Group Blog
 
<<
เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
22 เมษายน 2558
 
All Blogs
 
อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง

22 เมษายน 2558







ก่อนอื่นผมต้องขอบอกว่าบทความที่ผมเขียนนี้ไม่ใช่บทวิจารณ์วรรณกรรม เพระว่าหนังสือเล่มที่ผมอ่านในวันนี้ถือว่าเป็นบทวิจารณ์วรรณกรรมชั้นครูอยู่แล้ว ถ้าผมไปวิจารณ์ซ้ำก็จะกลายเป็นการวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์แน่ ๆ เอาเป็นว่าในวันนี้ผมขอรีวิวแนะนำหนังสือเล่มที่มีชื่อแปลกว่า อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง : รวมบทความวรรณกรรมศึกษาและบทวิจารณ์วรรณกรรมไทยและเทศ ที่เขียนโดย ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ อาจารย์ผู้สอนวิชาวรรณคดีที่หลายท่านรู้กันเป็นอย่างดี

หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างอ่านยากสักนิด โดยเฉพาะผู้ที่สนใจอ่านน่าจะเป็นคนที่อยู่ในแวดวงวรรณกรรมเท่านั้น เพราะว่าเป็นบทวิจารณ์วรรณกรรมที่ใช้ทฤษฎีทางวรรณกรรมหลายอย่างมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิจารณ์ ซึ่งประเด็นหลักของการวิจารณ์นั้นอาจจะออกมาไม่ตรงกับความเข้าใจของผู้อ่านก็เป็นได้ เพราะว่าการวิจารณ์หรือการตีความวรรณกรรมนั้นไม่เคยมีเพียงคำตอบเดียว การวิจารณ์จึงออกมาตามแต่ละทฤษฎีที่ผู้วิจารณ์นำมาใช้ ซึ่งทฤษฎีทางวรรณกรรมต่าง ๆ นั้นผมก็ไม่เคยได้เรียนมาก่อน อาศัยได้อ่านเอาจากในหนังสือเล่มนี้เอง จึงทำให้ผมพอเข้าใจรูปแบบวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ ได้บ้าง รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวรรณกรรมและคำศัพท์ทางวรรณกรรมใหม่ ๆ (ใหม่สำหรับผม) อีกมากมาย


“ความหลากหลายของทฤษฎีวรรณกรรมจะช่วยให้นักวิจารณ์มีทางเลือกที่จะ “อ่าน” งานวรรณกรรมชิ้นใดชิ้นหนึ่งด้วยวิธีการและมุมมองที่เห็นว่าเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับกรณีนั้น ๆ ได้”
(หน้า 409)


ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการวิจารณ์วรรณกรรมนั้น ตามความเชื่อของผมผมคิดว่า การวิจารณ์วรรณกรรมจะสร้างสรรค์วงการวรรณกรรมให้มีสีสันมากขึ้น อีกทั้งการวิจารณ์วรรณกรรมนั้นจะทำให้ผู้อ่านทั่วไปได้รู้จักชิ้นงานวรรณกรรมที่ถูกวิจารณ์ได้มากขึ้น การวิจารณ์ทำหน้าที่วิเคราะห์ตัวบทในเนื้อเรื่องตามทฤษฎีวรรณกรรม ทำให้เข้าถึงความหมายหรือสิ่งที่ซ้อนไว้ในงานวรรณกรรมนั้น ๆ ได้


“มีคนชอบเปรียบเทียบว่านักวิจารณ์ก็เหมือนนักสืบ นักเขียนเหมือนฆาตกร สิ่งที่นักวิจารณ์ทำคือการพยายามหาความหมายของ text หาดูว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ตกอยู่ตามทางซึ่งจะนำไปสู่คำตอบ เพียงแต่คุณอยากจะเป็นปัวโรต์หรือใครเท่านั้นเอง นี่เป็นคำเปรียบเปรยที่คนขอบใช้กันมาก”
(หน้า 434)


สำหรับชื่อหนังสือที่ตั้งไว้ว่า “อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง” นั้น ผู้เขียนอธิบายไว้ประมาณว่า ให้อ่านเพื่อเอาเรื่องก่อน ซึ่งก็คืออ่านให้รู้ว่าเรื่องราวในงานวรรณกรรมชิ้นนั้นเป็นอย่างไร พูดถึงเรื่องอะไร มีตัวละครอะไร มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ฯลฯ หลังจากการจึงค่อยอ่านแบบ “อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง” อีกครั้งเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่าสิ่งที่ซ้อนอยู่ในงานวรรณกรรมนั้นคืออะไร คำว่า “ไม่” ในวงเล็บนั้นหมายถึงสิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่ ซึ่งเราต้องค้นหาให้พบ ถือว่าเป็นการอ่านด้วยการสวมแว่นตาของนักวิจารณ์ไว้ในขณะที่อ่านด้วย (ผมพยายามอธิบายสรุปตามความเข้าใจของผมนะครับ)

ส่วนรายละเอียดของหนังสือ “อ่าน (ไม่) เรื่อง” นี้ ชื่อก็บอกไว้แล้วว่าเป็นการรวบรวมบทความวรรณกรรมศึกษาและบทวิจารณ์วรรณกรรมไทยและเทศ ที่เขียนโดย ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ซึ่งได้ลงตีพิมพ์เผยแพร่ในหน้านิตยสารและหนังสือพิมพ์หลายเล่มในทศวรรษ 2530 – 2540 ในเล่มแบ่งออกเป็น ภาคหนึ่ง ว่าด้วยวรรณกรรม , ภาคสอง วิจารณ์วรรณกรรมไทย , ภาคสาม วิจารณ์วรรณกรรมเทศ , ภาคสี่ ว่าด้วยแนววรรณกรรม และภาคผนวก ที่มีการรวมบทสัมภาษณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับความคิดเห็นเรื่องวรรณกรรม ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการหาความรู้ทางด้านวรรณกรรม รวมทั้งผู้ที่สนใจวรรณกรรมในระดับลึกซึ้ง อย่าลืมว่าหนังสือเล่มนี้ค่อนข้างอ่านยากมาก มีเนื้อหาเน้นด้านวิชาการเป็นหลัก ไม่เหมาะที่จะเป็นหนังสืออ่านเล่นเพื่อฆ่าเวลาสักเท่าไหร่ แต่ถ้าใครอยากจะอ่านแบบเอาเรื่องอย่างลึกซึ้งและจริงจัง หนังสือเล่มนี้ก็ไม่ยากเกินกว่าที่จะเข้าใจได้ ขนาดคนสมองน้อยอย่างผมอ่านแล้วยังพอจะเข้าใจได้บ้าง ถึงแม้ว่าจะเข้าใจได้ไม่ทั้งหมดก็ตาม ถือว่าเป็นการอ่านเพื่อประดับความรู้ด้านวรรณกรรมอย่างแท้จริง

ส่วนประเด็นเรื่องการอ่านหนังสือวรรณกรรม หรือหนังสือที่ท่านคิดว่าอ่านยากนั้น อาจารย์ชูศักดิ์ ผู้เขียนเรื่องนี้ยังได้ให้ความคิดเห็นทิ้งท้ายเพื่อเป็นกำลังใจแก่นักอ่านว่า



“จะว่าไป ผมเสียดายแทนคนสมัยนี้ที่ไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสความสำราญทางปัญญาอันเกิดจากการอ่านหนังสือยาก ๆ ผมไม่ได้พูดเวอร์อะไรทั้งสิ้น งานเขียนที่แพรวพราวด้วยชั้นเชิงการใช้ภาษาเพื่อนำเสนอความคิดซับซ้อนยอกย้อน สามารถก่อให้เกิดความปีติทางปัญญาและอิ่มเอมในอารมณ์ได้จริง ๆ มันเหมือนคุณกำลังท่องไปในดินแดนแห่งความรู้อันน่าฉงนฉงาย ขณะที่คุณค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ ติดตามบ้าง โต้แย้งบ้าง คุณจะเพลิดเพลินกับประเด็นความคิดที่ข้อเขียนนั้นนำเสนอ ยิ่งประเด็นมีความยอกย้อนซับซ้อน คุณยิ่งรู้สึกตื่นตาตื่นใจเสมือนหนึ่งว่ากำลังเดินอยู่ในเขาวงกตแห่งปัญญา ทุกซอกทุกมุม ทุกแยก ทุกเลี้ยว ล้วนมีสิ่งแปลกใหม่รอคอยคุณอยู่ และเมื่ออ่านจนจบ คุณจะบังเกิดความปลื้มปีติเหมือนดังคนที่เดินขึ้นไปจนถึงยอดเขา และทอดสายตามองดูทัศนียภาพอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดลูกหูลูกตารอบตัว ประสบการณ์แบบนี้คุณหาไม่ได้จากการดูทีวี หรืออ่านหนังสือง่าย ๆ”
(หน้า 454)



เมื่อผมได้อ่านจบลงแล้ว ผมรู้สึกมีกำลังใจในการอ่านงานวรรณกรรมขึ้นมาทันที มีหนังสือดี ๆ หลายเล่มที่ผมยังไม่กล้าเปิดอ่านเพราะกลัวว่าจะอ่านไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อผมได้รู้ถึงทฤษฎีการอ่านแบบ “อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง” จากในหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็คิดว่าจะหยิบหนังสือเล่มที่เป็นวรรณกรรมอันทรงคุณค่ามาอ่านดูให้รู้ถึงความในบ้างดีกว่า สำหรับหนังสือ “อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง” : รวมบทความวรรณกรรมศึกษาและบทวิจารณ์วรรณกรรมไทยและเทศ ฉบับที่อยู่ในมือผมนี้เป็น ฉบับพิมพ์ (edition) ที่สอง ปรับปรุงใหม่โดยสำนักพิมพ์อ่าน มีนาคม 2558  ด้วยความหนาแบบหนังสือวิชาการจำนวน 454 หน้า ราคาปก 450 บาท ควรค่าแก่การอ่านสำหรับคนที่อยู่ในแวดวงวรรณกรรมเป็นอย่างมาก

 


ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านหนังสือ ไม่ว่าหนังสือเล่มนั้นจะหนาขนาดไหน หรือว่าจะอ่านยากขนาดไหน ผมก็ขอให้ท่านอ่านจนเจอความหมายที่แท้จริงซึ่งซ่อนอยู่ในหนังสือเล่มนั้น ขอให้ท่านได้เจอความสุขอันสุดยอดเหมือนกับการเดินฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ จนขึ้นไปถึงยอดเขาแห่งพุทธิปัญญาอย่างแท้จริงเลยครับ





Create Date : 22 เมษายน 2558
Last Update : 22 เมษายน 2558 0:35:56 น. 16 comments
Counter : 2787 Pageviews.

 
สวัสดียามเช้าครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น




โดย: **mp5** วันที่: 22 เมษายน 2558 เวลา:7:55:05 น.  

 
แวะมาโหวตหนังสือให้น้องอาคุงกล่อง


โดย: อุ้มสี วันที่: 22 เมษายน 2558 เวลา:11:18:17 น.  

 
น่าอ่านค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 22 เมษายน 2558 เวลา:14:18:09 น.  

 
ไม่มีความรู้ทางด้านวรรณกรรมเลยค่ะ แต่ถ้าได้อ่าน น่าจะไม่ยาก ก็อ่าน (ไม่) เอาเรื่องนี่นา

เคยอ่านหนังสือแล้วไม่รู้เรื่อง อ่านแล้วต้องวาง ขอไม่อ่านต่อ นานๆ (นานมาก...ค่ะ) ค่อยหยิบมาใหม่ เห็นจะเป็น คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์ ของท่านพุทธทาส ค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
ชีริว Travel Blog ดู Blog
ชมพร About Weblog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 22 เมษายน 2558 เวลา:16:16:38 น.  

 
แวะมาเยี่ยมจร้า


โดย: Maya_II วันที่: 23 เมษายน 2558 เวลา:23:08:30 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
ชอบอ่านหนังสือง่ายๆ มากกว่านะทิดกล่อง


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog





โดย: หอมกร วันที่: 24 เมษายน 2558 เวลา:9:15:39 น.  

 
วันนี้มาโหวตค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 เมษายน 2558 เวลา:15:34:03 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณกล่อง ^^

เห็นชื่อเรื่องก็สะดุดแล้วค่ะ
อ่านไม่เอาเรื่อง เอ๊ะยังไง ^^

นุ่นมีปัญหากับหนังสือเล่มหนาเหมือนกันค่ะ
พอหนาก็จะแบบ เอาไว้ก่อน ค่อยอ่านน่า
แรงจูงใจในการเปิดอ่านน้อยกว่าเล่มบาง

อ่านจนจบบทที่เขียน รู้สึกน่าอ่านนะคะ
เป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งเลย

ขอบคุณสำหรับรีวิวค่า
มีความสุขมากๆในวันหยุดนะคะ ^^




โดย: lovereason วันที่: 25 เมษายน 2558 เวลา:0:56:23 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณกล่อง..

พี่อ้อมแอ้มแอบชิงลงเรื่อง Meeting แล้วนะค่ะ

5555



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 25 เมษายน 2558 เวลา:18:19:52 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่กล่อง
จริงด้วยค่ะ
มีหนังสือหลาย ๆ เล่มที่บุ๊งเองก็ไม่คิดจะหยิบมาอ่าน
เพราะคิดไปเองว่าจะอ่านไม่รู้เรื่อง
พอมาเห็นแนวคิดแบบนี้ ก็เข้าท่าดีเหมือนกันค่ะ


โดย: Close To Heaven วันที่: 26 เมษายน 2558 เวลา:17:20:14 น.  

 
เห็นด้วยค่ะกับตรงที่ว่าไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียว หนังสือเล่มเดียวกันแต่คนอ่านคนละคนกันก็สามารถตีความเป็นคนละแบบได้ตามแต่ความคิดความเข้าใจของแต่ละคน

ปล.เรื่องตัวอักษรที่บล็อกแมวน้อยปรับปรุงแก้ไขแล้วนะค่ะ


โดย: Kisshoneyz วันที่: 26 เมษายน 2558 เวลา:17:58:58 น.  

 
ทุกวันนี้หยิบหนังสือมาอ่านได้ไม่นานเลยครับ

เทคโนโลยี ดึงดูดสมาธิไปหมดเลย


โดย: pumpgusso วันที่: 26 เมษายน 2558 เวลา:21:25:12 น.  

 
แวะมาติดตามค่ะ


โดย: pavielin วันที่: 26 เมษายน 2558 เวลา:23:54:14 น.  

 
แวะมาทักทายแต่ยังมะได้อ่าน แปะไว้ก่อนนะ


โดย: aitai วันที่: 27 เมษายน 2558 เวลา:12:33:58 น.  

 
แวะมาเยี่ยมเยียนครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 27 เมษายน 2558 เวลา:23:28:14 น.  

 
เล่มนี้ท่าทางจะอ่านยากค่ะ
แต่คิดว่าคงมีประโยชน์มากในการอ่านแหละ
เพราะมีการแนะวิธีการอ่านวรรณกรรมไว้ด้วย แบบนี้ก็มีประโยชน์ค่ะ



โดย: ที่เห็นและเป็นมา วันที่: 29 เมษายน 2558 เวลา:22:25:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.