It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 ธันวาคม 2559
 
All Blogs
 
▶▶▶อ่านข่าวโฆษกวัดพระธรรมกายแล้วเกิดคำถามว่า?การขอออกหมายจับโดยยังไม่มีการแจ้งข้อหาอย่างเป็นทางการ



▶▶▶อ่านข่าวโฆษกวัดพระธรรมกายแล้วเกิดคำถามว่า 
▶▶▶การขอออกหมายจับโดยยังไม่มีการแจ้งข้อหาอย่างเป็นทางการนั้น 

1. พนักงานสอบสวนทำได้หรือไม่ ? 
2. คดีนั้นมีผู้ต้องหาเกิดขึ้นหรือไม่ ? 
3. หมายจับที่ออกมานั้นมีอำนาจในการจับกุมตัวหรือไม่ ?
ค้นไปค้นมาเจอเพจนี้ น่าสนใจเลยนำมาฝาก จะได้หาข้อมูลกันต่อไปว่า บรรทัดฐานที่ถูกต้องในการขอออกหมายจับคืออะไร
----------------------------------------------------------------------
การแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาจึงนับว่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของการสอบสวนที่กฎหมายบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติ หากพนักงานสอบสวนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ผู้ต้องหาย่อมไม่มีโอกาสทราบและให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งศาลฎีกาถือว่า การสอบสวนที่กระทำโดยมิได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ต้องหาทราบ ตาม ป.วิ. อ มาตรา 134 นั้น ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้มาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ. อ.มาตรา 120


การแจ้งข้อหา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 บัญญัติว่า “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อาชีพ อายุ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหา ได้กระทำความผิดแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ


การแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น


ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม


พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้


เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไมใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอออกหมายขังโดยทันที แต่ถ้าขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ ให้พนักงานสอบสวนสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหานั้นได้โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราว หรือควบคุมผู้ต้องหานั้นไว้”

การแจ้งข้อหาความผิดให้ผู้ต้องหาทราบ นับว่าเป็นขึ้นตอนแรกที่กฎหมายบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติก่อนที่พนักงานสอบสวนจะถามปากคำผู้ต้องหา 

เพื่อที่พนักงานสอบสวนจะได้บันทึกคำให้การของผู้ต้องหาไว้ตาม ป.วิ. อ. มาตรา134 และกระบวนการนี้กฎหมายบังคับให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติเพื่อที่ผู้ต้องหาจะได้ทราบข้อหาก่อน ว่าตนถูกกล่าวหาว่าทำกระทำผิดอะไร เพื่อที่จะได้ให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง 

การแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาจึงนับว่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของการสอบสวนที่กฎหมายบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติ

หากพนักงานสอบสวนมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนผู้ต้องหาย่อมไม่มีโอกาสทราบและให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง

ซึ่งศาลฎีกาถือว่า การสอบสวนที่กระทำโดยมิได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ต้องหาทราบ ตาม ป.วิ. อ มาตรา 134 นั้น ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้มาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ. อ.มาตรา 120 


สรุปสาระสำคัญ

การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมพนักงานสอบสวนสามารถให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทนได้ เพราะถือว่าเป็นการเล็กน้อยในการสอบสวนตามมาตรา 128 (2) แต่ถ้าเป็นการแจ้งข้อหาตามมาตรา 134 พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาเอง

พนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้ ซึ่งจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสอง (ก) นอกจากจะต้องเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังต้องเป็นการจับและดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาความผิดที่เกี่ยวข้อง (ฎ.1579/2546)

ถ้าก่อนจับผู้ต้องหาได้มีพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดพบการกระทำความผิดก่อน พนักงานสอบสวนท้องที่นั้นย่อมเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม มาตรา 19 วรรคสอง (ข) แล้ว ในกรณีเช่นนี้แม้ภายหลังผู้ต้องหาถูกจับกุมในเขตท้องที่อื่นก็หามีผลให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนและเริ่มทำการสอบสวนตลอดมาตั้งแต่ที่ยังจับกุมผู้ต้องหาไม่ได้หลุดพ้นจากการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไม่ (ฎ.1126/2544)


ความผิดตามกฎหมายไทยที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย

ตามมาตรา 20 คือกรณี ป. อ.บัญญัติเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ที่ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ต้องรับโทษตามกฎหมาย” อันเป็นข้อยกเว้นมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 5, 6, 7, 8, 9 นั้นเอง

วิธีการสอบสวนที่ผิดพลาดในข้อที่มิใช่สาระสำคัญไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด พนักงานอัยการยังคงมีอำนาจฟ้อง เช่น 

--การที่พนักงานสอบสวนไม่แจ้งเตือนว่าถ้อยคำที่ให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาในชั้นพิจารณาได้ (ฎ.769/2482) 
--การทำแผนที่เกิดเหตุไม่ชอบ (ฎ.4546/2546) 
--การตรวจค้นจับกุมไม่ชอบ (ฎ.4370/2544) หรือ
ล่ามแปลคำให้การโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนก่อน (ฎ.5476/2537)
--ในกรณีการร้องทุกข์ต่อ ร . ม. ต.ว่าการกระทรวงมหาดไทย (ฎ.1226/2503) หรือรองเลขาธิการ ก. ต. ป.ซึ่งมีอำนาจเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายภาษีอากรในข้อหายักยอก (ฎ.417/2523) เป็นการร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์

 --แต่การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจ (ฎ.2974/2516) และผู้เยาว์ร้องทุกข์ได้ แต่บิดาจะถอนคำร้องทุกข์ที่ขัดความประสงค์ของผู้เยาว์ไม่ได้ (ฎ.214/2494(ป))

แนวฎีกาที่สำคัญ
การแจ้งข้อหาไม่จำต้องระบุตัวบทกฎหมาย และไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกบทความผิด (ฎ.7422/2547)

คำพิพากษาฎีกาที่ 8316 /2548 
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป. วิ. อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแก่จำเลย แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาฐานพยายามฆ่า แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาฐานพยายามฆ่าแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทุกคน ตาม ป. วิ. อ. มาตรา 120 
การแจ้งข้อหาตามมาตรา 134


วิธีการแจ้งข้อหา
1. พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ

2. การแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบตามมาตรา 134 วรรคหนึ่งนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดตามข้อหานั้นด้วย ตามมาตรา 134 วรรคสอง

3. พนักงานสอบสวนต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ตามมาตรา 134 วรรคสี่แต่ในชั้นสอบสวนนี้ผู้ต้องหายังไม่มีโอกาสแสดงพยานหลักฐานหักล้างข้อกล่าวหาได้

ผลของการที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 134 วรรคสี่
ไม่เกิดผลถึงขนาดว่าถ้อยคำต่างๆ ของผู้ต้องหาจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
ไม่มีผลถึงขนาดทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อ

ขอบคุณ ข้อมูลจาก Ptreetep



Create Date : 17 ธันวาคม 2559
Last Update : 17 ธันวาคม 2559 12:09:28 น. 0 comments
Counter : 1017 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.