พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
2 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
โลจิสติกส์สู่เออีซี เส้นทางขนส่งที่ท้าทาย คอลัมน์ รายงานพิเศษ

โลจิสติกส์สู่เออีซี เส้นทางขนส่งที่ท้าทาย

คอลัมน์ รายงานพิเศษ



การขนส่งสินค้า (Logistics) เป็นปัจจัยสำคัญช่วยพัฒนาศักยภาพในการลดต้นทุนการผลิต ทั้งยังช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ในการนำพาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความสำเร็จบนเวทีโลก

แต่กระนั้นก็ยังมีความท้าทายใหม่ในการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจในปี 2558 ที่ใกล้จะมาถึง



สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนา Logistics Asia 2013 - AEC Logistics Best Practices ที่โรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ เพื่อเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนทรรศนะเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการไทย



นายพิเชษฐ์ ฉันท์เศรษฐ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ไทยสมเด็จ โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวถึงการลงทุนในลาวว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานของลาวปัจจุบันเริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น สังเกตจากเส้นทางข้ามเขตแดนที่สำคัญเชื่อมระหว่างจีน-เวียดนาม-ลาว-ไทย คือ หนานหนิง-ปิงเซียง-ฮานอย-วินห์-ท่าแข็ก (ลาว)-นครพนม เริ่มกลายมาเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่นิยมมากขึ้นเพราะเป็นเส้นทางสายใหม่ที่มีระยะทางขนส่งสินค้าสั้นกว่า เส้นทางอื่น ทั้งปัจจุบันลาวยังมีทางเลือกในเส้นทางมากขึ้น เช่น การขนส่งสินค้าผ่านทางทะเลก็จะพึ่งเวียดนามมากขึ้นจากเดิมที่เคย พึ่งพาไทย



สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "การค้าข้ามแดน" (Border trade) ซึ่งถือเป็นความท้าทายในลาวมากกว่าในไทย เนื่องจากกระบวนการการค้าในลาวเป็นวิธีการแบบเลี่ยงราคาภาษีที่มีราคาสูง ดังนั้น พรมแดนการค้าจึงเป็นปัญหาสำหรับโลจิสติกส์ เน้นการผลิตเพื่อส่งออกมากกว่าผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ



"ไทยต้องมองตัวเองใหม่ว่า ขณะนี้ไม่ใช่ศูนย์กลางด้านการพัฒนาการลงทุนอย่างเคย เพราะจีนเริ่มขยายการพัฒนาเข้ามาในภูมิภาคแล้ว" นายพิเชษฐ์กล่าว และให้ข้อมูลเสริมว่า ยังไม่เห็นการลงทุนในลาวจากนักลงทุนไทยมากนัก จึงอยากแนะนำว่าหากผู้ลงทุนไทยสนใจจะเข้าไปลงทุนในลาวแล้ว อย่าตัดราคากันเองเพราะจะทำให้ธุรกิจไทยในลาวดำเนินไปไม่ได้ดีเท่าที่ควร



นายวรทัศน์ ตันติมงคลสุข กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โลจิสติกส์วัน จำกัด เปิดมุมมองทางฝั่งกัมพูชาว่า แม้ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการด้านการขนส่ง ทางบก ซึ่งแน่นอนว่าไทยก็มีความได้เปรียบด้านการขนส่งทางบกมากกว่ากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน แต่ส่วนตัวก็ยังเล็งเห็นโอกาสนั้นในประเทศกัมพูชาเช่นกัน โดยเหตุที่เลือกทำธุรกิจการขนส่งสินค้าในประเทศกัมพูชา เป็นเพราะในเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษีระหว่างประเทศ



เมื่อมองตัวเลขทางเศรษฐกิจของกัมพูชาพบว่าเนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศปิดจึงทำให้ตัวเลขรายได้ที่แท้จริงไม่ได้รับการเปิดเผย ดังนั้น กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อภายในประเทศมักจะปกปิดตัวเลขรายได้ที่แท้จริง ดังนั้น การมองตัวเลขทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกัมพูชาเปิดเผยจึงไม่สามารถเชื่อถือได้



ส่วนลักษณะการขนส่งผู้โดยสารรวมทั้งสินค้าในกัมพูชามักขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในอัตราที่เกินกำหนดเนื่องจากไม่มีข้อบังคับในการขนส่งที่แน่นอน เป็นการขนส่งในลักษณะตามใจเจ้าหน้าที่ ส่วนพาหนะที่ใช้ในการขนส่งก็มีการดัดแปลงเพื่อให้บรรทุกได้มากกว่าปกติ ส่วนโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น ถนนหมายเลขเดี่ยวในกัมพูชาบางส่วนได้รับการพัฒนาแล้ว



นายสัญญวิทย์ เศรษฐโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บลู แอนด์ ไวท์ โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับพม่าซึ่งมีพรมแดนติด จีน อินเดีย บังกลาเทศ และไทย ถือเป็นเส้นทางสำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าสู่นานาประเทศ แต่ติดเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ทำให้จีนมีความพยายามในการเข้าครอบครองเส้นทางการค้าในพม่า ส่วนญี่ปุ่นก็เข้ามาผลักดันการลงทุนผ่านการสร้างท่าเรือ ทีละวาทางตอนใต้ของย่างกุ้ง



แต่หากจะกล่าวถึงปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จ ของการทำธุรกิจขนส่งสินค้าในพม่าคือ ช่องทาง การติดต่อกับคนที่ทำธุรกิจเดิม เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเริ่มต้นธุรกิจ



เพราะพม่ามีข้อจำกัดสำหรับบริษัทนำเข้าต่างชาติต้องมีชาวพม่าถือหุ้นร้อยละ 51 ขึ้นไป ส่วนทีมงานต้องมีคนไทยเข้าไปประกบการทำงานของคนพม่าเนื่องจากพนักงานท้องถิ่นยังไม่มีประสบการณ์มากพอ



ขณะที่อุปสรรคในการทำธุรกิจคือ กฎหมาย พม่าค่อนข้างเคร่งครัดสำหรับต่างชาติ และยังไม่มีความเป็นสากลเท่าที่ควร



ด้าน นายวิเชียร จงอภิรมย์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวถึงการขนส่งในเวียดนามว่า ธุรกิจไทย-เวียดนามมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติไปได้มาก หากไทยยังประมาทอาจทำให้เวียดนามพัฒนาแซงหน้าไทยได้



ปัจจุบันเวียดนามมีนโยบายการพัฒนาการขนส่งของเวียดนามคือ การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สามารถเชื่อมโยงกันอย่างมีมาตรฐาน โดยเฉพาะการพัฒนาการขนส่งต่อไปยังจีน ลาว และรัสเซีย หรือไปยังประเทศอื่นให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้สอดรับกับปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น เพราะเวียดนามยังขาดความเหมาะสมด้านนี้อยู่




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2556 2:10:27 น. 0 comments
Counter : 1155 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.