มรกตนาคสวาท : แมวๆ พิคเจอร์

ขอได้รับความขอบคุณจากแมวๆ พิคเจอร์เช่นเคยค่ะ
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
28 มีนาคม 2553
 
 
..จากตัวบี้ถึงหนอนไหมไปยังดักแด้ ต้ม-สาว-เส้นใย กว่าจะเป็นเส้นไหมที่ใช้ทอ..



ภาคสองที่สืบเนื่องมาจากวันที่ ๑๕-๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓ มาหยาลาพักร้อนไปนอนเล่นที่บ้านโคกน้ำเกี้ยง ต.ป่าไม้งาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู มาแล้วค่ะ

หน้านี้ขออนุญาตพูดถึงงานอดิเรกอย่างหนึ่งของชาวบ้านโคกน้ำเกี้ยง นั่นคือ การเลี้ยงไหม สาวไหม เพื่อให้ได้เส้นไหมสีทองสวยงาม ส่งขาย หรือเก็บไว้ทอผ้าเองค่ะ

น่าอิจฉาสาวๆ หมู่บ้านนี้จริงจริ๊ง ที่สามารถทอผ้าได้ มาหยาอยากทอผ้าเป็นบ้าง คงจะไม่มีทางทำได้แน่ๆ เลย



เส้นทางของผ้าไหม เริ่มจาก "ตัวบี้" พวกนี้แหละค่ะ มันเริ่มผสมพันธุ์กันหลังจากออกจากดักแด้



เราก็ปล่อยให้แมงบี้พวกนี้ผสมพันธุ์กันไป จะได้วางไข่เป็น "หนอนไหม" "หนอนผีเสื้อ" ต่อไป

แหะๆ ที่นี่เรียกผีเสื้อว่า แมงบี้ เหมือนหนองตาชื่นบ้านมาหยาที่เรียกผีเสื้อว่า แมงกะบี้ เหมือนกันเลย

แต่ในภาษาเชียงใหม่ กำบี้ จะหมายถึงแมลงปอ กระมัง



เอ่อ ลืมบอกไป ใครที่กลัวหนอน กรุณาอย่าเลื่อนลงไปเรื่อยๆ เน้อ เดี๋ยวจะตกใจกลัว แหะๆ


เมื่อแมงบี้เริ่มจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว เราต้องกักบริเวณนุ้งบี้ ไม่ให้ออกไปนอกพื้นที่
ด้วยการนำกาบกล้วยมาพับๆ แบบนี้ แล้วกักตัวแมงบี้ไว้แบบนี้ค่ะ

ถ่ายผ่านมุ้งผ้าสีดำ ที่คุณยายกางไว้ให้บริเวณที่เลี้ยงไหม เพราะกลัวแมลงวันจะเข้าไปวางไข่ขางค่ะ
เพราะไม่เช่นนั้นแมลงวันอาจจะทำให้หนอนเน่าได้



กักๆ เอาไว้ แล้วแมงบี้ก็จะวางไข่ออกมาเป็นเม็ดๆ เราก็เอากระดาษขาวไปเขี่ยๆ เอาไข่แมงบี้มาใส่ในกระด้งไว้
แล้วไข่แมงบี้ก็จะโตมาเป็นหนอนไหม ดังนี้ค่ะ

**ภาพตอนเป็นไข่ไม่ทันได้ถ่ายไว้นะคะ กลับมาจากโคกน้ำเกี้ยงก่อนค่ะ

แต่มีภาพหนอนไหมที่เริ่มโตที่ถ่ายไว้ตั้งแต่วันแรก

เมื่อเกิดเป็นหนอนไหม ขึ้นมาแล้ว ก็เอาใส่ไว้ในกระด้งแบบนี้ค่ะ


หนอนในภาพ เป็นหนอนที่เริ่มจะเข้าดักแด้แล้วนะคะ ตัวใหญ่มาก



ผู้ที่เลี้ยงไหม จะต้องนำใบหม่อน ซึ่งเป็นอาหารของหนอนไหม ให้หนอนไหมกินให้พอ
ช่วงเป็นหนอนนี้ มันจะกินจุมาก เราเอาใบหม่อนมารายๆ หนาๆ ให้เต็มกระด้ง ท่วมปิดตัวไหมจนไม่เห็นตัว
ประมาณไม่เกินสามสี่ชั่วโมงใบหม่อนก็เรียบหมดแล้วค่ะ เราก็ต้องเอาใบหม่อนให้มันกินเพิ่ม

กินอย่างเดียวเลย


ในภาพยายกำลังเอาใบหม่อนให้หนอนไหมกินค่ะ



เอาใบหม่อนรายๆ ในกระด้งให้เต็ม แล้วเอาผ้าผืนใหญ่ๆ มาหุ้มปิดกระด้งเอาไว้
เพื่อไม่ให้น้องหนอนไต่ออกมากระจัดกระจายนอกกระด้งค่ะ

ถ้าสังเกตที่มุมซ้ายบนจะเห็นกระด้งที่มีผ้าคลุมอย่างที่บอกอยู่เต็มไปหมดค่ะ



ทีนี้พอน้องหนอนโตเต็มที่ ตัวจะเป่งๆ เป็นสีออกเหลืองๆ เราก็ต้องย้ายที่ให้น้องหนอน
เพราะตอนนี้น้องหนอนจะไม่อยากจะกินอะไรละ อยากจะนอนอย่างเดียวเท่านั้น

เราก็จะแยกหนอนกลุ่มนี้มาใส่ไว้ใน "จ่อ" เพื่อให้น้องหนอนทำหน้าที่ชักไยทำดักแด้หุ้มตัวเองไว้ค่ะ


เอาหนอนๆ ใส่แบบนี้ หนอนจะหาที่ทางสำหรับตัวเองในการสร้างรังเองค่ะ



ลองโคลสอัพน้องไหมดูค่ะ ใครกลัวหนอน ข้ามภาพนี้ไปนะคะ


เสียดายที่ตอนที่มาหยาไปโคกน้ำเกี้ยงนั้น น้องหนอนยังไม่โตเต็มที่เยอะๆ น่ะค่ะ เลยได้เห็นแค่นี้เอง



ทีนี้พอเอาไหมใส่จ่อเสร็จ ก็เอาผ้าขาวคลุมๆ ไว้แบบนี้
แล้วเอาไปไว้ที่ใต้คานตรงใต้ถุนค่ะ



หลังจากนั้น ผ่านไป น้องหนอนไหมก็จะพ่นใยออกมาหุ้มตัวเองเป็นฝักๆ สีทองแบบนี้ค่ะ

วันแรกก็เริ่มเป็นฝัก วันสองวันก็เริ่มเต็มที่ สามวันขึ้นไปถึงหนึ่งสัปดาห์ก็เริ่มนำมาต้มสาวไหมได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นกับสภาพอากาศด้วยค่ะ

ถ้าทิ้งไว้นานเกินไป หนอนไหมข้างในก็จะเน่า แล้วก็เส้นไหมที่ได้จะไม่มีคุณภาพค่ะ


แหะๆ ภาพข้างบนจ่อใหญ่ แต่ในภาพนี้เป็นไหมในจ่อเล็กนะคะ



ดูกันให้ชัดๆ อันนี้แบบน้อยๆ นะคะ เห็นยายบอกว่า ถ้าจริงๆ จังๆ จะเต็มจอไปหมดค่ะ



เราก็จะนำเอารังไหม หรือดักแด้ที่ว่านี้ไปต้ม เพื่อสาวไหมค่ะ


ส่วนภาพข้างล่างนี้ คือ ถ้าทิ้งไว้นานเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ หนอนไหมก็ออกเป็นตัวบี้มาจากรังไหม

บางรังก็เน่าอย่างเห็นได้ชัดค่ะ



ซึ่งแน่นอนที่สุด ส่วนหนึ่งเราก็ต้องปล่อยให้มันเป็นตัวบี้ เพื่อจะได้ผสมพันธุ์และให้หนอนไหมต่อไป

แต่ส่วนที่เหลือ เราจะนำมาต้มเพื่อสาวไหม



เริ่มจากตั้งหม้อน้ำให้เดือดค่ะ



หน้าที่ของคนสาวไหมคือ ต้องควบคุมดุ้นฟืนและความร้อนของน้ำเดือดให้ปานกลาง
ถ้าน้ำเดือดมาก ตัวไหมจะลอยขึ้นมาวุ่นวาย สาวไหมยากค่ะ

น้ำเดือดได้ที่แล้ว เอาอุปกรณ์สาวไหมทั้งหมดมาคีบกับปากหม้อ แล้วขยุ้มรังไหมใส่ไปในหม้อค่ะ


ใส่ทีละกำมือเดียวนะคะ ไม่ต้องมาก เดี๋ยวจะได้เส้นไหมใหญ่เกินไป ไม่เวิร์กค่ะ



กระบวนการนี้เรียกเป็นภาษาโคกน้ำเกี้ยงว่า "สาวหลอก" ค่ะ


ตอนแรกฟังๆ คิดว่าเป็นสาวหลอด จริงๆ คือ สาวหลอก ตะหาก



บ่าวระวังล่ะ สาวจะหลอกละ ไม้ที่ใช้คนๆ คีบๆ สายไหมเนี่ย เรียกว่า ไม้สาวหลอก จ้า



ควบคุมไฟ ควบคุมปริมานรังไหมค่ะ เพื่อไม่ให้รังไหมเปื่อยเร็ว และไม่ให้ได้เส้นไหมที่ใหญ่เกินจนไร้ราคาค่ะ



ภาพโดยรวมของหม้อต้ม



เส้นไหมสีทองเริ่มขึ้นมาแล้วค่ะ



เส้นไหมผ่านแกนส่วนนี้ซึ่งหมุนได้ และทำให้เส้นไหมเรียบสวยค่ะ


คนสาวหลอกจะต้องคอยดึงพวกขี้ไหม หรือเส้นที่เป็นปมๆ ออกด้วยนะคะ เพื่อให้เส้นเรียบสวย



ยายคำพอง กองแก้ว กำลังนั่งสาวหลอกค่ะ



เส้นไหมสีทองของยายค่ะ



ลืมบอกไปว่า รังไหมก่อนจะเอาใส่หม้อต้มเพื่อสาวหลอกนั้น ต้องเอาไปลวกน้ำก่อนค่ะ


ให้ชุ่มๆ น้ำแบบนี้ แล้วพักไว้ ก่อนที่จะขยุ้มใส่หม้อที่ละกำมือเด้อ



เห็นกระบวนการที่จะออกมาเป็นเส้นไหมสีทองชัดๆ ไหมคะ



หลายเส้นรวมเป็นหนึ่งเดียว



ผึ่งเส้นไหมที่ได้ให้แห้ง แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการทำให้เส้นไหมเป็นไจค่ะ



ก็มีอุปกรณ์เสริมดังนี้



วิธีการใช้งานเครื่องมือข้างบน



หนูเมษามาสาธิตวิธีปั่นให้เส้นไหมเป็นไจด้วยค่ะ



เมษาลองแล้ว มาหยาก็ลองบ้าง


แง่ก ๆ มาหยาทอผ้าไม่เป็น แล้วจะเอาผ้าที่ไหนไปสมมาหนุ่มตอนแต่งงานได้ล่ะเนี่ย

แง่กๆ หาเจ้าบ่าวให้ได้ก่อนจะดีกว่าไหม



ยายคำพองเห็นเราสองคนแล้วทนไม่ได้ แหะๆ ยายจะสาธิตให้พวกเจ้าดูเอง แหะๆ



พวกสูเจ้าทำไมบ่นั่งพับเพียบให้มันเรียบร้อย ดูยายเป็นตัวอย่างนี่



งดงามแท้ว่า



ได้ไหมมาแบบนี้ค่ะ



ต้องผูกไหมไว้เป็นส่วนๆ เล็กๆ จะได้ไม่พันกันยุ่งเหยิง


และแยกได้ด้วยค่ะ



แล้วก็ม้วนๆ ให้เป็นไจ



ส่วนอันนี้เป็นเศษไหม ไหมเส้นใหญ่ที่ปั่นได้แรกๆ กับท้ายๆ ค่ะ ราคาจะด้อยกว่าไหมทองข้างบน



ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการเลี้ยงไหม-สาวไหมแต่เพียงแค่นี้ค่ะ


ส่วนกระบวนการทอผ้านั้น ถ่ายมาได้นิดเดียว เพราะช่วงที่ไปไม่มีใครตำหูก
หรือไม่เขาก็ตำตอนที่เราไม่ได้ไปดูค่ะ




.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.

ขอได้รับความขอบคุณจากแมวๆ พิคเจอร์เช่นเคยค่ะ






Create Date : 28 มีนาคม 2553
Last Update : 9 เมษายน 2553 20:02:47 น. 16 comments
Counter : 13563 Pageviews.

 
บี้ คุ้นๆชื่อ ครับน้องว่าน
บี้ เดอะสตาร์ อ้อ แปลว่า แมลงปอ

บล็อกวันนี้ เป็นความรู้ใหม่ของพี่สิน พี่ไม่เคยเห็นเลยนะ ชีวิต และการทำงานของชาวบ้านแบบนี้ พี่เคยเห็น ก็ตอนเป็นผ้าไหมแล้ว

ช่วงการซื้อผ้าไหม พี่ก็ไม่เคยทำ หากจะซื้อให้คุณแม่ ก็จะมอบเงินให้น้องสาวของพี่
คนที่อยู่บัณฑิตวิทยาลัย ม.ศิลปากร อยู่ชั้นสอง อาคารด้านหลังอาคารมนุษยวิทยา นั่นละไปช่วยซื้อ เพราะพี่สิน ขาดศิลปะในการเลือกซื้อผ้าไหม

คุณแม่พี่ ชอบสวมผ้าไหมครับ ไปตรวจกับหมอ ไปทำบุญถวายเพล ไปเยี่ยมญาติ จะสวมผ้าไหมตลอด
แต่ระยะหลังๆนี้ คุณแม่จะไม่ยอมให้ซื้อผ้าไหมให้คุณแม่
คุณแม่บอกว่า มีเยอะแล้ว นุ่งไม่ทันแล้ว

ราคาของผ้าไหม แม้จะแพง พี่ว่าไม่น่าจะต่อราคาจากชาวบ้านผู้ขายนะครับ
เพราะอ่านจากบล็อกของน้องว่านแล้ว ทำไม่ได้ง่ายๆเลย
เห็นใจชาวบ้านมาก ว่าต้องเหนื่อยและอดทนจากอาการปวดเมื่อยแขนขาและสายตา

ชีวิตชาวบ้านที่ถ่าย ดูธรรมชาติมาก ดูแล้วสบายตา สุขใจ
แต่เกรงและหวั่นมากๆว่า จะมีคนสืบทอดภูมิปัญญาเหล่านี้จำนวนน้อย

เสียดายที่ไม่มีโอกาสพบน้องว่านครับ


ผ้าไหมของสมเด็จพระเทพ
//www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/kzx3o4-114a1e.jpg


//www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/kzx3k1-a1878a.jpg


โดย: yyswim วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:12:42:12 น.  

 
ิดูภาพแล้วทำให้คิดถึงย่าคิดถึงบ้านจังคับ

อยากกลับบ้านจัง


โดย: ฝนทอง วันที่: 29 มีนาคม 2553 เวลา:18:39:04 น.  

 
นั่งอ่านจนจบครับ น้องว่านเก่งครับ อธิบายละเอียดเข้าใจดี มีบางตอนที่ตกหล่นบ้าง (แต่น้อยมาก) อาจจะเนื่องด้วยภาษา ทำให้การสื่อสารไม่เข้าใจบ้าง

สาวไหม เรียกอีกอย่างว่า สาวหลอก เพราะรังไหมสีเหลืองทองนั้น ภาษาอีสานเรียกว่า ฝักหลอก เลยเป็นที่มาของคำว่า สาวหลอก ครับ

ไหมเส้นใหญ่ที่เป็นปอยเล็ก ๆ ในภาพนั้นได้จากการสาวไหมครั้งแรกอย่างเดียวครับ คือไยไหมจากรังไหมตอนแรกจะมีลักณะเป็นเยื่อนุ่ม ๆ ฟู ๆ เอาไปต้มแล้วสาวได้เส้นไหมเส้นใหญ่ พอเยื่อนุ่ม ๆ ฟู ๆ ออกหมดแล้วก็จะเป็นไหมเส้นเล็ก ทำสองรอบเหมือนที่น้องว่านเล่าให้ฟังนั่นแหล่ะครับ

ผลพลอยได้จากการสาวไหมอีกอย่างคือ ดักแด้ ที่อยุ่ในรังไหม ชาวบ้านเอามาปรุงกินเป็นอาหารได้อีกครับ โปรตีนสูงมาก ใน กทม. บางครั้งมีขานตามรถเข็นที่ขายแมลงทั้งหลาย (รถด่วน) เมื่อก่อนชาวบ้านกินบ้างทิ้งบ้าน แต่ตอนนี้ขายได้ครับ



โดย: newstar IP: 124.121.241.38 วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:20:35:43 น.  

 
ละเอียดทุกขั้นตอน เข้าใจง่าย
ที่สำคัญภาพสวยมากครับ


โดย: patarapol IP: 125.27.36.203 วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:14:15:19 น.  

 
แจ๋วไปเลยขอรับ ภาพประกอบสวย ๆพร้อมเนื้อหาครบถ้วนบริบูรณ์


โดย: จ๋อยขอรับ IP: 202.149.25.241 วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:21:46:00 น.  

 
ดีจังเลยได้เห็นคุณยายทอง
คิดถึงมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: นิ๊กกี้ IP: 110.164.234.193 วันที่: 11 สิงหาคม 2553 เวลา:17:43:24 น.  

 
ดีมากเลยนะคับ อ่านเพลินดี มีภาพประกอบด้วย จากเด็ก MJU


โดย: petch IP: 61.19.98.125 วันที่: 1 กันยายน 2553 เวลา:16:08:56 น.  

 
จะขออนุญาติ นำภาพบางส่วน ไปจัดทำหนังสือ ชื่อต้นทางงานสร้างสุขภาวะ : ทำเนียบ เครือข่าย สสส.บูรณาการ เมืองสุรินทร์ ต้องการภาพ เกี่ยวกับไหม ไปประกอบทำปก น่ะค่ะ ภาพของคุณสวยมาก และเห็นกระบวนการของการทำไหม ซึ่งก็เป็นอัตลักษ์ของเมืองสุรินทร์ ไม่ทราบว่า จะอณุญาตหรือเปล่า ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะคะ
linnet00@hotmail.com


โดย: ปู ภาวิณี คำเทียนทอง IP: 183.89.24.92 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:15:14:53 น.  

 
คุณภาวินีคะ บังเอิญภาพนี้เป็นภาพของคุณยายที่จังหวัดหนองบัวลำภู เกรงว่าถ้าเอาไปทำที่เมืองสุรินทร์ มันจะเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ของจริงน่ะสิคะ ^^"


โดย: มรกตนาคสวาท วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:18:22:26 น.  

 
อยากรู้สถานที่ไปถ่ายมาจังหวัดไรคะ

อยากรู้ข้อมูล..คร๊า

ช่วยตอบหน่อยนะคร๊า

เพราะต้องไปทำโครงการคร๊า

ช่วยหน่อยน๊าคร๊าอยากรู้จริงๆ..


โดย: น้องนุ๊ก IP: 124.122.92.23 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:10:40 น.  

 
แจ้งข้อมูลไว้ในข้อความแล้วนะคะ
ถ่ายที่บ้านโคกน้ำเกี้ยง ตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ค่ะ


โดย: มรกตนาคสวาท วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:56:48 น.  

 
ภาพสื่อความหมายและที่มาที่ไปดีมากเลยครับ


โดย: อาบอง IP: 223.206.120.25 วันที่: 14 เมษายน 2554 เวลา:13:43:38 น.  

 
รูปภาพสวยมากเลยค่ะ ตอนนี้กำลังหาภาพที่เกี่ยวข้องกับใยไหมไปทำเว็บไซด์ ไม่ทราบว่าจะขออนุญาตนำภาพบางส่วนของคุณไปใช้ได้หรือเปล่าคะ

lsps4@hotmail.com


โดย: ปภา IP: 101.108.9.138 วันที่: 27 กรกฎาคม 2554 เวลา:9:10:58 น.  

 
ภาพสวยมากเลยครับ ไม่ทราบว่าจะอนุญาตนำภาพบางส่วนไปเผยแพร่ได้รึป่าวครับ

kaiyoi_nara1@hotmail.com


โดย: pepercut IP: 101.108.184.167 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2554 เวลา:1:50:09 น.  

 
ยินดีค่ะ แต่ต้องอ้างชื่อผู้ถ่ายภาพ "มรกตนาคสวาท" และสถานที่ถ่ายภาพ คือ "บ้านโคกน้ำเกี้ยง อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู" ด้วยนะคะ
^^"


โดย: มรกตนาคสวาท วันที่: 27 พฤศจิกายน 2554 เวลา:21:35:37 น.  

 
พี่มาหยาเก่งจังเลยครับที่ถ่ายทอดวีธีชีวิตไทยได้ดีมากๆเลยครับแล้วผมก็ชอบคนเลี้ยงไหมมากคิดถึงคุณย่าจังเลยครับ แล้วตอนนี้ในตระกูลผมไม่เหลือคนทำไหมแล้วหะครับเคยเห็นคุณย่าทำเป็นคนสุดท้าย แต่ในหมู่บ้านก็ยังเหลือบางคนครับ...ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องผ้าไหมนะครับพี่มาหยา จากโจ ครับ...


โดย: รุ่งโรจน์ เรียนเพชร IP: 110.171.39.221 วันที่: 14 ตุลาคม 2555 เวลา:0:31:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

มรกตนาคสวาท
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




มายาแห่งมาหยา

ยินดีต้อนรับ...

สู่

บล็อกคนชอบถ่ายรูปฝีมือธรรมดาๆ
หน้าตาไม่ดี นิสัยไม่ดี
งานเยอะ ไม่มีเวลาพูดเล่นกับใคร
ไม่ประสงค์จะสนิทสนมกับคนแปลกหน้า




ผีเสื้อ
ชรัส เฟื่องอารมณ์



.....ผีเสื้อตัวน้อยน้อย
บินล่องลอยกลางพนาไพร
โผผินร่อนบินระเริงใจ
คลุกเคล้าดอกไม้ใจชื่นบาน



แสงแดดยามสายสาย
งามพร่างพรายต้องสายธาร
ฉาบทองเมื่อมองแสนตระการ
ผีเสื้อสุขสราญนะเจ้าเอย



***...ท้องฟ้าสีอำพัน
ผีเสื้อสุขสันต์มากเหลือ
เจ้าไม่คิดไม่ต้องหวัง
ดอกไม้ยังกูลเกื้อ
แสงแดดจุนเจือชีวี...



...อยากจะเป็นผีเสื้อตัวน้อย
บินล่องลอยเสรี
สีสันดุจอัญมณี
สุขใดหรือจะมีเช่นผีเสื้อ



***...ท้องฟ้าสีอำพัน
ผีเสื้อสุขสันต์มากเหลือ
เจ้าไม่คิดไม่ต้องหวัง
ดอกไม้ยังกูลเกื้อ
แสงแดดจุนเจือชีวี...



...อยากจะเป็นผีเสื้อตัวน้อย
บินล่องลอยเสรี
สีสันดุจอัญมณี
สุขใดหรือจะมีเช่นผีเสื้อ

... สุขใดหรือจะมีเช่นผีเสื้อ...




เพลงผีเสื้อ




งานที่มีการเขียนลงบน WEB SITE แล้วส่งผ่านอินเตอร์เนตนั้นถือว่าเป็น สิ่งเขียนซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของงานวรรณกรรม ดังนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (มาตรา 15) หากผู้ใดต้องการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน มิฉะนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (มาตรา 27) การดัดแปลงงานจากอินเตอร์เนตเป็นภาษาไทย จึงต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นการคุ้มครองอัตโนมัติ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้สร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ที่มาของข้อความ:เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา







New Comments
[Add มรกตนาคสวาท's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com