It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
20 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
โปรดอย่าเอาทิฏฐิตนมาจับผิด ตั้งแง่ที่จะทำร้ายกิ่งอื่น หักรานกิ่งอื่น




ที่มา: https://goo.gl/aAMRO3

จุดชี้ขาดความเป็นชาวพุทธเถรวาท คืออะไร?
 เมื่อประมาณเดือนพ.ค. 59 ที่ผ่านมา มีบางท่านตั้งคำถามต่อประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่า ทำไมต้องกำหนดไว้ด้วยว่า "รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแพร่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท" พร้อมแสดงความกังวลว่า การกำหนดเนื้อหาดังกล่าวไว้จะทำเพิ่มความขัดแย้งให้สังคมไทย
โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้เหตุผลว่า



“ที่ต้องกำหนดลงไปว่า เป็นพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะต้องการให้เกิดความชัดเจน เพราะเป็นนิกายที่คนไทยนับถือ เวลานี้ศาสนาพุทธมีหลายนิกายและนับวันจะมีนิกาย มีลัทธิใหม่ๆ ลัทธิแผลงๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องการให้กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า ศาสนาพุทธที่รัฐพึงสนับสนุน คือเถรวาท เพื่อรักษาพุทธแท้ตามพระไตรปิฎก ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชน ทุกคนยังสามารถเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้...”  (//www.komchadluek.net/news/politic/228583)

  คำถามที่เกิดขึ้นในใจของชาวพุทธอย่างเราๆ ที่ไม่ได้อ่านมาก รู้มากเหมือนพระเปรียญหรือนักวิชาการศาสนา อยากรู้ว่าพระพุทธศาสนาเถรวาทมีลักษณะอย่างไร? ความรู้นี้ชาวพุทธเราควรรู้ไว้ไม่เสียหลาย...รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม....รู้ดีกว่าไม่รู้จริงไหมค่ะ?


ที่มา: https://goo.gl/C2Sf7U

พระพุทธศาสนา เถรวาท ~ Theravada หรือหินยาน

    นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา

 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด

เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  นั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้

"พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แบ่งเป็น 3 หมวด คือ

1. พระสุตตันตปิฎก รวมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระสาวก
2. พระวินัยปิฎก ศีลของพระภิกษุ และพิธีกรรมทางศาสนา
3. พระอภิธรรมปิฎก รวมหลักธรรมชั้นสูง






พระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทเป็นภาษามคธ ฝ่ายมหายานเป็นภาษาสันสกฤต

หลักธรรมที่สำคัญ ได้แก่

>>>อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ
>>>อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ, เจรจาชอบ, การงานชอบ, เลี้ยงชีพชอบ, เพียรชอบ, ระลึกชอบและตั้งใจชอบ สรุปย่อมรรคทั้ง 8 ข้อ ลงในหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

พิธีกรรมที่สำคัญทางพุทธศาสนา ได้แก่
>>> การบวช ได้แก่ บวชเณร เรียกว่า บรรพชา, บวชพระ เรียกว่า อุปสมบท
>>> การเวียนเทียน ในวันสำคัญ คือ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา

จากที่ว่ามานั้นเป็น "การเฟ้นหาความต่างนี้เพื่อความรู้ ไม่ใช่เพื่อสร้างความไม่พออกพอใจต่อกันและกัน ทั้งมหายานและเถรวาทต่างก็มีสายเลือดอันเดียวกัน พิสูจน์ได้จากหลักคำสอนที่เป็นแกนหลักสำคัญ เช่น อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท ความหลุดพ้น พระโคตมพุทธเจ้า จะมีความแตกต่างกันก็แต่เพียงปลีกย่อย ไม่ใช่สารัตถะสำคัญ เปรียบเหมือน พี่น้องท้องแม่เดียวกันเมื่อเจริญวัยต่างคนต่างไป ทำกิจการงานต่างๆ ย่อมมีวิธีการ และรสนิยมในการดำเนินชีวิตเพื่อความอยู่รอดที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็ยังเป็นพี่เป็นน้องเป็นสายเลือดเดียวกัน ย่อมจะตัดขาดจากกันไม่ได้..."(พระใบฎีกาอนุรักษ์ อินฺทวณฺโณ)

หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาท
แล้วถามว่า




- ชาวพุทธที่เคารพบูชาเจ้าแม่กวนอิมด้วย เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่ตั้งศาลพระภูมิในบ้าน เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่เชิญพราหมณ์มาประกอบพิธีในวาระโอกาสต่างๆ เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่เคารพบูชาศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
- ชาวพุทธที่สักยันต์ ดูหมอ ใบ้หวย นับถือกุมารทอง นางกวัก แม่ย่านาง ปลัดขิก บูชาราหู เป็นชาวพุทธเถรวาทหรือไม่

  แล้วถ้าตัดชาวพุทธเหล่านี้ออกหมด จะเหลือชาวพุทธไทยถึง 5% หรือไม่


 หัวใจของพระพุทธศาสนาคือพระรัตนตรัย


หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาทหรือไม่อยู่ที่

  1. เขาเคารพบูชาพระพุทธเจ้าหรือไม่
     2. เขาเคารพบูชาพระธรรม ยอมรับคำสอนในพระไตรปิฎกหรือไม่
     3. เขาเคารพพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบหรือไม่


    ถ้าเขายึดถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด เขาก็คือพุทธเถรวาท แม้จะเคารพเจ้าพ่อ เจ้าแม่ อื่นๆบ้างก็ตาม

ในครั้งพุทธกาล เพียงแค่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ 3 รอบ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุแล้ว แม้ปัจจุบันก็สำเร็จเป็นสามเณร


 การถึงไตรสรณาคมน์ คือ จุดชี้ขาดความเป็นชาวพุทธเถรวาท

แม้ภิกษุก็เช่นกัน ขอเพียงถึงไตรสรณาคมน์ และผ่านการอุปสมบทถูกต้องตามพุทธบัญญัติก็เป็นพระภิกษุเถรวาท แม้บางรูปอาจมีสักยันต์บ้าง พระทางเหนือมีห้อยลูกประคำบ้างก็ตาม
หากมัวแต่คิดกีดกันคนที่คิด เชื่อบางอย่างไม่เหมือนตน ว่าไม่ใช่พุทธเถรวาท สุดท้ายจะเหลือแต่ตัวเองคนเดียว เพราะคนอื่นๆทุกคนจะต้องมีบางประเด็นที่คิดเชื่อต่างจากเราเสมอ



ขนาดพระอรหันต์ยังมีบางประเด็นเห็นไม่ตรงกันเลย ใครไม่เชื่อลองไปเปิดพระวินัยปิฎกแปล(ฉบับ มจร) เล่ม 7 ข้อ 441 หน้า 382 ว่าด้วยเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย ในคราวสังคายนาครั้งที่ 1 ของพระอรหันต์ 500 รูป


แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง คือทางมาแห่งความสามัคคี ความสงบร่มเย็น ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ

การแสวงจุดต่าง พยายามแบ่งแยก ถือเขา ถือเรา คือทางมาแห่งความทะเลาะเบาะแว้ง แตกความสามัคคี ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา


อย่าเอาจุดต่างที่เขาเคารพบูชาบางอย่างไม่เหมือนเรามากีดกันว่าเขาไม่ใช่พุทธเถรวาท ไม่อย่างนั้นชาวพุทธเถรวาทไทยอาจเหลือไม่ถึง 5 % เป็นชนส่วนน้อยในประเทศไทย (พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ)

ทำอย่างไรจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา



 ธรรมดาต้นไม้ใหญ่ย่อมมีทั้งใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้และแก่น พระพุทธศาสนาซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ ก็น่าจะมีเครื่องประกอบเหล่านี้ อะไรคือใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นของพระพุทธศาสนา? ภิกษุในพระพุทธศาสนาควรจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา?

พุทธดำรัสตอบ “กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น...เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา...”

          ในจูฬสาโรปมสูตรนั้นมีเนื้อหาแสดงไว้ค่อนข้างยาวแต่พอสรุปได้สั้นๆ ว่า “ลาภสักการะชื่อเสียงเปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้ ความสมบูรณ์ด้วยศีลเปรียบเหมือนสะเก็ดไม้ ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเปรียบเหมือนเปลือกไม้ ญาณทัศนะหรือปัญญาเปรียบเหมือนกะพี้ไม้ ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบเปรียบเหมือนแก่นไม้”

          พระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ที่มีราก กิ่งก้าน สาขา ใบ ดอก ผล ทุกส่วนมารวมกันจึงกลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์ได้ ที่จะพยุงต้นไม้นี้ไว้ให้ยืนหยัดอยู่ยาวนานต่อไป หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งก็กลายเป็นต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์รอวันเหี่ยวเฉาไปกับกาลเวลา พระพุทธศาสนาก็ย่อมจะมีหลายสิ่งหลายอย่างรวมอยู่ด้วยกัน

ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ เคยกล่าวไว้ว่า "ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่ได้ไม่ใช่มีแต่แก่น แต่มันยังมีเปลือกอยู่ร่วมด้วยและเปลือกนั้นก็ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ไร้ค่าเสียทีเดียว สถาบันพระพุทธศาสนาก็คือต้นไม้ใหญ่ย่อมต้องมีเปลือกเป็นธรรมดา และเปลือกนั้นแม้จะมีกาฝากเกาะติดบ้างแต่เราก็สามารถทำกาฝากให้เป็นปุ๋ยได้ในโอกาสต่อไป"


 ดังนั้น โปรดอย่าเอาทิฏฐิตนมาจับผิด ตั้งแง่ที่จะทำร้ายกิ่งอื่น หักรานกิ่งอื่น แทนที่เราจะมาเคร่งครัดกับข้อวัตรปฏิบัติตามหลักธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือครูบาอาจารย์ที่เราเคารพเลื่อมใสศรัทธา แล้วฝึกฝนตนเองจนบรรลุผลแห่งความเพียรและบุญบารมีที่แต่ละคนสั่งสมมาในอดีต ทำเช่นนี้จะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธที่แท้จริง และมีส่วนช่วยผดุงรักษาต้นไม้ใหญ่ คือพระพุทธศาสนาให้ยืนหยัด เจริญงอกงามสืบไป

มะลิ สไมล์

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง:
1. //www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=6505&Z=6695)
2. https://mobile.facebook.com/story.php?story_fbid=477922195739335&id=301226330075590
3. //dbuddhist.com/contentfront003.html
4. //www.dhammathai.org/buddhism/theravada.php
5. //www.komchadluek.net/news/politic/228583
6. //cybervanaram.net/2009-12-17-14-44-23-14/439-2011-03-22-03-14-59
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ขอบคุณพิเศษภาพและบทความจาก //factsheetmonk.blogspot.jp/2016/09/blog-post.html


Create Date : 20 กันยายน 2559
Last Update : 20 กันยายน 2559 22:35:18 น. 18 comments
Counter : 1557 Pageviews.

 
อ่านเถอะครับ..เพราะว่าการอ่านนะง่ายกว่าการเขียน....
จำมาจาก... พูดไว้....ว่าอ่านเถอะ เพราะง่ายกว่าคนที่ทำบทความแต่บทออกมา


โดย: ผมไม่ได้บินคนเดียวสู่ฯ (เตยจ๋า ) วันที่: 20 กันยายน 2559 เวลา:22:39:45 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
..................
ส่วนหนึ่งของผู้เรียนธรรมะมักใช้ความรู้ไปโต้เถียง จับผิด กล่าวหา
สำนักอื่นๆว่าไม่ใช่พุทธ สอนผิดเพราะว่าสอนไม่เหมือนแนวที่ตัวรู้หรือเรียนมา

เท่าที่ทราบสมาธิกรรมฐานมีกว่า40วิธี แต่เมื่อปฏิบัติแล้วก็มาถึงจุดเดียวกันหรือแซมๆคือเหมือนกัน

ปฏิบัติเถอะอย่ามัวแต่เถียงกันอยู่เลย เหมือนกะสั่งก๋วยเตียวมาชามนึง ก็นั่งจ้องและเถียงกันว่าอร่อยอีกคนบอกไม่อร่อย หากลงมือกิน มันก็จะได้คำตอบงัยว่าอร่อยหรือไม่,ธรรมะสมาธิก็เช่นกัน หากนั่งเถียงไปมา ก็เท่านั้นเอง


โดย: Opey วันที่: 21 กันยายน 2559 เวลา:8:02:54 น.  

 

สวัสดีครับ


โดย: ผมไม่ได้บินคนเดียวสู่ฯ (เตยจ๋า ) วันที่: 24 กันยายน 2559 เวลา:7:59:50 น.  

 


ขอบคุณนะครับ


โดย: ผมไม่ได้บินคนเดียวสู่ฯ (เตยจ๋า ) วันที่: 24 กันยายน 2559 เวลา:8:52:52 น.  

 
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog



ส่งกำลังใจให้ค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 24 กันยายน 2559 เวลา:17:20:42 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณเตย มาส่งกำลังใจให้นะค่ะ
เด่วพรุ่งนี้มาเมาท์นะคะ ฝันดีค่าา ^^

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
คนบ้านป่า Home & Garden Blog ดู Blog
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



โดย: mastana วันที่: 24 กันยายน 2559 เวลา:22:20:51 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ไ่ม่ค่อยได้แวะมาทักทายเลย
มีความสุขมากๆกับวันหยุดนะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Food Blog ดู Blog
ออโอ Book Blog ดู Blog
บ้านต้นคูน Food Blog ดู Blog
ตุ๊กจ้ะ Hobby Blog ดู Blog
เหมือนพระจันทร์ Literature Blog ดู Blog
Kisshoneyz Movie Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Music Blog ดู Blog
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: pantawan วันที่: 24 กันยายน 2559 เวลา:23:14:29 น.  

 

ขอบคุณนะครับ


โดย: ผมไม่ได้บินคนเดียวสู่ฯ (เตยจ๋า ) วันที่: 25 กันยายน 2559 เวลา:11:23:38 น.  

 
จันทร์สวัสดิ์ สว่างสร้าง สวนสวรรค์
พืชเผ่าพันธุ์ ไพรพนา ป่าฟ้าฝน
ใช้รักษา อิ่มอุ่น คุณทุกคน
เจ็บป่วนจน แจกจ่าย ให้อยู่กิน
เพียงพออยู่ พอใช้ ในชีวิต
ไร้มลพิษ ผึ้งพา ป่าทรัพย์สิน
ลงมือทำ น้ำใจ ให้แผ่นดิน
ไม่นานสิ้น ลมไป ใช้ถมคืน
ต้นกล้า อาราดิน


โดย: ต้นกล้า อาราดิน วันที่: 26 กันยายน 2559 เวลา:6:13:28 น.  

 
สวัสดีค่ะ

พุทธจะเถรวาทหรือมหายานก็รากเหง้ามาจากที่เดียวกัน

และจุดสุดท้ายมุ่งหวังนิพพานเหมือนกัน

แต่จริงๆแล้วเอาเวลาที่นั่งทะเลาะกันต่างแยกย้ายกันไปปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นน่าจะดีกว่านะคะ

ขอบคุณความรู้ที่นำมาให้อ่านนะคะ เพียบเลยจริงๆ


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 26 กันยายน 2559 เวลา:14:47:51 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog

........................................

ขอบคุณสำหรับบทความนี้นะคะ
ส่งกำลังใจค่ะคุณเตยฯ


โดย: Sweet_pills วันที่: 27 กันยายน 2559 เวลา:0:48:12 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Kavanich96 Funniest Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog

ขอบคุณที่นำมาให้อ่านค่ะ



โดย: อุ้มสี วันที่: 27 กันยายน 2559 เวลา:7:23:17 น.  

 
ขอบคุณคุณเตยฯสำหรับกำลังใจค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 29 กันยายน 2559 เวลา:0:21:43 น.  

 
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
โหวตตามชาวบ้านเค้านะหมวดนี้หนะ



โดย: หอมกร วันที่: 29 กันยายน 2559 เวลา:8:19:59 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ส่งกำลังใจให้ค่ะ

วันก่อนเข้ามาเม้นท์อย่างเดียวเลย

วันนี้กลับมาส่งกำลังใจค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

*****************************

ขอบคุณที่แวะไปทักทายและโหวตให้นะคะ



วันหน้าเราจะเล่าเรื่องตลกไม่สยองล่ะ


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 2 ตุลาคม 2559 เวลา:9:44:11 น.  

 
ขอบคุณสำหรับโหวตนะคะ

เข้ามาปุ๊ปก็เห็นข้อความบน "วันหน้าเราจะเล่าเรื่องตลกไม่สยองล่ะ"

อืมมมมมม


ขนมครกสูตรลับสยองไปป่าวเนี่ย


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 4 ตุลาคม 2559 เวลา:16:29:27 น.  

 
สวัสดียามค่ำครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: **mp5** วันที่: 7 ตุลาคม 2559 เวลา:18:40:18 น.  

 
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog



ส่งกำลังใจให้ค่ะ


โดย: เวียงแว่นฟ้า วันที่: 7 ตุลาคม 2559 เวลา:23:12:42 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.