ้าอยากทราบว่าเรื่องราวดำเนินต่อไปอย่างไรก็ลองหาอ่านในเว็บดูนะครับ ค้นคำว่า Odysseus หรือ Odyssey หรือ Polyphemus (ชื่อของ Cyclops ตัวนี้) ก็ได้

ที่ผมเล่าเรื่องนี้ก็เพียงเพื่อให้เห็นว่าบางทีการเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น Nobody ก็อาจมีประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปคนไม่นิยมใช้ชื่อว่า Nobody เพราะ nobody นอกจากจะแปลว่า ไม่มีใครแล้ว ยังแปลว่า คนที่ไม่มีความสำคัญ คนไม่มีความหมาย ได้อีกด้วย

เพราะเหตุนี้กัปตัน Nemo ซึ่งหลีกเร้นจากสังคมมนุษย์ลงเรือดำน้ำไปอยู่ใต้ทะเล จึงเรียกตัวเองว่า Nemo ซึ่งแปลว่า nobody

และลูกปลาการ์ตูนของ Pixar ก็ชื่อ Nemo เหมือนกับกัปตันจากเรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea = ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ (ซึ่งไม่ได้หมายถึงความลึกของทะเล แต่หมายถึงระยะทางที่เดินทางในเรือดำน้ำของกัปตันนีโม) และนอกจากนั้นยังน่าสนใจตรงที่ชื่อมีความหมายว่า ไม่มีใคร คนไม่สำคัญ ฯลฯ แต่บทของปลาน้อย Nemo กลับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเรื่อง

แล้วก็ยังมีการใช้ nemo ในภาษิตลาติน เช่น Nemo me impune lacessit. แปลว่า ไม่มีใครที่จะมาทำร้ายฉันแล้วลอยนวลไปได้ ซึ่งถ้าจะพูดเป็นภาษาสมัยใหม่ก็คงออกทำนอง Nobody messes (หรือคำที่หยาบกว่านั้น) with me and gets away with it.

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ปณ.สามเสนในกท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 0-2616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com


credit : //www.dailynews.co.th/

Background :
ยายกุ๊กไ่ก่


Create Date : 24 สิงหาคม 2554
Last Update : 24 สิงหาคม 2554 5:42:51 น. 2 comments
Counter : 2293 Pageviews.

 
▼▲ ดูถูก (2)

กริยาดูถูกนอกจากจะได้แก่ to look down upon แล้ว ก็ยังมี to look down one’s nose at (someone/something) แปลตรงตัวว่า มองลงจมูกตัวเองไปที่ (ใครบางคน/อะไรบางอย่าง)

ในทั้งสองสำนวนผู้ดูถูกจะถือว่าตัวเองอยู่ “เหนือ” ผู้ที่ตนดูถูก ไม่ว่าจะด้วยฐานะทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ พื้นฐานทางการศึกษา ความเคร่งศาสนา การมีกล้ามใหญ่ หรืออะไรก็แล้วแต่

ความรู้สึกดูถูกเหยียดหยามในภาษาอังกฤษถ้าจะเรียงจากนามที่เข้มข้นมากจนกระทั่งเข้มข้นน้อยก็อาจเรียงลำดับจาก contempt (คันเท่มพถ) แล้วเป็น scorn (สกอร์น) แล้วจึง disdain (ดิสเดน) ล้วนไม่จำเป็นที่จะแสดงออกนอกหน้า แต่อาจจะเก็บไว้ในใจและระเบิดออกมาในจังหวะที่เหลืออดเต็มทน

เช่นภาพข่าวในช่วงความไม่สงบปีที่แล้วที่มีชาวเสื้อหลากสีถือป้ายภาษาอังกฤษเขียนว่า Uneducate people แล้วกรุณาวงเล็บเป็นไทยว่า ไอ้พวกไม่มีการศึกษา

ไม่มีข้อสงสัยว่าผู้เขียนป้ายนั้นเต็มไปด้วย contempt สำหรับคนที่เขามองว่าไม่มีการศึกษาและบังอาจแสดงออกความเห็นทางการเมืองที่สวนทางกับสิ่งที่เขาเชื่อ

แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นภาพที่ฝรั่งเรียกว่า rich in irony = อุดมไปด้วย irony (แม้ว่า irony นั้นอาจจะ lost on non-English speakers = ไม่เป็นที่เข้าใจของคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ)

Irony (อ๊ายหรั่นหนี่ หรืออ่านเร็ว ๆ เป็น อ๊ายรหนี่) เป็นคำที่ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้ยาก แม้ว่าดิกออนไลน์หลายแห่งจะแปลว่า ถ้อยคำเย้ยหยัน แดกดัน ถากถาง แต่คำแปลเหล่านั้นล้วนไม่ถูกต้อง (เข้าใจว่าคงเกิดจากการลอก ๆ กันมาหลาย ๆ ทอด เมื่อต้นตอผิด เว็บไซต์อื่น ๆ ที่ลอกต่อก็พากันผิดตามไปด้วย ผู้ไม่รู้พอเห็นว่าหลายเว็บไซต์แสดงผลอย่างเดียวกันก็จะนึกว่าคำแปลที่ผิดนั้นเป็นคำแปลที่ถูก)

จริงๆ แล้ว irony หมายถึงการใช้คำพูดที่มีความหมายต่างจากความหมายที่ตั้งใจจะสื่อ หรือการพูดอย่างหนึ่งแต่สิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏให้เห็นกลายเป็นอีกอย่าง ทำให้เกิดความขำขันนิด ๆ

Irony ของป้ายที่ว่าคือด่าคนอื่นว่าไร้การศึกษา แต่ผู้เขียนป้ายกลับเขียนผิด แสดงถึงความไร้การศึกษาของตัวเอง

ถ้าจะให้ความหมายภาษาอังกฤษในป้ายตรงกับภาษาไทยที่วงเล็บไว้ก็ควรเขียนว่า Uneducated people = คนไร้การศึกษา (คำว่า uneducate ไม่มีในภาษาอังกฤษ) หรือถ้าจะเติม “ไอ้” ไปด้วยก็ควรเป็นคำอื่นที่ไม่ใช่ people ครับ เพราะในภาษาอังกฤษไม่มีคำที่แปลตรง ๆ ได้ว่า ไอ้ หรือ อี.

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ. สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 0-2616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com


โดย: abc-xyz (เตยจ๋า ) วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:6:28:55 น.  

 
อังกฤษอินเดีย (1)

คุณ Curious Mind จากนิวเดลี อินเดีย ถามมาว่า “If usually ‘past’ means ‘previous’ and ‘last’ means ‘final,’ then should we use ‘past June’ instead of ‘last June’ when we want to refer to June 2011? Is there any difference?”

อ่านแค่นี้ก็พอเดาออกว่าคุณ Curious Mind กำลังมึนงงกับภาษาอังกฤษแบบอินเดีย

พวกเราคงคุ้นเคยกับสำเนียงอินเดีย (และแขกประเทศอื่น ๆ) พอสมควร แต่ภาษาอังกฤษอินเดียไม่ได้แตกต่างจากภาษาอังกฤษมาตรฐานแค่ตรงสำเนียงเท่านั้น แต่ยังมักจะมีวิธีใช้ที่ทำให้ชาวอังกฤษและอเมริกันอ้าปากค้างอีกด้วย

อย่างถ้าเราจะพูดว่า มิถุนายนที่แล้ว ภาษาอังกฤษมาตรฐานจะใช้ว่า last June

แต่ภาษาอังกฤษแบบอินเดียใช้กันว่า past June ด้วยตรรกะที่ว่าเป็นมิถุนายนที่ past = ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ใช่มิถุนายนสุดท้าย เนื่องจากปีหน้าและปีต่อ ๆ ไปก็จะยังมีมิถุนายนอีก (เว้นแต่ว่าถ้าคุณเชื่อว่าปีหน้าจะเป็นปีสุดท้ายจริง ๆ) เป็นวิธีคิดที่ชาวอินเดียเท่านั้นเข้าใจ

ที่เราเห็นบ่อยที่สุดคือหลักเลข ภาษาอังกฤษอินเดียมีคำที่ใช้เรียกหลักเลขจำนวนสูง ๆ หลายคำ สมกับที่อินเดียผลิตนักคณิตศาสตร์ระดับโลกหลายคน เช่น Srinivasa Ramanujan อัจฉริยะตีนเปล่าผู้ทำให้โลกคณิตศาสตร์ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตะลึง

แต่หลักเลขที่แตกต่างจากภาษาอังกฤษและที่เราเห็นบ่อยที่สุดคือ lakh กับ crore

ในภาษาอังกฤษเวลาเราจะพูดว่า หนึ่งแสน ก็จะใช้ว่า one hundred thousand = หนึ่งร้อยพัน แต่ในภาษาอังกฤษอินเดียใช้ว่า lakh (ลัค)

นอกจากนั้น สิบล้าน (หรือโกฏิ) ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้ว่า ten million ในภาษาอังกฤษอินเดียก็มีคำเรียกเฉพาะว่า crore (ครอร์)

เวลาจะเรียกจำนวนเลขที่โตกว่านั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใช้สองคำนี้เป็นฐาน (แล้วคูณเอา) มากกว่าที่จะใช้คำเฉพาะอื่น ๆ

เรื่องของตัวเลขยังเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ที่ภาษาอังกฤษอินเดียสร้างความงุนงงให้กับผู้ใช้ภาษาอังกฤษชาติอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีศัพท์สำนวนในชีวิตประจำวันที่ภาษาอังกฤษอินเดียดัดแปลงจนกลายเป็นมาตรฐานใหม่ (ที่ไม่มาตรฐาน) และที่บัญญัติขึ้นใหม่ใช้กันแพร่หลายในชมพูทวีป แต่ทวีปอื่นไม่รู้จัก

แล้วคราวหน้าเราจะมาทำความรู้จักกับศัพท์สำนวนเหล่านั้นสักหน่อยนะครับ.

อังกฤษอินเดีย (2)

ไม่มีใครทราบว่าทำไมภาษาอังกฤษอินเดียจึงมีหน้าตาที่คล้ายคลึงภาษาอังกฤษมาตรฐานแต่กลับมีรสชาติ กลิ่นอายที่แตกต่างจากต้นตอเช่นนั้น

ผมสันนิษฐานว่าชาวอินเดียคงจะนำศัพท์ภาษาอังกฤษไปถอดความแล้วเรียบเรียงใหม่ในลักษณะที่เขาเห็นว่าสมเหตุสมผลแต่เจ้าของภาษาเดิมอาจไม่คุ้น (อย่าว่าแต่ชาวอินเดียเลยครับ คนไทยก็เหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก็ทำให้เกิดวิธีใช้ภาษาแบบใหม่ ๆ ที่...เอ่อ...น่าสนใจ)

อย่างสำนวน to pass out เป็นต้น ในภาษาอังกฤษมาตรฐานเป็นกริยาแปลว่า เป็นลมหมดสติ เช่น The heat and excitement must have caused her to pass out. = ความร้อนและความตื่นเต้นคงจะทำให้เธอเป็นลมหมดสติ

(โปรดอย่าสับสนกับ pass away นะครับ pass out แปลว่า เป็นลมหมดสติ แต่ pass away แปลว่า สิ้นลม นั่นคือเสียชีวิต เป็นคำที่น่าตกใจน้อยกว่า die หรือบางคนอาจใช้ pass on ก็ได้ แปลว่า ผ่านไปยังภพอื่น ซึ่งเข้าใจกันว่าหมายถึงสวรรค์หรือสัมปรายภพ)ถ้ามีกรรม to pass out (something) ก็แปลว่า แจก เช่น Please pass out these flyers. = โปรดแจกใบปลิวพวกนี้

แต่ในภาษาอังกฤษอินเดีย ความหมายของ pass out คือสำเร็จการศึกษา นั่นคือเรียนจบ “สอบผ่าน” แล้วก็ได้ “ออก” จากสถาบันการศึกษานั้น เป็นสำนวนแบบอินเดียที่ตรงความหมายยิ่งนัก เสียแต่ว่าไม่คำนึงถึงความหมายแท้จริงของภาษาดั้งเดิมเลย

แล้วก็มีคำว่า revert ซึ่งภาษาอังกฤษมาตรฐานแปลว่า กลับคืนสู่สภาพเดิม เช่น After a few hours, the potion wore off and he reverted to his former self. = หลังจากสามสี่ชั่วโมง ฤทธิ์ยาต้มก็หมดลง และเขาก็กลับคืนไปเป็นคนเดิม

แต่ในภาษาอังกฤษอินเดีย คำว่า revert ซึ่งไม่ค่อยจะใช้กันทั่วไปในภาษาอังกฤษมาตรฐาน กลับกลายเป็นคำที่ใช้ประจำวัน ในความหมาย ตอบ เช่นตอบจดหมาย หรือ โทรศัพท์กลับ ซึ่งภาษาอังกฤษมาตรฐานใช้ว่า respond หรือ reply มากกว่า

ถ้าเป็นฝรั่งจะพูดว่า Please reply at the earliest opportunity. แต่อินเดียจะพูดว่า Please revert soonest. โดยออกเสียงตัว v เป็น w อีกต่างหาก.

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ.สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 0-2616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com


Credit : //www.dailynews.co.th/


โดย: abc-xyz (เตยจ๋า ) วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:13:56:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.