พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 
19 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
วางทิศทางสื่ออาเซียน แลกเปลี่ยนข้อมูลใหรูจักกัน (ข่าวสดอาเซียน)

วางทิศทางสื่ออาเซียน แลกเปลี่ยนข้อมูลใหรูจักกัน

ข่าวสดอาเซียน



ทิศทางการกำกับดูแลสื่อมวลชนในอาเซียนให้สอดคล้องกันเป็นอีกประเด็นที่น่าจับตาเมื่อ 10 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมอยู่ ใต้หลังคาเดียวกันในนามประชาคมอาเซียนปี 2558



เพราะแต่ละประเทศมีการพัฒนาด้านสิทธิทางสังคมที่เหลื่อมล้ำ กันอยู่ และมีระบอบการปกครองที่หลากหลาย



สื่อพม่าเพิ่งหลุดพ้นจากระบบเซ็นเซอร์ของรัฐบาลทหารมาอยู่ ภายใต้การดูแลของรัฐบาลพลเรือน ในทางปฏิบัติมีเสรีภาพมากน้อยเพียงใด แล้วลาวและเวียดนาม ซึ่งเป็นระบอบสังคมนิยม ทั้งสองประเทศยังควบคุมและตรวจสอบสื่ออย่างเข้มงวดหรือไม่ ไปจนถึงประเทศประชาธิปไตยอย่างไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ซึ่งมีระดับการพัฒนาที่มากกว่า สื่อมีเสรีภาพอย่างแท้จริงแค่ไหน



ประเด็นนี้หยิบยกขึ้นมาหารือในเวทีสัมมนาเรื่อง "การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การทำจริยธรรม และการกำกับดูแลกันเองของสื่อในประชาคมอาเซียน" ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า องค์กรการกำกับดูแลสื่อในโลกจะเข้าไปกำกับดูแลสื่อนำเสนอข่าวให้น้อยที่สุด เพื่อให้สื่อควบคุมดูแลตัวเอง ในอาเซียนมีวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ส่งผลให้การใช้เกณฑ์ที่เหมือนกัน ทุกประเทศเป็นไปได้ยาก ดังนั้น การมีข้อมูลของแต่ละประเทศ จะทำให้การวางกรอบความร่วมมือในอนาคตทำได้รวดเร็วขึ้น

ฐากร ตัณฑสิทธิ์





ด้าน พ.ต.ท.หญิง ดร.ศิริวรรณ อนันต์โท นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนให้ความเห็นว่า เห็นด้วยกับ กสทช. ที่จัดกิจกรรมนี้เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อนบ้านในอาเซียน และทำให้เกิดการตื่นตัวในแวดวงสื่อสารมวลชนรวมทั้งผู้บริโภค



"เราควรมีการบริโภคสื่อที่ถูกต้อง องค์กรวิชาชีพต่างๆ จะต้องมีการปรับตัวอย่างไรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเมื่อเราได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ และหากมีผลประโยชน์ร่วมกันก็เป็นการดีที่ในอนาคตจะมีการพัฒนาจากระดับท้องถิ่น ระดับชาติและสู่สากลต่อไป" พ.ต.ท.หญิง ดร.ศิริวรรณกล่าว



การประชุมครั้งนี้มีตัวแทนนักวิชาการจากกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน พม่าและลาวเข้าร่วมด้วย โดยมีการสะท้อนว่า สื่อในอาเซียนส่วนใหญ่ยังถูกกำกับดูแลจากภาครัฐ และมีภาครัฐเป็นเจ้าของสื่อ ทำให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างอิสระและมีเสรีภาพ



นายสม รัตนา สมาชิกคณะกรรมาธิการจริยธรรมสื่อหนังสือพิมพ์แห่งกัมพูชากล่าวว่า สื่อส่วนใหญ่ถูกกำกับดูแลจากภาครัฐ และแม้ว่าสื่อจะมีหน่วยงานกำกับดูแลตัวเอง ภายใต้องค์กรเชิงสื่อทั้งในรูปแบบของสมาคมหรือสภา แต่การรวมกลุ่มกันดังกล่าวยังไม่ชัดเจนว่าการทำงานของสื่ออยู่ในจริยธรรมหรือไม่ เนื่องจากก็ยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ไม่อิสระแท้จริง





อีกทั้งการที่วิชาชีพสื่อมีเงินเดือนต่ำ จึงจำเป็นต้องเป็นพันธมิตรกับนักการเมืองและนักธุรกิจเพื่อให้อยู่รอด รวมทั้งมีเจ้าของสื่อที่เป็นครอบครัว จึงไม่มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล



ด้านอินโดนีเซีย ดร.ฟิล เฮอร์มิน อินดาห์ วาห์ยุนี กล่าวว่า สื่อที่มีอำนาจมากที่สุดเป็นโทรทัศน์ที่เข้าถึงประชาชนมากถึง 99% รองลงมาคือสื่อหนังสือพิมพ์ 39% และวิทยุ 28% แต่การนำเสนอข้อมูลยังถูกกำกับจากภาครัฐ เนื่องจากเจ้าของสื่อมีบทบาทในภาครัฐ เป็นทั้งนักการเมืองระดับประเทศและท้องถิ่น



บางครั้งจึงนำเสนอข้อมูลที่เป็นอิสระมากเกินไป แต่ไม่ถูกลงโทษจากภาครัฐ รวมถึงประสบปัญหานักข่าวถูกทำร้าย แม้มีองค์กรในอินโดนีเซียที่มีลักษณะเดียวกับกสทช. มีอำนาจสร้างมาตรฐานและระเบียบ แต่ไม่มีอำนาจลงโทษสื่อ จึงยังมีข้อจำกัดอยู่มาก



ส่งผลให้ดัชนีอิสระทางสื่อของประเทศ อินโดนีเซีย จากการจัดอันดับล่าสุดอยู่ที่ 146 ของโลกลดลงมา 7 อันดับเมื่อเทียบกับ ครั้งก่อน ในขณะที่ไทยเป็นที่ 1 ในอาเซียน อยู่อันดับที่ 137



ดร.จูเลียนา อับดุล วาฮับ จากมาเลเซีย กล่าวว่า สื่อส่วนใหญ่มีภาครัฐเป็นเจ้าของ โดยสื่อทีวีมีอยู่ 12 สถานี รัฐบาลเป็นเจ้าของ 3 สถานี สื่อวิทยุมี 34 สถานี ทำให้การนำเสนอข้อมูลทำได้ไม่เต็มที่เช่นกัน ขณะเดียวกันก็มีการรวมกลุ่มกันของสื่อในรูปแบบของสมาคม และแกนนำจัดตั้งก็จะเป็นรัฐบาลและเอ็นจีโอ



ส่วน ผศ.เรเชล คาห์น จากฟิลิปปินส์ให้ความเห็นว่า ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาเจ้าของสื่อเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ และทำงานการเมืองด้วย ทำให้สื่อถูกผูกขาดโดยเจ้าของธุรกิจ รายใหญ่ประมาณ 5 รายแต่พบว่า การนำ เสนอข่าวบางครั้งก็ทำให้นักข่าวถูกทำร้ายจน เสียชีวิต และสมาคมสื่อแห่งชาติยังไม่เข้มแข็ง



ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.แบรดลีย์ ฟรีแมน จากสิงคโปร์เผยว่า ประเทศสิงคโปร์มีหน่วยงานอย่างกสทช.ในไทย เป็นองค์กรของรัฐบาลที่มีหน้าที่ส่งเสริม ควบคุมสื่อ ร่วมดูแล และให้คำปรึกษากับสื่อ



ส่วนในเรื่องจริยธรรมสื่อเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ที่รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมดูแล แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ สื่อใหม่ประเภทออนไลน์ซึ่งยังไม่มีการควบคุมดูแล แม้ ทุกประเทศจะมีองค์กรกำกับดูแลสื่อ และมีสมาคมของสื่อที่รวมตัวกัน แต่ความเข้มแข็งในการทำงานยังมีไม่สูงนัก




Create Date : 19 ตุลาคม 2556
Last Update : 19 ตุลาคม 2556 1:33:32 น. 0 comments
Counter : 831 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.