•  Bloggang.com
  • 'จดบันทึก-เรียนรู้-พัฒนา' เป็นเด็กดีได้ ไม่ต้องพึ่ง 'พาสปอร์ตความดี'
    แม้ 'พาสปอร์ตความดี' เป็นเพียง 'แนวคิด' ที่ยังไม่ได้เคาะ แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์กลับโหมกระหน่ำใส่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าอะไรทำให้ผู้ใหญ่คิดจะนำสิ่งนี้เป็น 'บัตรผ่าน' เข้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา?..

    ถูกถล่มเพียงชั่วข้ามคืน?

    ก่อนอื่น "ไทยรัฐออนไลน์" ขอย้อนเหตุการณ์ของเรื่องนี้ ซึ่งนับตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ กรณีนี้กินเวลาทั้งสิ้น 11 วัน ซึ่งในช่วง 2-3 วันแรกมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างคับคั่งทั่วสังคมออนไลน์ และสื่อในประเทศไทย เริ่มจากเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 57 ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. ขอให้ทุกองค์กรหลักนำนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการ ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

    โดย 1 ในข้อเสนอเพื่อไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมม มีการพูดถึง "พาสปอร์ตความดี" หรือ "สมุดบันทึกความดี" ที่จะใช้กับนักเรียนทุกระดับชั้น และอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน หรือครูผู้สอบเซ็นรับรองให้ พร้อมกับโยนเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นำเข้าหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ต่อไป

    ทำให้เพียงแค่ข้ามคืน กระแสการบันทึความดีถูกพูดถึงในวงกว้างว่า พาสปอร์ตความดีนี้ เหมาะสมกับการส่งเสริมให้เด็กเป็นคนดีได้จริงหรือ? จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กโกหก เพื่อมีคะแนนไปยื่นสอบเข้าหรือไม่ หรือส่งเสริมให้เด็กทำดีเพื่อหวังผลหรือไม่? และมีทางอื่นที่ดีกว่านี้มั้ย? นอกจากนี้แล้ว ในสังคมออนไลน์และเว็บบอร์ดชื่อดังของประเทศ ก็มีการพูดถึงและเสียดสีประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง

     

    อ่านหนังสือบันทึกความดีได้นะ

    แจงเป็นแค่ "แนวคิด" ยังไม่ถึงข้อยุติ

    รุ่งขึ้นอีกวัน 22 ก.ค. 57 มีรายงานข่าวว่า รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พูดถึงกรณีดังกล่าวว่า การแข่งขันเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษานั้น มีการแข่งขันสูง จึงอยากหนุนเด็กที่ทำกิจกรรมอาสา หรือกลุ่มที่ทำงานเพื่อสังคม เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า การวัดความดีนั้น จะต้องมีตัวชี้วัดที่ดี สังคมยอมรับ และต้องไม่ใช่ช่องทางในการเล่นพรรคเล่นพวก ทั้งนี้ คะแนนความดี จะต้องไม่ใช่คะแนนทั้งหมด แต่ควรเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะถึงอย่างไร การวัดความรู้ทางวิชาการก็ยังเป็นส่วนสำคัญ อย่างไรก็ตาม กระแสคัดค้านใช้พาสปอร์ตความดีในสังคมออนไลน์ เห็นว่า เป็นการสรุปที่เร็วเกินไป เพราะยังเป็นเพียง "แนวคิด" เท่านั้น

    เช่นเดียวกับ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)​ ระบุว่า ห่วงการจัดทำ "พาสปอร์ตความดี" เพื่อเป็นเกณฑ์เข้ามหาวิทยาลัย เด็กจะแต่งเรื่องความดีเพิ่ม เขียนอะไรมาก็ได้ และมองว่าควรนำมาใช้เป็นองค์ประกอบย่อยเท่านั้น ไม่ใช่นำเป็นหลักในการคัดเลือกเด็ก

     

    "ตั้งใจเรียน" จะจดใส่สมุดบันทึกความดีได้มั้ยนะ

    ด้านปลัด ศธ. ก็ระบุว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้เคาะและยังไม่มีข้อยุติ เพราะต้องฟังความเห็นจากหลายฝ่ายก่อน เพื่อทำให้การส่งเสริมเด็กให้ทำความดี เป็นไปด้วยความอย่างยั่งยืน-เป็นรูปธรรม ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 57 ที่ผ่านมา ดร.สุทธศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้แต่ละหน่วยงานออกแบบ "แนวทางการบันทึกความดี" โดยต้องฟังเสียงของเด็กๆ

    ส่องมุมมองนักวิชาการ-ชาวเน็ต "พาสปอร์ตความดี" ดีจริงหรือ?

    ศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แสดงทัศนะผ่านสื่อไปก่อนหน้านี้ว่า เห็นด้วยกับ ศธ.ที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการรับนักศึกษามหาวิทยาลัย เพราะเห็นว่าการบันทึกความดีนั้น เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำความดี เช่นเดียวกับในอดีตที่มี "นครปฐมโมเดล" ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ การทำพาสปอร์ตความดีให้ประสบความสำเร็จ ต้องทำไปทีละขั้นตอน หากมีข้อที่ผิดพลาดก็ต้องร่วมกันแก้ไข นอกจากนี้ จะทำให้เห็นว่า นักศึกษาไม่ได้เรียนหนังสือเพียงส่วนเดียว แต่จะรู้จักทำเพื่อคนอื่นด้วย

    นอกจากนี้ ยังปรากฏความเห็นของ ผศ.ดร.พรทิพย์ เย็นจะบก อาจารย์ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ระบุว่า การตีความและตัวชี้วัดความดีเป็นสิ่งที่กว้างมาก เป็นนามธรรม ทั้งนี้ เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องที่ดี หากเป็นวิชาลูกเสือ เพราะมีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน และเป็นระยะสั้น แต่หากคาดหวังผลในระยะจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการศึกษาก่อน

    ขณะเดียวกัน ยังมีความคิดในเว็บบอร์ดอย่าง พันทิป ที่มีสมาชิกคอมเมนต์ไว้ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย (//pantip.com/topic/32355605) เช่น ชื่อ ผึ้งน้อยพเนจร ระบุว่า เห็นด้วยครับ เพราะตอนสมัยที่เรียนโรงเรียนระบบของอังกฤษ (เป็น ร.ร.อังกฤษ สาขาประเทศไทย) นักเรียนจะมีสมุดจดสิ่งที่ทำดี ซึ่งไม่เรียกว่า พาสปอร์ต แต่เรียกว่า journal โดยเป็น 1 ในวิชา Ethics จากนั้นครูจะให้มาอ่านแลกเปลี่ยนหน้าชั้นเรียน พร้อมระบุว่า หากโรงเรียนไม่เป็นที่ฝึกสอนอบรมเด็ก จะให้เด็กคิดเองคงไม่ถูกต้องนัก

    หรือความเห็นของ เกียรตินำ ระบุว่า กรณีที่ใช้เกรดเฉลี่ยเป็นส่วนของสอบเข้า ยังพบปัญหาโรงเรียนปล่อยเกรด ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ แต่หากเป็นเรื่องของการทำความดีมาใช้ประกอบ จะตรวจสอบอย่างไรว่าเด็กทำจริง และกลัวว่า สุดท้ายแล้ว การบันทึกดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กผิดศีลธรรมกันมากขึ้น

    ทั้งนี้ คำถามที่ตามมาหลังจากนั้น การจดบันทึกความดี จะสามารถเป็นเครื่องยืนยันได้จริงหรือว่า เด็กคนนั้นจะเติบโตไปเป็นคนดี และหากไม่ใช้วิธีนี้ จะมีวิธีการอย่างไรในการสอน เพื่อให้เด็กไทยไปถึงจุดนั้น?

     

    ภาพจากเฟซบุ๊กคัดค้านการทำพาสปอร์ตความดี

    บันทึกความดีแบบ Learning Journal

    ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้ช่วยคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศึกษา เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ในการพัฒนา หรือสอนเด็กให้มีคุณธรรมจริยธรรมนั้น ไม่มีแนวทางการสอนโดยตรง แต่สิ่งที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ และตระหนักกับความดีนั้น คือ "ลงมือทำจริง" ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย หรือกิจกรรมที่สนใจ โดยการบันทึกสิ่งที่แต่ละคนได้ทำ หรือเรียกว่า Learning Journal นั้น ช่วยได้! แต่การบันทึกจะต้องไม่ใช่แค่การบันทึกไปเฉยๆ โดยปราศจากการเรียนรู้ แต่ควรสอนและส่งเสริมให้เด็กบันทึกสิ่งที่ทำว่า ได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ทำ ให้เด็กได้รู้ว่าตอนนี้ตัวเองกำลังใจอะไรและจะต้องมีครู หรือเพื่อนเพื่อคอยแนะนำ แลกเปลี่ยน และสะท้อนว่า "เราควรต้องพัฒนาตรงไหน" และ "พัฒนาการของเราเป็นอย่างไรแล้ว"

    "เด็กต้องสะท้อนตัวเองได้ ซึ่งพาสปอร์ตอันนี้ คอนเซปต์ไม่ชัดเจน เพราะมันเป็นแค่การบันทึกเท่านั้น ว่าไปทำอะไรมา ซึ่งเห็นว่าน้อยเกินไป มันเป็นการทบทวนตัวเอง จูงใจเด็ก มีแรงบันดาลใจ และทำจนเป็นนิสัย ทำอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่มาถึงใช้พร้อมกันทั้งประเทศ แล้วตอนนี้เด็ก ม.6 กำลังจะเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย หากทำจริงก็ต้องเริ่มบันทึก ซึ่งไม่ได้มาจากความเต็มใจ ผมเห็นด้วยที่จะทำตั้งแต่เด็กๆ แต่ควรส่งเสริมให้ทำบันทึก แบบไม่บังคับดีกว่า ไม่ใช่ทำเชิงปริมาณ" ผศ.อรรถพล กล่าว

     

    เรียนต่อมหา’ลัย ความรู้พื้นฐานต้องมีด้วย!

    เช่นเดียวกับการทำพาสปอร์ตความดี หรือการบันทึกความดี ที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออยากให้เด็กเป็นคนดี และให้โอกาสเด็กที่ทำงานจิตอาสา หรือทำความดีเข้าเรียนต่อ ซึ่ง อ.อรรถพล เห็นด้วยว่า ควรใช้เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น และไม่ใช่การทำเป็นข้อๆ แต่ควรทำแบบ Learning Journal ที่กล่าวไป หรือทำเป็นแฟ้มสะสมผลงาน เล่าว่าทำอะไร เรียนรู้อะไร มีอุปสรรคอย่างไร มิใช่ว่าเมื่อทำความดีมาหลายอย่างแล้ว จะสามารถเข้าเรียนที่ไหน หรือคณะใดก็ได้ เพราะบางวิชาชีพจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่ดีพอก่อน เช่น สายแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ไม่เช่นนั้นก็จะทำลายโอกาสเรียนต่อของเด็กคนนั้นไปอีก หากผิดหวัง หรือสอบตก เพราะเรียนไม่ไหว ซึ่งหากเด็กเรียนไม่ไหว ครูก็อาจไม่สามารถผลักดันเด็กต่อไปได้

    "ถ้าบอกว่าอยากให้เด็กหัดบันทึก ฝึกเขียน ตั้งแต่เด็กๆ และใช้ Learning Journal นั้นมาประกอบเข้าเรียนต่อ ผมว่าสังคมพอจะรับฟังได้ แต่ไม่ใช่เอาการทำบันทึกความดีนั้น เป็นการตัดสินอนาคตของเด็ก การเรียนมหาวิทยาลัยไม่ใช่เรียน ม.7 ที่จะไม่ต้องทำอะไร แต่เรียนมหาวิทยาลัยเป็นการเตรียมเพื่อประกอบอาชีพ ถ้าเด็กไม่มีความรู้ก็จะเฟล ตอนนี้มหาวิทยาลัยภูมิภาคก็มีโควตากลุ่มจิตอาสาให้ส่วนหนึ่ง แต่มันต้องไม่ใช่ทั้งประเทศที่จะตัดสินด้วยการบันทึกความดี มันเป็นนโยบายที่ไม่นึกถึงอนาคตของเด็ก และการศึกษาของประเทศ การวัดผลด้วยความดี มันหยาบเกินไป ซึ่งน่าห่วงหากเราทำความดี ด้วยการเอาผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง ยกตัวอย่าง" ผศ.อรรถพล อธิบาย

     

    ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้ช่วยคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศึกษา

    นอกจากนี้ ผศ.อรรถพล ยังตั้งข้อสังเกตว่า ในแต่ละปีมีเด็กเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายประมาณ 2 แสนคน ซึ่งที่นั่งในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่เพียงพอแน่นอน รวมถึงเด็กบางคนยังไม่มีความพร้อม และหากต่อไป เด็กทุกคนต้องนำบันทึกความดีมาส่งเหมือนกันหมด และจะเอาอะไรมาคัดเลือกเด็ก ถ้าไม่ใช่จากความสามารถทางวิชาการ? แล้วถ้ามีบางคนไม่พร้อมเรียน แต่ต้องมาเรียนก็จะทำให้เด็กเสียโอกาสอีก" อ.อรรถพล กล่าว

    "วัดความดี" ด้วยอะไรดี?

    อ.อรรถพล อธิบายว่า ตัวชี้วัดความดี ถือว่าเป็นคำที่ "กว้างมาก" ซึ่งต้องจำกัดความก่อนว่า "ความดี" คืออะไร เป็นความรับผิดชอบ การมีวินัย การทำกิจกรรมอาสา หรือสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ จากนั้นจึงมาดูจะเอาอะไรมาวัด เช่น หากต้องการวัดเรื่อง "จิตใจดี" การวัดจากกิจกรรมจิตอาสาก็สามารถทำได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องไม่ใช่กิจกรรมที่โรงเรียนพาไปปลูกป่า เก็บขยะ และบอกว่าทำแล้ว โดยที่เด็กไม่รับรู้เลยว่า ทำไมต้องทำ หรือพลังของเราจะช่วยให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไร

    "หลายโรงเรียนทำแบบนี้ ซึ่งมันเป็นทำที่ไม่ได้เกิดจากความมุ่งมั่น แต่ก็มีบางคนรวมกลุ่มทำในหมู่บ้านในชุมนุม และเด็กชอบทำแบบนี้ พอโตมาเด็กก็จะเป็นเด็กแบบนี้ แต่สิ่งที่สำคัญนั้น เด็กควรจะรู้ว่าพลังของเขา ความดีของเขาสามารถสร้างสิ่งดีงามให้สังคมได้ และส่งผลด้านบวกให้สังคม หรือคนอื่นอย่างไร" ผศ.อรรถพล ระบุ

     

    เราจดบันทึกกันทุกๆ วัน เพื่อจะได้ไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ต้องเตรียมพร้อม

    ทั้งนี้ อ.อรรถพล แนะนำทิ้งท้ายว่า หากต้องการบันทึกความดี หรือปลูกฝังให้เด็กทำดี มีบางโรงเรียนที่ทำ "สมุดพอเพียง" ซึ่งเป็นสมุดส่วนกลางที่ใครจะมาเขียนก็ได้ ไม่มีการบังคับ หรือนำมาใช้ตัดสินผล แต่ใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเชิงบวก แลกเปลี่ยนเรื่องราวดีๆ เพราะเทคนิคหนึ่งของได้รับความรู้ หรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ คือ การเล่าเรื่อง โดยเฉพาะการทำในมิติคุณลักษณะ หรือเสริมสร้างคุณธรรม

    แม้วันนี้กระแสของ "พาสปอร์ตความดี" จะเริ่มหายไป อาจเพราะถูกต่อต้านอย่างหนัก? หรือกำลังอยู่ในกระบวนการก็ตาม? แต่คำถามเกี่ยวกับการสอนเด็กอย่างไรให้เป็นคนดีมีคุณธรรม เพื่อเติบโตไปเป็นพลเมืองที่ดี ทำประโยชน์เพื่อประเทศนั้น "ยังคงอยู่" ไปอีกนาน เพราะถึงแม้ว่า "จุดมุ่งหมาย" ของโครงการจะส่งเสริม และหวังดีต่อสังคมมากเพียงใด แต่หากมีวิธีการ-กระบวนการไม่ดีพอ-ไม่รอบคอบพอ-ไม่มีประสิทธิภาพพอ ก็อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่เป็นผลดีต่อใครเลยในสังคม.



    บทความที่น่าสนใจ

    1. รักษาสิว ให้หาย
    2. รักษาสิว ใช่แน่นอน
    3. รักษาสิว ใช่ไหม
    4. รักษาสิว กันก่อนได้
    5. รักษาสิว รักษากันใช่ไหม
    6. รักษาสิว กันน๊า
    7. รักษาสิว กันก่อน
    8. รักษาสิว ฟังเพลงไปด้วย
    9. รักษาสิว ดีที่สุด
    10. รักษาสิว กับน้อง
    11. รักษาสิว มันอาจจะใช่
    12. รักษาสิว ได้ไหม
    13. รักษาสิว ด้วยมะนาว
    14. รักษาสิว ใช่จริง ๆ
    15. รักษาสิว กันได้เลย



    Create Date : 31 กรกฎาคม 2557
    Last Update : 31 กรกฎาคม 2557 15:56:09 น.
    Counter : 835 Pageviews.

    0 comments

    สมาชิกหมายเลข 1429171
    Location :
      

    [ดู Profile ทั้งหมด]
     ฝากข้อความหลังไมค์
     Rss Feed
     Smember
     ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]



    กรกฏาคม 2557

     
     
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
    10
    11
    12
    13
    14
    15
    16
    17
    18
    19
    20
    21
    22
    23
    24
    25
    26
    27
    28
    29
    30
     
     
    All Blog