Group Blog
 
<<
มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 
กระทู้ดอกทอง

7 มีนาคม 2558






 



หนังสือที่ผมอ่านในวันนี้เห็นชื่อเรื่องแล้วก็ต้องตกใจแน่ ๆ เพราะว่าในครั้งแรกที่ผมเห็นหนังสือชื่อนี้ผมยังไม่กล้าหยิบขึ้นมาดูเลย ด้วยความหนาขนาดนวนิยายและชื่อเรื่องที่แรง ๆ ทำให้ผมต้องมองข้ามไปก่อน แต่เมื่อไม่นานมานี้พอผมมาเจอหนังสือเล่มนี้วางอยู่ในหมวดวรรณกรรมแล้วผมกลับสนใจขึ้นมาทันที จนผมต้องรีบอ่านและแนะนำให้เพื่อนได้ทราบกัน

หนังสือชื่อ “กระทู้ดอกทอง” นี้เป็นบทวิจารณ์วรรณกรรมที่มีคำโปรยหลังปกว่า “รวมบทวิจารณ์วรรณกรรมและภาพยนตร์ ว่าด้วยอุดมคติของความรัก เพศ และความเป็นหญิง” ซึ่งบทวิจารณ์วรรณกรรมทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้นำมาจากคอลัมน์ชื่อ “กระทู้ดอกทอง” ที่คำ ผกา ได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ในช่วงปี 2544-2546 เป็นบทความที่พูดถึงเรื่องราวจากหนังสือนวนิยายและภาพยนตร์ของไทย โดยพยายามยกตัวละครหญิงจากนวนิยายออกมาวิจารณ์และตีแผ่ในประเด็นที่เชื่อมโยงไปถึงลัทธิสตรีนิยม หรือที่เรียกกันว่า “แฟมินิสต์” ซึ่งตัวละครแต่ละตัวที่ คำ ผกา ยกมานำเสนอนั้นล้วนแต่เป็นตัวละครหญิงที่เป็นทั้งนางเอกและนางร้ายจากนวนิยายเรื่องเด่น ๆ ของไทยทั้งสิ้น

สำหรับเนื้อหาในการเขียนนั้น คำ ผกา ผู้เขียนอ้างว่าไม่ใช่บทวิจารณ์วรรณกรรม แต่เป็นบทความที่เขียนถึงตัวละครหญิงจากนวนิยายน้ำเน่าเป็นหลัก โดย คำ ผกา ผู้เขียนอ้างตัวว่าตัวเองก็เป็นผู้หญิงดอกทองคนหนึ่ง เลยอยากจะรู้ว่าตัวละครหญิงในนวนิยายน้ำเน่าเรื่องไหนบ้างที่จะดอกทองมากน้อยเหนือไปกว่าตัวเธอหรือไม่ (ในหลายบทมีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของตัวผู้เขียนเอง) ด้วยสำนวนและลีลาการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวซึ่งไม่เกรงใจใคร การเขียนแบบพูดตรง ๆ ด้วยภาษาที่เห็นชัดเจนโดยไม่ต้องตีความเพิ่ม จึงทำให้บทวิจารณ์วรรณกรรมของเธอดูโดดเด่นและแปลกแยกออกมาจากบทวิจารณ์วรรณกรรมทั่วไป ด้วยการเน้นถึงประเด็นของเพศและความเป็นหญิงตามหลักแฟมินิสต์ยิ่งทำให้บทวิจารณ์วรรณกรรมนี้ดูเหมือนจะเน้นวิเคราะห์เจาะลึกถึงตัวละครหญิงเป็นหลัก ซึงทำให้ผู้อ่านได้ประโยชน์ในแง่ของการเห็นภาพของตัวละครหญิงนั้นชัดเจนมากขึ้น

 


ผมขอยกตัวอย่างบางตอนจากในหนังสือชื่อ “กระทู้ดอกทอง” นี้ มาแสดงให้เห็นถึงลีลาและสำนวนการเขียนของ คำ ผกา ว่าแรงอย่างหนักแน่นแบบตรงไปตรงมาขนาดไหน


แต่คำตอบต่อกรณีสามีเจ้าชู้หรือปัญหาอันเกิดจากความบกพร่องต่าง ๆ นานาของสามีนั้น ส่วนใหญ่จะแนะนำผู้หญิงที่เป็นภรรยาว่า “ต้องอดทน” , “คนเป็นเมียนั้น น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก” , “ผู้หญิงที่ฉลาดจริงคือผู้หญิงที่แกล้งโง่เป็น” สรุปแล้วส่วนใหญ่จะแนะนำให้รอมชอม เอาความดีเข้าสู้ สักวันหนึ่งเขาต้องเห็น ในกรณีที่สามีเจ้าชู้หรือมีเมียน้อย มักแนะนำให้เมียหลวงทำเงียบ ๆ ไม่กระโตกกระตาก ห้ามด่า ห้ามหยาบคาย ห้ามวีนเมียน้อย ห้ามท้าตบ เสร็จแล้วไปแปลงโฉม ลดความอ้วน พูดให้น้อยลง ใส่ชุดนอนโป๊ ๆ ใส่น้ำหอม พูดอ่อนหวาน คะขา อ้อนผัวให้เป็น สามีกลับบ้านให้กุลีกุจอรินน้ำเย็น คุกเข่าถอดถุงเท้าให้ อาหารเย็นเตรียมพร้อมหอมกรุ่น พอเข้านอนก็แปลงร่างจากนางแจ๋วเป็นนางแมวยั่วสวาท เลียตั้งแต่หัวยันหัวแม่ตีนได้ก็ควรเลีย อย่างนี้รับรองว่าผัวไม่ไปไหน

(จากบทวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง “เนื้อใน” หน้า 266)

 


สำหรับผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วก็ถือว่าเป็นงานวิจารณ์วรรณกรรมที่มีเอกลักษณ์เล่มหนึ่ง แน่นอนว่าผมไม่เคยอ่านงานวิจารณ์ในประเด็นและสำนวนแรง ๆ ในลักษณะแบบนี้มาก่อน สำหรับการวิจารณ์วรรณกรรมทั่วไปนั้นส่วนใหญ่จะวิเคราะห์ถึงกลวิธีทางการเขียนวรรณกรรมเป็นหลัก โดยบทวิจารณ์วรรณกรรมทั่วไปมักจะทำหน้าที่ค้นหาสัญลักษณ์ที่แฝงอยู่ในเรื่องเพื่อนำออกมาเสนอให้แก่ผู้อ่าน หรือไม่ก็เน้นที่จะวิเคราะห์ไปถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดของนวนิยายเรื่องนั้น ๆ ซึ่งบทวิจารณ์ของคำ ผกา นี้ก็ทำหน้าหลักนี้ด้วยเช่นกัน แต่ภาษาการเขียนที่ใช้วิจารณ์ดูเหมือนว่าจะพูดตรง ๆ แรงแบบไม่แคร์สื่อ และไม่เกรงใจใครเลย ผมเชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบงานของคำ ผกา แน่ ๆ เพราะว่าการวิจารณ์ของเธอนั้นถ้าไม่ชอบนวนิยายเรื่องไหนก็จะบอกออกมาตรง ๆ เลย แต่ถ้าเธอชอบนวนิยายเรื่องไหนเธอจะไม่บอกตรง ๆ ว่าชอบแต่จะพยายามพูดและยกตัวอย่างที่ดี ๆ จากเนื้อเรื่องมาให้ผู้อ่านทราบ จึงถือว่าเป็นการวิจารณ์ที่แสดงความเอนเอียง(ชอบ/ไม่ชอบ)ได้อย่างชัดเจน

นอกจากนั้น คำ ผกา ยังพูดถึงนวนิยายแนวพาฝันประโลมโลกของไทย ที่ใคร ๆ เรียกว่านิยายน้ำเน่านั้น จริง ๆ แล้วถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากแก่ผู้อ่าน เพราะนอกจากจะให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านแล้ว นวนิยายเหล่านั้นยังทำหน้าที่สะท้อนสังคมในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี ตัวละครที่เป็นทั้งนางเอกและพระเอกนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวตนในอุดมคติของคนในสังคมนั้น ๆ ด้วย จึงทำให้เรื่องราวของนวนิยายแต่ละเรื่องเข้าไปอยู่ในใจของผู้อ่านได้ นวนิยายเรื่องนั้นจึงมีความผูกพันกับผู้อ่านมากยิ่งขึ้นด้วย








สำหรับท่านใดที่ชอบอ่านงานวิจารณ์วรรณกรรมแล้วก็น่าจะลองหาหนังสือเล่มนี้มาลองอ่านดูนะครับ ถ้าท่านได้อ่านแล้วคงจะมีความรู้สึกว่างานวิจารณ์วรรณกรรมนั้นไม่ได้มีอยู่แค่รูปแบบเดิม ๆ เท่านั้น ยังมีงานวิจารณ์วรรณกรรมที่พยายามเจาะลึกในด้านอื่น ๆ (เช่น ด้านตัวละคร) อีกด้วย งานวิจารณ์วรรณกรรมในหนังสือ “กระทู้ดอกทอง” นี้ นอกจากจะทำหน้าที่ของนักวิจารณ์แล้ว คำ ผกา ยังทำหน้าที่ช่วยคนเขียนสะท้อนสังคมให้มากขึ้น ด้วยการยกประเด็นตัวอย่างเอามาตั้งเป็นคำถามเพิ่มให้แก่ทั้งผู้อ่านและสังคมด้วย ดังจะเห็นในตอนท้ายของบทในแต่ละตอนที่ คำ ผกา มักจะโยนคำถาม(ที่นอกเหนือจากในเรื่อง)ทิ้งไว้ให้ขบคิดต่อเสมอ

สำหรับหนังสือชื่อ “กระทู้ดอกทอง” ในมือผมเล่มนี้เป็นของสำนักพิมพ์อ่าน ซึ่งเป็นการพิมพ์รวมเล่มเป็นครั้งที่สอง ในเดือนมีนาคม 2556 (พิมพ์รวมเล่มครั้งแรกเป็นของแพรวสำนักพิมพ์ เดือนตุลาคม 2546) ขนาดความหนาเท่า ๆ กับนวนิยายเรื่องยาวเล่มหนึ่งที่มีจำนวนหน้า 478 หน้า รวมบทวิจารณ์วรรณกรรมเกือบ 70 ตอน ด้วยราคาปก 350 บาท ท่านผู้สนใจถ้าเจอที่ไหนก็ลองหาซื้อมาอ่านกันดูนะครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านรีวิวหนังสือของผม ขอให้ท่านมีความสุขกับการอ่านหนังสือนะครับ




Create Date : 07 มีนาคม 2558
Last Update : 7 มีนาคม 2558 0:09:21 น. 14 comments
Counter : 4677 Pageviews.

 
เคยอ่านด้วยแหละค่ะ ...... แต่ว่า อ่านไม่จบนะ
เพราะว่าต้องเอาไปคืนก่อนน่ะ่ะ แต่ว่าชอบเลยล่ะค่ะ
เพราะว่าเค้าใช้คำตรงและแรงดีเลยค่ะ


โดย: JewNid วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:8:44:41 น.  

 
เคยอ่านเล่มนี้ค่ะ
แต่เป็นเล่มเก่าของแพรวนะคะ
ชอบการวิจารณ์แบบนั้นด้วยเหมือนกัน
แม้ปกติจะไม่เคยงานวิจารณ์วรรณกรรมเลยก็ตาม


โดย: เหมือนพระจันทร์ วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:8:45:14 น.  

 
แรงเชียวทั้งชื่อเรื่อง
ทั้งเนื้อหาอิ อิ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:8:53:36 น.  

 
แค่ชื่อก็แซ่บแล้ว
ปกติเราชอบอ่านอะไรเกี่ยวกับแฟมินิสต์ด้วยอยู่แล้ว
เล่มนี้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากๆครับ


โดย: PZOBRIAN วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:11:40:15 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เริงฤดีนะ Movie Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

แวะมาส่งกำลังใจค่ะเด๋วตื่นนอนจะกลับมาอ่านต่อ..ตอนนี้ตาเริ่มจะปิดล่ะค่ะ


โดย: โอพีย์ (Opey ) วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:11:51:03 น.  

 
สะดุดชื่อเรื่องเข้ามาจริงๆ ค่ะ

น่าสนใจนะคะ อยากทราบว่าเขาจะวิจารณ์แต่ละเรื่องออกมาในลักษณะไหน


โดย: ออโอ วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:13:58:16 น.  

 





เห็นหัวข้อที่โปรยครั้งแรก ..

ร้อง .. "ว้ายยยย .." ..




อา คุงกล่อง ได้ยิน ป่าว ??











โดย: foreverlovemom วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:14:20:27 น.  

 
เข้ามาอ่านค่ะ.. อืมมส์ เคยได้ยินชื่อเสียงของนักเขียนท่านนี้.. วรรณกรรมของเธอน่าสนมากๆอยู่ค่ะ


โดย: โอพีย์ (Opey ) วันที่: 8 มีนาคม 2558 เวลา:1:35:16 น.  

 
เคยอ่านวิจารณ์วรรณกรรมของคุณคำผกา

ยอมรับว่าเธอแรง แต่หลายครั้งเป็นการมองโลกในมุมเดียว และก็เป็นมุมที่แคบ

จึงอยากเชื่อว่า เธอดังเพราะการใช้ภาษา และถ้อยคำที่ตรง ๆ และรุนแรง แต่ไม่ได้มีมุมมองความคิดที่น่าสนใจเลย ประมาณสาวปากกล้า ที่ใช้วาจาได้แสบสันต์ สะใจ แต่ไม่มีมุมมองช่วยกระตุ้นความคิดหรือแก้ปัญหาใด ๆ เลย

สั้น ๆ ด่าเอามันส์


โดย: Serverlus วันที่: 8 มีนาคม 2558 เวลา:21:52:58 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
ไม่ชอบอ่านหรอก แต่ชอบส่งกำลังใจให้ทิดกล่องจ้า


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog





โดย: หอมกร วันที่: 9 มีนาคม 2558 เวลา:10:26:25 น.  

 
ผมนี่เห็นชื่อเรื่องแล้วรีบเข้ามาเลยครับ 555+
แวะมาทักทายยามบ่ายๆครับ อาคุงกล่อง


โดย: Ariawah Auddy วันที่: 9 มีนาคม 2558 เวลา:14:46:29 น.  

 
สวัสดีค่า คุณกล่อง ^^
คุณคำผกา เคยอ่านงานเธอบ้าง และเคยดูรายการทีวีที่จัด
ไม่แปลกใจ งานเธอออกแนวนี้
แนวสะท้อนสังคมมั๊ยคะแบบนี้ น่าจะนะ

ค่อนข้างตรงและแรง
แต่ก็อ่านได้ค่ะ
ถือว่าเป็นมุมมองใหม่ อิอิ

ขอบคุณมากๆค่า
มาช้ามากมายไม่ค่อยได้เข้าค่ะ


โดย: lovereason วันที่: 11 มีนาคม 2558 เวลา:2:52:52 น.  

 




เปิด มา หน้านี้ ..

ตกใจ ไม่ หาย ... ซ๊ากกก .. ที ..




















โดย: foreverlovemom วันที่: 11 มีนาคม 2558 เวลา:15:42:17 น.  

 
น่าอ่านบ้างจังค่ะ


โดย: คนอ่อนไหวที่แกล้งใจแข็ง (Tukta21 ) วันที่: 12 มีนาคม 2558 เวลา:23:28:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อาคุงกล่อง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




อาคุงกล่องเป็นชายไทยนิสัยดีมีความฝัน ผู้ผันตัวมาเป็นทาสวรรณกรรมอย่างแท้จริง ใช้ชื่อกำหนดตัวตนว่า “อาคุงกล่อง” เป็นนามปากกาสร้างสรรค์ผลงานในเชิงหัสนิยาย และงานเขียนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี ความเรียง บทกลอน ไดอารี่เพ้อเจ้อละเมอเพ้อฝันต่างๆ ฯลฯ

ปัจจุบัน “อาคุงกล่อง” เป็นนักอ่าน นักคิดและนักเขียน รวมทั้งเป็นนักจินตนาการออกมาเป็นตัวอักษรด้วย ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คือการเป็นนักเขียนมีคุณภาพที่สรรค์สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คาดว่าในเวลาอันใกล้นี้นาม “อาคุงกล่อง” จะเกิดปรากฎชัดในโลกวรรณกรรม จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่หนอนนักอ่านทั่วไทย



"ในชีวิตจริงของคนเรา มีอะไรอีกมากมายที่จะต้องรับรู้และรับผิดชอบ ในแต่ละวันเรามีโอกาสที่จะหัวเราะได้สักกี่ครั้ง? แต่ถ้าเราได้มีโอกาสหัวเราะเสียบ้างเพื่อเป็นการผ่อนคลายหรือคลายเครียด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ"

ถ้าคุณเข้ามาในบล็อคของผมแล้ว คุณสามารถอมยิ้มหรือหัวเราะได้ ผมก็คงจะดีใจแล้วครับ (กรุณาช่วยทิ้งคอมเม้นท์วิจารณ์ไว้ให้ผมด้วยนะครับ จักขอบพระคุณมากเลยครับ)

akungklong@gmail.com
Friends' blogs
[Add อาคุงกล่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.