Group Blog
 
<<
กันยายน 2559
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
27 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
TK Reading Club : เหมืองแร่



27 กันยายน 2559












เมื่อวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปร่วมการสนทนานักอ่าน ที่จัดขึ้นโดยห้องสมุดมีชีวิต TKpark เป็นกิจกรรม TK Reading Club ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน ในวันนี้เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด “เหมืองแร่” ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ โดยเป็นการล้อมวงสนทนาเกี่ยวกับรายละเอียดที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเรื่องนี้ ซึ่งมีวิทยากรผู้นำการพูดคุยเพื่อให้ความรู้คือคุณวีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์ บรรณาธิการของสำนักพิมพ์โอเลี้ยงห้าแก้ว และเป็นผู่ช่วยส่วนตัวของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์

กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นในลักษณะกลุ่มสนทนาสำหรับผู้ที่ได้เคยอ่านเรื่องสั้นชุด “เหมืองแร่” มาแล้ว โดยมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหลัก ผมขอรวบรวมรายละเอียดมาเขียนเป็นประเด็นสำหรับนำเสนอให้แก่ท่านที่สนใจเรื่องสั้นชุด “เหมืองแร่” นี้

(ผมอาจจะเขียนสรุปออกมาไม่ครบถ้วนตามที่ได้คุยกันทั้งหมด เพราะผมเขียนสรุปจากการที่ผมได้จดคำบรรยาย (จดเลคเชอร์)ไม่ได้เขียนแบบการถอดเทปคำบรรยาย แต่ผมก็พยายามที่จะสรุปเป็นประเด็นให้ตรงมากที่สุด ถ้ามีส่วนใดที่ตกหล่นหรือผิดพลาดไปผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย )










@คุณวีระยศเล่าถึงการที่ได้มาเป็นผู้ช่วยส่วนตัวของคุณอาจินต์ว่า “ตอนผมอายุ 13 ปี ก็ได้เป็นลูกศิษย์คุณอาจินต์แล้ว คือตอนนั้นยังเรียนอยู่แล้วได้วาดการ์ตูนส่งประกวดที่นิตยสารฟ้าเมืองไทย เพราะก่อนหน้านั้นเคยส่งผลงานการ์ตูนได้ลงนิตยสารเบบี้มาก่อนแล้ว พอการ์ตูนได้ลงนิตยสารฟ้าเมืองไทยจึงไปที่สำนักพิมพ์โดยหวังว่าจะได้เจอกับจุก เบี้ยวสกุล ที่คุมคอลัมน์การ์ตูนในฟ้าเมืองไทย เพราะคิดว่าเขาน่าจะเป็นอาจารย์สอนเราได้ แต่สุดท้ายไปเจอคุณอาจินต์แทน และครูภาษาไทยที่สอนคือ อาจารย์จรัญ พากเพียร ที่เป็นนักเขียน ก็เป็นลูกศิษย์ของคุณอาจินต์เช่นกัน คุณอาจินต์ได้ถามอาจารย์จรัญว่าผมเป็นมาอย่างไร? ตั้งแต่นั้นมาจึงได้เป็นผู้ช่วยส่วนตัวของคุณอาจินต์”

@ช่วงที่ไปอยู่กับคุณอาจินต์เป็นช่วงที่คุณอาจินต์เขียนบทความและตอบจดหมายแล้ว จึงได้ไปหางานเก่าๆ ของคุณอาจินต์มาอ่าน คือเรื่องสั้นในชุดเหมืองแร่ อ่านแล้วก็ชอบเพราะว่ามันโดนใจ อ่านชุด “เหมืองแร่ในดวงใจ”

@ตอนคุณอาจินต์อายุ 14 ปี เป็นยุวชนทหาร มีเขียนอยู่ในเรื่อง “ร่ายยาวแห่งชีวิต” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณอาจินต์ถูกเกณฑ์ไปฝึกเป็นยุวชนทหาร

@พี่สาวคุณอาจินต์คือคุณชอุ่ม ปัญจพรรค์ พี่ชายคือลุงลัดดา น้องคนเล็กของคุณอาจินต์เป็นพยาบาล พ่อของคุณอาจินต์คือขุนปัญจพรรคพิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ปี 2490 -93

@ช่วงที่คุณเก้ง จิระ มะลิกุล จะทำภาพยนตร์เรื่อง “มหาลัยเหมืองแร่” นั้น มีการไปสำรวจพื้นที่และย้อนรอยเหมืองแร่ก่อน ไปดูพื้นที่เหมืองแร่ของชาวออสเตรเลียที่คุณอาจินต์เคยทำงาน ในตอนนั้นได้เจอตัวละครไอ้ไข่ในเรื่องด้วย ลุงไข่ในเรื่องเป็นคู่หูของคุณอาจินต์ ลุงไข่ชื่อจริงว่าลุงแอ้ม

@นายฝรั่งของเหมืองแร่ (ชาวออสเตรเลีย) คุณอาจินต์นับถือเหมือนเป็นพ่อบุญธรรม

@คุณอาจินต์เคยเรียนที่คณะวิศวะจุฬาฯ พอเกิดสงครามโลกรั้งที่ 2 คุณอาจินต์ได้ไปพักอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด (จังหวัดสุพรรณบุรี) จึงได้คลุกคลี่และคุ้นเคยอยู่กับคนต่างจังหวัดและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซี่งเป็นประสบการณ์ตรงที่ทำให้คุณอาจินต์อยากเป็นนักเขียน และอยากเป็นศิลปินมากกว่าที่จะเป็นวิศวะกร พอหลังจากสงครามโลกแล้วก็ไม่ได้เข้าเรียนจึงต้องออกจากจุฬาฯ

@หลังจากนั้นก็พยายามไปสมัครงาน และเริ่มเขียนหนังสือแต่ก็ยังไม่ได้ลง เพราะยังไม่มีประสบการณ์จึงยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ คุณพ่อของคุณอาจินต์จึงได้ส่งตัวให้ไปทำงานที่เหมืองแร่ ก่อนลงใต้ไปทำงานคุณอาจินต์ได้เขียนเรื่องสั้น “กลัวทะเล” ตั้งใจว่าจะได้คุณพ่อได้อ่านแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะคุณพ่อของคุณอาจินต์หนักแน่ในเรื่องการทำงาน ต้องการให้ลูกทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะได้รู้ว่างานที่แท้จริงคืออะไร

@ตอนที่ไปทำงานแล้ว เรื่องสั้น “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ในลงตีพิมพ์ ได้เงิน 80 บาท ซึ่งสูงมากในสมัยนั้น หลังจากนั้นก็เขียนอีกหลายเรื่องแต่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นทั้งเรื่องสั้นและความเรียง

@พอกลับมาจากเหมืองแร่อาชีพที่คุณอาจินต์อยากทำคือเขียนหนังสือ โดยเริ่มต้นจากการเขียนบทความ เรื่องสั้นต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้สึกจากเหมืองแร่เป็นหลัก ในช่วงแรกใช้นามปากกาว่า “จินตเทพ” หลังจากนั้นก็พยายามอ่านผลงานของนักเขียนท่านต่าง ๆ ในสมัยนั้นให้มากขึ้น

@ คุณอาจินต์รู้จักกับครูเหม เวชกร ประมาณปี 2511 ตอนที่ครูเหมมาออกงานโทรทัศน์ ช่วงนั้นสนิทกับลุงต่วย (วาทิน ปิ่นเฉลียว) เพราะเป็นคนรุ่นเดียวกัน เรียนจุฬาฯ ด้วยกัน (ลุงต่วยเรียนคณะสถาปัตย์)

@เริ่มต้นเขียนหนังสือสไตล์ลูกผู้ชายรุ่น ๆ นิยายบู้ แบบอรชร และอรวรรณ เป็นนิยายสไตล์ผู้ชาย กวน ๆ มีพระเอกมีผู้ร้าย เขียนเรื่องแรก ๆ “นรกเหมืองแร่” แต่เรื่องนี้เขียนไม่จบ

@นวนิยายเรื่อง “ในเหมืองแร่มีนิยาย” เป็นนวนิยายเรื่องแรกที่คุณอาจินต์เขียนจบ เอาไปส่งที่หนังสือบูรพาภิรมย์ ของยาขอบ ลงไปทั้งเรื่องแต่ว่าไม่ได้เงินค่าเรื่อง เพราะว่านักเขียนหน้าใหม่ในสมัยนั้นที่ยังไม่มีใครรู้จักถ้าอยากให้มีคนรู้จักต้องลงไปก่อน พอเขียนเรื่องต่อ ๆ ไปจึงจะมีเงินค่าเรื่องให้

@ป้าอุ่ม (ชอุ่ม ปัญจพรรค์) เห็นว่าคุณอาจินต์เริ่มเขียนเรื่องได้แล้วจึงให้เขียนเรื่องอื่นต่อ ซึ่งเรื่องที่ 2 ที่เขียนชื่อ “บ้านแร่” ลงใน โฆษณาสาร ลงประมาณ 7-8 ตอนจบ ได้เงินค่าเรื่องด้วย แต่ว่าคุณอาจินต์ไม่ได้เอาเรื่องนี้มารวมเล่มเลย เพราะคิดว่าเรื่องนี้เป็นงานเขียนที่ยังไม่ได้ขัดเกลาหรือยังไม่มีภาษเป็นของตัวเอง ยังไม่เป็นตัวตนเท่าไหร่ จึงยังไม่ได้เอามาพิมพ์ใหม่เลย เนื้อเรื่องเป็นเรื่องแต่งขึ้นมาประมาณว่า ... เขาเป็นใครมาจากไหนไม่มีใครรู้จัก เขามาจากกรุงเทพฯ มาทำให้หมู่บ้านนี้มีคุณค่า มีของสำคัญที่ยังคงอยู่ไว้ก็คือแร่ ซึ่งเป็นพล็อตพระเอกพเนจรซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น

@หลังจากนั้นคุณอาจินต์เอา “ในเหมืองแร่มีนิยาย” มาขียนใหม่ ขัดเกลาใหม่ แล้วตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โอเลี้ยงห้าแก้วของตัวเอง โดยที่ไม่ได้พูดถึงประวัติเก่าตอนที่เขียนเรื่องนี้เลย

@เรื่อง “ใต้แผ่นดิน” เป็นร่างที่สองของเรื่องในแนวเหมืองแร่ล่ม นำมาพิมพ์ใหม่เป็นแนวการต่อสู้ในเหมือง

@ระหว่างปี 2496-97 มีสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ขึ้นมา เล่มแรกมีเรื่องสั้นของคุณอาจินต์และคุณสุรพล บุญนาคลงในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์เล่มแรก โดยคุณอาจินต์เขียนเรื่อง “สัญญาต่อหน้าเหล้า” ซึ่งเรื่องนี้คุณจำนง รังสิตกุล ได้อ่านด้วยจึงได้ชวนคุณอาจินต์มาทำงานโทรทัศน์ มาเขียนบทละครทีวี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคุณอาจินต์ในวงการโทรทัศน์

@นวนิยาย “แผ่นดินแร่” และเรื่อง “เลือดในดิน” ลงในโฆษณาสาร ซึ่งเขียนก่อนชุดเหมืองแร่

@พอทำงานที่ทีวี คุณอาจินต์ได้เป็นบรรณธิการของ นิตยสาร “ไทยโทรทัศน์”

@จุดเปลี่ยนแปลงคือ หลังจากที่ได้ทำงานทีวีและเขียนบทละครโทรทัศน์มากกว่า 50 เรื่องแล้ว คุณอาจินต์ได้รับคัดเลือกให้ไปดูงานทีวีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการไปอเมริกาครั้งนี้น่าจะได้รับอิทธิพลในการเขียนกลับมาบ้าง คุณอาจินต์ได้ซื้อหนังสือรวมบทกวี ของ โพส วิทแมน (Walt Whitman) กลับมาด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพชีวิตชนบทของอเมริกา จึงทำให้คุณอาจินต์อยากเขียนเรื่องชนบทมาก นอกจากนั้นได้ดูรายการทอค์โชว์ของอเมริกาชื่อ “ลูกฝรั่งช่างพูด” ประมาณว่าเด็กต่อเด็กคุยกัน พิธีกรคุยกับเด็ก เป็นการพูดที่ไม่มีการปั้นแต่ง คุณอาจินต์จึงชอบบทสนทนาในแนวนี้มาก เพราะถือว่าเป็นการพูดคุยด้วยเชาวน์ปัญญา











@ปี พ.ศ. 2503 เขียนเรื่องสั้นชื่อ “ผีตัวแรก” ก่อน เนื่องจากจำได้ว่าในวันแรกที่ไปเหมืองแร่ได้เจอผีก่อน ซึ่งเป็นผีที่คุณอาจินต์คิดไปเอง คุณอาจินต์เขียนในลักษณะเรื่องจริงผสมกับเรื่องแต่งที่เนียนมาก เป็นเรื่องที่อ่านแล้วต้องคิดตามว่าเป็นจริงหรือไม่จริง

@ในปี 2503 มีงานชุด “ลุยทะเลคน” ที่เรื่องไม่ได้เกี่ยวกับเหมืองแร่ และเรื่อง “ลูกฝรั่งช่างพูด” ที่แปลเป็นภาษาไทยได้จัดพิมพ์ก่อนที่จะเขียนเรื่องสั้นในชุดเหมืองแร่

@ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนอ่านเริ่มรู้จักคุณอาจินต์แล้ว เป็นช่วงที่เริ่มไหลแล้วเพราะเริ่มมีความกล้าในการเขียนมากขึ้น มีเขียนเรื่องบทละครหลายเรื่องจนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และเขียนเรื่องสั้นมากมายลงในนิตยสาร สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ , ชาวกรุง , สายฝน ฯลฯ ซึ่งเป็นการเขียนเรื่องสั้นในชุดเหมืองแร่ทั้งหมด โดยเขียนไล่ตามตัวละครในเหมืองแร่ที่คิดขึ้นได้หรือที่จำได้ (ไม่ได้เขียนตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นในเรื่อง)

@คุณอาจินต์เขียนเรื่องสั้นในชุดเหมืองแร่ เขียนตั้งแต่ 2503 ถึง 2507 ได้ประมาณ 50 กว่าเรื่อง จึงเริ่มรวมเล่มในชุดเหมืองแร่ ซึ่งเป็นเรื่องของคนต่างจังหวัดที่ทำงานกลางแจ้ง โดยพิมพ์เองชื่อชุด “ตลุยเหมืองแร่” เป็นเล่มแรก

@”สีชมพูยังไม่จาง” เป็นบทความที่ลงในนิตยสารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนเหมือนเป็นคำปฏิญาณที่บอกว่า คำ(สีชมพู)มันจะไม่จางด้วยเหนื่อยแต่ยังจางด้วยน้ำลายของคน

@”เหมืองน้ำหมึก” เป็นหนังสือชุดเหมืองแร่เล่มที่ 2 , ชุดเหมืองแร่เล่มที่ 3 ชื่อ “เสียงเรียกจากเหมืองแร่” , ชุดเหมืองแร่เล่มที่ 4 ชื่อ “สวัสดีเหมืองแร่”

@เรื่องสั้น “น้ำกับน้ำใจ” เป็นเรื่องสั้นที่ดังมากในสมัยนั้น ดังมากจนอาจารย์นิลวรรณ ปิ่นทอง บรรณาธิการสตรีสาร คัดเลือกแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อส่งนิตยสาร เอเชียแม็กกาซีน ถือว่าเป็นนักเขียนคนแรกที่ได้ลงเรื่องในนิตยสารนี้

@คุณอาจินต์มีงานเขียนที่ไม่ใช่เหมืองแร่ด้วย เพราะไม่ต้องการให้ตัวเองผูกติดอยู่กับเฉพาะเหมืองแร่เท่านั้น โดยมีทั้งบทความ , มีความเรียงชุด “ปรัชยาไส้” ที่ลงในนิตยสารฟ้าเมืองไทย , มีบทบรรณาธิการต่างๆ , มีสารคดีท่องเที่ยวเหมืองแร่ผ่านอดีต ฯลฯ

@”จุฬาฯ ปฏิเสธข้าพเจ้า” เป็นหนังสือที่คนจุฬาชอบอ่าน เป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิศวะ เพราะเขาจะสอนกันว่าถ้าอยากเรียนวิศวะให้จบต้องอ่านเล่มนี้จะได้ไม่ถูกไล่ออก

@ในช่วงที่คุณอาจินต์เขียนเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่นั้น คุณอาจินต์ก็ได้เขียนผลงานอื่น ๆ ด้วย มีเรื่องสั้นรวมเล่มในชื่อชุดต่าง ๆ , มีเขียนบทความรายวันลงหนังสือพิมพ์ “เสียงอ่างทอง” ด้วย อาทิเรื่อง “ฝูงคนกำเนิดคล้ายคลึงกัน” , “คนตื่นเช้า” , “คนเมืองนอก” รวมทั้งบทละครที่เขียนเยอะมากหลายร้อยเรื่อง ฯลฯ ซึ่งถือว่าคุณอาจินต์เป็นคนที่เขียนหนังสือเยอะและเขียนหลากหลายประเภทด้วย

@เรื่อง “เหมืองทองแดง” ไม่เกี่ยวกับชุดเหมืองแร่ดีบุก แต่เป็นเรื่องเหมืองทองแดงที่เด็กวิศวะรุ่นพี่ของคุณอาจินต์ไปทำงานแล้วมาเล่าให้ฟัง ซึ่งคุณอาจินต์ประทับใจเลยเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา

@ถ้าใครอ่านเรื่องสั้นในชุดเหมืองแร่นี้แล้ว นอกจากจะได้ความเพลิดเพลินจากเนื้อเรื่องแล้ว ผู้อ่านยังได้รู้ถึงชีวิตของคนเหมืองแร่ ว่าพวกเขาเป็นกันอย่างไร? ทำงานกันอย่างไร? ถือว่าคุณอาจินต์เป็นนักเขียนคนเดียวของโลกนี้ที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับเหมืองแร่ ซึ่งเป็นการทำเหมืองแร่ในแบบเก่าที่ปัจจุบันเลิกไปแล้ว ที่ถือว่าเป็นยุคทองของการทำเหมืองแร่ดีบุก ก่อนที่จะล่มสลายไป

@เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่นี้ถือว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนที่ต้องสู้ชีวิต ต้องต่อสู้กับเรื่องปากท้องในแต่ละวัน รวมทั้งต้องต่อสู้กับสภาพดินฟ้าอากาศด้วย โดยผู้ที่จะมาทำอาชีพในเหมืองแร่นี้อาจจะไม่ใช่คนที่มีความรู้มากหรือต้องใช้เงินมากในชีวิตประจำวัน แต่ต้องต่อสู่ฝ่าฟันในแต่ละวันให้ผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีของการอยู่ได้และการอยู่รอด รวมทั้งมีเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้านายและลูกน้อง ที่เป็นการยอมรับซึ่งกันและกันว่าแต่ละคนไม่ได้เก่งไปทุกเรื่องหรอก ชีวิตหรือการทำงานจึงต้องสัมพันธ์กันต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน

@คุณวีระยศ ชอบเรื่อง “น้ำกับน้ำใจ” มากที่สุด ที่เป็นเรื่องของตัวละครมุสลิมที่ต้องถือศีลอดแต่ต้องทำงานหน้าเตาไฟที่ร้อนมากแต่ว่ากินน้ำไม่ได้ จนสุดท้ายก็มีความเห็นใจย้ายให้เขาไปทำงานในกะกลางคืนเพื่อที่จะกินน้ำได้ ถือว่าเป็นงานเขียนที่แสดงถึงความมีมนุษยธรรมเป็นอย่างมาก

@คุณวีระยศ เล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้วคุณอาจินต์ชอบเรื่อง “สีชมพูยังไม่จาง” มาก ชอบจริง ๆ เพราะเหมือนว่าเรื่องนี้เป็นคาถาประจำตัวที่ว่า “มันไม่มีทางหายไปหรอกถ้าเราทำงาน แต่ถ้าเราพูดหรือเราทำร้ายคนอื่นทุกอย่างมันจะหายไป ตัวตนของเรามันจะหายไปด้วย”

@คุณอาจินต์เคยเล่าให้ฟังว่า นายฝรั่งในเรื่องที่เป็นชาวออสเตรเลียเป็นคนไม่กลัวผี เพราะว่าเขาเคยเป็นทหารเก่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นายฝรั่งเคยถูเกณฑ์มาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควด้วย คุณอาจินต์เล่าว่าที่ข้อเท้าของนายฝรั่งยังมีรอยแผลที่ถูกโซ่ตรวนอยู่ด้วย

@คุณวีระยศบอกว่า ล่าสุดนี้คุณอาจินต์อายุจะ 90 ปีแล้ว ตอนนี้เปลี่ยนตัวยาที่กินแล้วรู้สึกว่าฟื้นขึ้นมาสดใสมาก พูดคุยได้ตลอด ไม่หลงลืม ทุกวันดูมีความสุข ในบางครั้งก็ร้องเพลง บางครั้งก็หาเพื่อนพูดคุย แต่ช่วงนี้อ่านหนังสือไม่ได้แล้ว เพราะดวงตาเป็นต้อ บางครั้งก็ให้คุณวีระยศเป็นคนอ่านให้ฟัง คุณอาจินต์ยังเคยพูดเล่น ๆ กับคุณวีระยศว่า อยากจะออกหนังสือชื่อ “ฟ้าเมืองกาญจน์” เพราะว่าตอนนี้คุณอาจินต์อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ที่นั้นบรรยากาศดีกว่าที่กรุงเทพฯ รวมทั้งอากาศดีกว่าด้วย นอกจากนั้นคุณอาจินต์ยังพยายามที่จะเขียนหนังสืออยู่ตลอดเวลาด้วย โดยเฉพาะถ้าจำเรื่องใดได้ก็จะเขียน ถ้าไม่มีเรื่องเขียนก็จะเขียนเป็นบันทึกว่า วันนี้ตื่นมากี่โมง? ทำอะไรบ้าง?

@คุณอาจินต์เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือด้วยลายมือตลอด เพราะชอบการเขียนด้วยลายมือ ไม่ใช้พิมพ์ดีดเลย เป็นนักเขียนที่ลายมือสวยมากด้วย

@คุณวีระยศเคยถามคุณอาจินต์ว่า ทำไมยังถึงเขียนเรื่องอยู่ทั้ง ๆ ที่อายุเยอะควรจะพักได้แล้ว? คุณอาจินต์ตอบว่า “เขาให้ผมเป็นศิลปินแห่งชาติ เขาให้เงินเดือนผมด้วย ดังนั้นผมจะไม่ยอมกินเงินเดือนเขาฟรีๆ โดยที่ไม่คิดไม่เขียนอะไรให้ไม่ได้หรอก ผมตั้งใจว่าจะเขียนไปจนกว่าจะทำอะไรไม่ได้”

@ท้ายสุดคุณวีระยศ สรุปให้ฟังว่า สิ่งที่เขาได้จากการอ่านเหมืองแร่นั้นคือแง่คิดที่ว่า “ทำให้มันงาม ทำให้มันง่าย ทำให้มันจริง” เหมือนมีประโยคหนึ่งจากในเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่นี้ลอยออกมาบอกว่า “ลื้อต้องทำให้ถูกต้อง แล้วทุกอย่างมันจะดีเอง”






ท้ายสุดนี้ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาในบล็อกนี้จะมีประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจวรรณกรรม ผมขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกนี้ ขอให้ทุกท่านมีความสุขมากๆ ครับ





Create Date : 27 กันยายน 2559
Last Update : 27 กันยายน 2559 11:28:09 น. 30 comments
Counter : 2742 Pageviews.

 
ชอบหนังเรื่องมหา'ลัยเหมืองแร่มากๆ ค่ะ ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องราวของคุณอาจินต์มาให้ได้อ่าน

ชื่นชมคุณอาจินต์ค่ะ ที่ยังคงเขียนหนังสือทุกวัน แถมยังเขียนด้วยลายมืออีกด้วย

แตงมองว่าการที่คนสูงอายุได้เขียนหนังสือทุกๆ วัน เป็นการที่ฝึกสมองดีค่ะ ทำให้ห่างไกลจากโรคความจำเสื่อม เพราะการได้เขียนหนังสือ

ดีมากๆ เลยค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog


โดย: comicclubs วันที่: 27 กันยายน 2559 เวลา:14:06:07 น.  

 
น่าอ่านจังเลยค่ะ ไม่เคยอ่านเลย


โดย: sawkitty วันที่: 27 กันยายน 2559 เวลา:20:29:49 น.  

 
หนังสือของคุณอาจินต์ เคยได้อ่านอยู่สองสามเล่มค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ตามไปเที่ยวเกาะสุกรพร้อมโหวตด้วยค่ะ

อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog


โดย: zungzaa วันที่: 28 กันยายน 2559 เวลา:7:32:06 น.  

 

อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อนักค้าหุ้นเริ่มรู้ตัวว่า
แท้จริงแล้วตัวเองชอบเป็นนักเขียนมากกว่านะทิดกล่อง





โดย: หอมกร วันที่: 28 กันยายน 2559 เวลา:9:02:11 น.  

 
สวัสดีค่ะ

เล่มนี้ยังไม่เคยอ่านเลยค่ะ

แต่เคยดูมหาลัยเหมืองแร่ สนุกดี


โหวตให้ Book Blog ค่ะ

********************

ขอบคุณที่แวะเยี่ยมเยียนฝากคำทักทายและโหวตให้ด้วยนะคะ เรื่องคำศัพท์จะพยายามใส่ให้ค่ะ รอบนี้คำศัพ์มากกว่าเนื้อหาคำประพันธ์ซะอีก


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 28 กันยายน 2559 เวลา:10:16:23 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณกล่อง
หายไปนานเลยนะคะ
เล่มนี้ยังไม่เคยอ่านค่ะ แต่เคยได้ยินชื่ออยู่บ่อย ๆ ค่ะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
เจ้าการะเกด Diarist ดู Blog
บ้านต้นคูน Travel Blog ดู Blog
Max Bulliboo Klaibann Blog ดู Blog
อุ้มสี Food Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 28 กันยายน 2559 เวลา:18:16:35 น.  

 
สวัสดีค่ะ แต่ละคนก็มีจุดเปลี่ยนนะคะ ^^ มี้เก๋ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือมากนัก แต่เดี๋ยวนี้ก็เริ่มอ่านมากขึ้น ตามลูกลาวค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 29 กันยายน 2559 เวลา:11:25:46 น.  

 
ตะก่อนเคยอ่านใน ฟ้าเมืองไทย กับต่วยตูน ไม่แน่ใจว่าของคุณชอุ่ม หรือคุณอาจินต์ ค่ะ
+


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 29 กันยายน 2559 เวลา:14:56:36 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องกล่อง

หายไปนานมาก ๆ ทั้งลายน์ ทั้งเฟส สบายดีนะ
ขอบใจนะ ที่แวะไปเยี่ยมและโหวดที่บล็อกครู ใช่จ้ะ เป็นการพบปะสังสรรค์ด้วยมิตรภาพที่อบอุ่น สายใยของมิตรภาพของพวกเขาเหนียวแน่น มีกิจกรรมสร้างสรรค์ดี จ้ะ

บล็อกนี้ของเธอ ยาวมาก ๆ แต่ได้ความรู้ ได้ทราบประวัติความเป็นมา ผลงาน ของ คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ อย่างละเอียด ขอบใจ จ้ะ สำหรับความรู้ ค่ะ

โหวดหมวด รีวิวหนังสือ จ้ะ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 29 กันยายน 2559 เวลา:21:11:40 น.  

 
ขอบคุณที่ไปเยี่ยมนะคะ
ขอบคุณโหวตด้วยค่ะ

บล็อกยาวมาก จะค่อยๆมาอ่าน
เรื่องนี้ถ้าจำไม่ผิด ได้อ่านตั้งแต่ลงใน
ฟ้าเมืองไทย แต่ก็นานมาก ความจำก็
ลางเลือนแล้วค่ะ

แล้วจะมาอ่านต่อและโหวตให้นะคะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 30 กันยายน 2559 เวลา:18:12:31 น.  

 
จดมาแบบละเอียดมากเลย

มีช่วงที่ต้องไปเป็นยุวชนทหาร โห ถือว่าย้อนไปนานทีเดียว !

เห็นกระบวนการณ์ที่ต้องผ่านสั่งสมประสบการณ์เรื่อยแบบนี้
ถือว่าไม่ง่ายเลยนะคะ

ได้อยู่ร่วมสมัยกับลุงต่วย เสียด้วย :)

เดี๋ยวคงต้องหา มหาลัยเหมืองแร่ มาดูบ้างแล้ว


+


โดย: กาบริเอล วันที่: 1 ตุลาคม 2559 เวลา:17:25:15 น.  

 
ยังไม่เคยอ่านหนังสือชุดนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ได้รู้จัก คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ มากขึ้น


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
เรียวรุ้ง Book Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
zungzaa Travel Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
haiku Book Blog ดู Blog
AppleWi Craft Blog ดู Blog
praewa cute Parenting Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

*** เจอลิงที่เขาช่องกระจกค่ะ ที่เขาล้อมหมวก ไม่เจอ

ค่างแว่น เค้าอยู่ประจำที่เขาล้อมหมวกนี่ล่ะค่ะ ลองไปดูนะคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 1 ตุลาคม 2559 เวลา:19:32:50 น.  

 
กลับมาเริ่มอ่านค่ะ เน็ตบ้านป่าช้ามาก
ดีที่ไม่มีภาพมากๆและไม่มีเพลง

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 1 ตุลาคม 2559 เวลา:19:34:20 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ปลาทอง9 Food Blog ดู Blog
คนบ้านป่า Literature Blog ดู Blog
ชมพร About Weblog ดู Blog
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Food Blog ดู Blog
เตยจ๋า Home & Garden Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
...................................
เพราะเป็นคนอ่านหนังสือแบบทิ้งๆขว้างๆและจะอ่านเฉพาะหนังสือที่โดนบังคับต้องอ่าน
คุณอาจินต์ แกคงเขียน "จุฬาฯ ปฏิเสธข้าพเจ้า"ตอนที่แกกลับไปเรียนต่ออีกแน่ๆแต่โดนทางมหาลัยปฏิเสธ
เท่าที่อ่านๆสปอยส์มาแบบย่อ เหมืองทองแดง,เหมืองแร่,,อยากเรื่องนี้มากที่สุด "ผีตัวแรก"
ยอมรับว่าไม่เคยอ่านผลงานของคุณอาจินต์และนักเขียนท่านอื่น
อ้อคงมีเรื่องเดียวคือเพรชพระอุมาที่อ่านจบหรือเปล่า?ลืมๆไปแล้ว


โดย: Opey วันที่: 1 ตุลาคม 2559 เวลา:19:38:35 น.  

 
โหวต Book Blog ค่ะ

เคยดูหนัง มหาลัยเหมืองแร่ ชอบมากๆค่ะ เป็นหนังดีมากๆ แต่ยังไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ค่ะ น่าอ่านจัง


โดย: Raizin Heart วันที่: 1 ตุลาคม 2559 เวลา:21:20:12 น.  

 
สวัสดีคะคุณน้อง

พยาบาลบางคนก็ทำกับช้าวเก่งนะคะ เวลาไปงานเลี้ยงทำกับข้าวมากัน
ตกแต่งสวยงามและอร่อยด้วยค่ะ

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Quel Klaibann Blog ดู Blog
zungzaa Travel Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog


โดย: newyorknurse วันที่: 2 ตุลาคม 2559 เวลา:6:18:11 น.  

 
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

รู้แต่ว่าเหมืองแร่ตอนเป็นหนัง ดังมากๆครับ
อืมส์คุณอาจินต์โตสมัยสงคราม
เสียดายแกเรียนไม่จบ หรือมหาลับปฏิเสธรับกลับ
น่าเสียดายจัง ไม่งั้นคง มีเรื่องให้อ่านอีกเยอะ


โดย: ผมไม่ได้บินคนเดียวสู่ฯ (เตยจ๋า ) วันที่: 2 ตุลาคม 2559 เวลา:9:24:09 น.  

 
นี่ขนาดว่าไม่ได้เขียนแบบถอดเทปนะคะ คุณกล่องรีวิวได้ละเอียดยิบ
เช่นเคย ... จำได้ว่าสมัยเด็ก ๆ เคยฟังนิยายของคุณ ชอุ่ม ปัญจ-
พรรค์หลายเรื่องเลยค่ะ



ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog


โดย: Tristy วันที่: 2 ตุลาคม 2559 เวลา:12:40:58 น.  

 
อ่านจบแล้วค่ะ เท่ากับได้อัพเดท
ความจำเยอะเลย ขอบคุณนะคะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 3 ตุลาคม 2559 เวลา:19:36:56 น.  

 
ผู้เขียน ฺBlog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ู Blog

สวัสดีค่ะคุณกล่อง หายไปนานมากเลยนะคะ มาอ่านเรื่องราวของอาจินต์ปัญจพรรค์ สมัยยังเด็กๆพ่อชอบอ่านมากค่ะและยังรับหนังสือฟ้าเมืองไทยรายสัปดาห์ด้วยก็ได้อ่านตามพ่อไปด้วย โหวตให้นะคะ

ขอบคุณที่ไปชิมก๋วยเตี๋ยวพร้อมโหวตให้ค่ะ

หลับฝันดีค่ะ



โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 3 ตุลาคม 2559 เวลา:22:15:19 น.  

 
มาโหวตหนังสือให้น้องกล่องจ๊ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 4 ตุลาคม 2559 เวลา:8:50:25 น.  

 
ที่ TK จัดเป็นประจำทุกเดือนดีจังค่ะ เสียดายที่ไกลบ้านน้องซี


โดย: kae+aoe วันที่: 4 ตุลาคม 2559 เวลา:11:31:31 น.  

 
แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

อาคุงกล่อง Book Blog


โดย: kae+aoe วันที่: 5 ตุลาคม 2559 เวลา:11:10:17 น.  

 
น่าสนใจอีกแล้วค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 6 ตุลาคม 2559 เวลา:17:18:16 น.  

 
ถ้าเป็นเรื่องแรกที่คุณอาจินเขียน
น่าจะเป้นเรื่องทีสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คนด้วยเหมือนกันนะคะแบบนี้


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog




โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 8 ตุลาคม 2559 เวลา:23:29:12 น.  

 
ยามเย็นสวัสดีค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 9 ตุลาคม 2559 เวลา:17:56:24 น.  

 
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

หนังสือเล่มนี้ เขียนดีจริง ๆ ผมติดตามมานาน... แม้กระทั่ง
ลูกชายผม ปั่นจักรยานจาก กท.ไปเยือน เหมืองแร่เก่าและ
ไปสัมผัสบรรยากาศ ด้วยตนเอง คนเดียว..(ลาพักร้อน 15 วัน)

กลับมาเขียนลง บล๊อกจักรยาน เพราะชอบหนังสือนี้เล่มนี้

ผมขอบคุณนะครับ ที่แวะไปเยือน บทสัมภาษณ์และวิดิโอผม
โดยทีมงาน บล๊อก


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 10 ตุลาคม 2559 เวลา:9:27:50 น.  

 
เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ


โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 10 ตุลาคม 2559 เวลา:15:53:28 น.  

 
น่าสนใจครับ ได้ชมภาพยนตร์ด้วยครับ
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 11 ตุลาคม 2559 เวลา:0:03:57 น.  

 
สวัสดีคะอาคุงกล่อง

วันนี้ได้ไปถวายความอาลัยพระองค์ท่าน

รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ในใจคนไทยอย่างทั่วท้น



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 16 ตุลาคม 2559 เวลา:20:28:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.