34.งานก่อสร้างบ้าน(5) : งานฐานราก ตอนที่ 2
วันที่ผมอัพบล๊อคนี้ ฐานรากก็แกะแบบพอดีครับ ก็เลยรวบรวมรูปมาลงเยอะเลยครับ สงสัยโหลดกันหนักแน่เลยเอิ๊กๆ ไปดูรูปพร้อมกันเลยครับ

        หลังจากที่ขุดดิน เทลีน ตัดเข็ม ดีดเต๊าเรียบร้อย ก็ถึงเวลาสั่งเหล้กมาลงเพื่อทำฐานรากและคานชั้น 1 ครับ ผรม.จะสั่งเหล็กมาสองล๊อต โดยจะคำนวนให้เพียงพอที่จะทำงาน ไม่สั่งเหล็กทั้งหมดมาลงทีเดียว เพราะกว่าจะทำถึงชั้นสอง เหล็กที่สั่งมารอจะเป็นสนิมพอดีครับ


รถส่งเหล็กมาแล้วครับ รอนานมากๆๆๆ ผรม.บอกแบบนี้ทุกไซต์ กรุงเทพ ตวจ. รถขนเหล็กจะมาช้าเสมอ...ส่วนเสาเข็มนั่นของที่อื่นนะครับ พอดีรถขนรับหลายจ๊อบ -__-" ไม่แปลกเลยที่จะมาช้า


เอามาลงตรงเสาเข็มที่ตัดเหลือไว้ เพื่อไม่ให้โดนดิน เนื่องจากไอดิน จะทำให้เหล็กเป็นสนิมง่ายขึ้น


ตรวจสอบเหล็ก มี มอก.ทุกเส้น โดยเขาจุผูกใบนี้มาทุกม้วน ถ้าไม่มีต้องเรียกเลยครับให้เขาเอามาให้ ถ้าไม่มีอีก ก็บอกเลยไม่เอาครับ ให้ ผรม.เอาเหล็กที่มี มอก. ไม่งั้นก็ไม่รัยเหล็กล๊อตนั้นๆ


มาเชคใกล้ๆที่ตัวเหล็กอีกที ดูรอยพิมพ์ที่เหล็ก ว่าตรงกับป้าย tag ข้างบนหรือไม่ เคสนี้ตรงครับ ผ่านโลดด (เรื่องพวกนี้อย่าหาว่าเวอร์นะครับ ช่วงที่ผมอัพบล๊อกนี้ ข่าวเหล็กปลอมกำลังระบาดเลยครับ ออกข่าวสามมิติด้วย ดังนั้นการตรวจสอบต่างๆสำคัญมากครับ)


จากนั้นก็คลุมเก็บให้เรียบร้อยครับ บางไซต์อาจทำหลังคาคลุม ถ้าไม่มีหลังคาก็ต้องคลุมแบบนี้ให้มิดชิดเลยครับ ผรม.บอกว่าตอนกลางวันให้เปิดออกด้วย เพราะมันร้อน ไอดินมันระเหยเป็นหยดน้ำมาเกาะผ้าใบ โดนก็ทำให้เป็นสนิมได้เหมือนกัน สรุปคือต้องเปิดๆ ปิดๆตลอด รอบคอบดีครับ

หลังจากเอาเหล็กมาลงแล้ว ก็ทำการดัดและผูกเหล็กเพื่อทำตะกร้อ หรือฐานรากนั่นเองครับ โดยก็ต้องใช้เหล็กตามที่วิศวะออกแบบมาครับ เรามาสารถเชคได้เลยจากการผูกว่าเขาผูกตามแบบหรือไม่


เครื่องดัดเหล็ก ผรม.บอกซื้อมาใหม่เลย เพื่อไซต์ผมโดยเฉพาะ เพราะไซต์อื่นของ ผรม.ยังต้องใช้ รอไม่ได้ ซื้อใหม่โลด ช่างบอกว่าตัวนี้ใหม่มาก ยังไม่ชินเลยครับเหอๆ แต่บอกว่าใช้ง่ายมาก


ดัดแล้วจะเป็นแบบนี้ จะเห็นว่าใช้เหล็ก DB16 6x9 และมีเหล็กปลอกกลม 9mm. รัดรอบ ตามแบบแป๊ะๆ

จากนั้นก็เอาลงหลุมฟุตติ้งที่ขุดไว้ และทำการตีแบบฟุตติ้ง ก่อนเอาลงหลุมก็ต้องขึงเอ็นอีกรอบ เพื่อหาตำแหน่งเสาตอหม้อให้ตรงตามแบบ ทุกขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดจริงๆ เชคแล้วเชคอีก 

จากนั้นก็ทำการเข้าแบบ โดยแบบที่ ผรม.นี้เลือกใช้เป็นแบบเหล็กครับ ข้อดีของแบบเหล็กคือติดตั้งง่าย ผิวเรียบ แกะแบบง่ายกว่าแบบอิฐ และไม่มีการดูดน้ำจากปูนเหมือนแบบอิฐครับ(ถ้าใช้แบบอิฐ ต้องไล้ปูนด้านในก่อน และพรมน้ำให้ชุ่ม) ส่วนเหล็กตอม่อ ก็ต้องล๊อคให้แน่น เพื่อกันเสาโคลงเวลาเทปูน


ตีเข้าแบบ จะเห็นว่ามีลูกปูนรองทุกด้าน เพื่อกันเหล็กโผล่ครับ ผรม.บอกว่าเหล็กต้องลึกจากขอบปูนอย่างน้อย 2.5 cm. ตีไม้ล๊อคคอเสาตอม่อ


เสากลมครับ

ตีแบบเสร็จ ทีมหัวหน้าผรม.กับวิศวะของบริษัท ก็ตจะมาเชคอีกทีครับ เรียกว่า Double check กันเลยทีเดียว ว่าเหล็ก ตอม่อ แนวเสาตรงตามแบบหรือไม่ ถ้าทุกอย่างโอเค ก็สั่งปูนได้เลย


รถปูนมาแว้ว ใช้ของ CPAC ครับ

เหมือนเดิมครับ ต้องขอดูใบส่งปูนด้วยครับ ว่าเอามาตรงตาม Spec ที่ต้องการไหม เอามาจาก Plant ไหน ผลิตกี่โมง ปูนผสมเสร็จนี้ต้องใช้งานภายในสามชั่วโมงนะครับ ดูเวลาที่ผลิตกับหน้างานว่าห่างกันกี่ ชม. ถ้าเกินสามชั่วโมง เปลี่ยนเลยครับ..อ้าว แล้วใครรับผิดชอบ..ผรม.บอกว่าต้องดูว่าช้าจากอะไร ถ้าออกจาก Plant เร็ว แต่ช้าเพราะรถปูนเอง ทาง บ.ปูนต้องรับผิดชอบ แต่ถ้ามาถึงไซต์เร็ว แต่ติดที่หน้างานเพราะยังทำแบบไม่เสร็จ หรืออะไรก็ตาม ผรม.ก็ต้องรับผิดชอบไปครับ


ใบนำส่งปูน ตาม spec 240 kk/cm ออกจาก plamt บ่ายสามกว่าๆ ตอนที่มาถึงไซต์ราวๆ สี่โมงครับ ใช้ได้เลย

จากนั้นก็นำไปเทลงตามแบบครับ 

เอ้า ช่วยกัน เจ้าของบ้านมาดูแล้ว.. อันนี้พี่ช่างเสื้อฟ้าบอกเลยครับ แถมบอกอีกว่า คุณหมอจะเอาไปลงเวป แน้ๆ รู้ได้ไงเนี่ย..หรือว่าแอบอ่านบล๊อคเราหว่า


จุดที่อยู่ไกลๆ ก็ใช้เครนยกถังไปเทครับ ไม่ต้องหิ้วถังปูนให้เหนื่อย


เมื่อเทลงแบบ ต้องใช้เครื่องมือที่ช่างเรียกกันว่า "วาย"  มาจากคำว่า Vibrator หรือเครื่องจี้ปูนนั่นเองครับ เนื่องจากปูนที่เทลงไปจะมีความหนืด ถ้าไม่ใช้เครื่องสั่นอันนี้ปูนจะลงไปกองเป็นหย่อมๆ ซึ่งทำให้เป็นปูนโพรงครับ เครื่องนี้จะช่วยกระจายเนื้อปูนให้ทั่วๆ 


ที่ลูกศรชี้นั่นหล่ะครับ วาย หรือ ไวเบรเตอร์ เครื่องจี้ปูน เป็นงวงๆ ยาวๆ จิ้มๆลงไปในปูน


เสร็จแล้วก็ปาดผิวหน้าให้เรียบ

 แล้วก็รอครับ รอ 48 ชั่วโมง เพื่อแกะแบบออก แล้วก็บ่มปูนต่อด้วยวิธีใช้พลาสติกบ่มครับ วิศวะบอกว่าวิธีใช้พลาสติกเป็นวิธีที่ดีทึ่สุดในการบ่มปูน เนื่องจากกันน้ำออกจากปูนได้ดี(ถ้าพันดีนะ) เวลาน้ำปูนไหลออกมา ก็ถูกขังอยู่ด้านใน แดดที่ส่องลงมาก็อบร้อน ทำให้ปฏิกริยาปูนดีขึ้น ส่วนการบ่มด้วยน้ำยา จริงๆก็ดี แต่ว่าขึ้นกับคนทาด้วย ถ้าทาไม่ดี ก็ไม่ทั่วถึง การบ่มที่ห่วยสุดคือรดน้ำ โปะกระสอบ เพราะต้องรดน้ำทุกๆ สองสามชั่วโมง แล้วช่างที่ไหนจะทำตลอดทั้งวันล่ะครับ

แกะแบบ พันพลาสติกบ่มปูน ส่วนผิวหน้าก็ทาด้วยน้ำยาบ่มไปครับ พื้นที่เล็กๆ ทาครบทั่วถึง


ลายสีเข้มๆ ก็คือน้ำปูนครับ ภาษาช่างเรียก "เหงื่อ" ปูน โดนพลาสติกกักเอาไว้


น้ำยาบ่มปูน ยี่ห้อจรเข้ เห็นตามบล๊อคอื่นๆใช้ถังเหลือง SICA กัน ผรม.บอกเหมือนกันแหล่ะครับ แค่คนละยี่ห้อ

หลังจากแกะแบบก็ต้องตรวจปูนครับ ว่าเรียบร้อยดีไหม มีโพรงอะไรให้เห็นไหม มีเหล็กโผล่ออกมาไหม ถ้ามีต้องแก้ครับ โดยใช้ปูนซีเมนต์ซ่อมโดยเฉพาะ แก้ไม่ได้ หรือปูนเสียหายเยอะก็ต้องทุบ เทปูนกันใหม่ครับ ดังนั้นงานฐานราก ถ้า ผรม.ใส่ใจแต่แรก ก็ไม่ต้องทุบใหม่ เสียเวลาไปอีกครับ

ของผมมีผิวกระเทาะเล็กน้อย ไม่ถึงเหล็ก มีอยู่ 7 จาก 54 ฐาน แต่ดูแล้วไม่เสียหายเยอะมาก ก็ใช้ปูนซ่อมเอาก็พอครับ


หน้าตาซีเมนต์ซ่อมโครงสร้าง ต้องใช้ตัวนี้นะครับ ไม่ใช่เอาปูนเขียว หรือปูนฉาบมาซ่อมนะครับ ผิดเลยแบบนั้น

การทำฐานรากก็จบแล้ว ต่อไปก็เตรียมหล่อตอม่อ และคานคอดิน รวมถึงคานชั้น 1 แล้วครับ คงใช้เวลาอีกสักเดือนเลยครับกว่าจะเสร็จ ตรงไหนมี Point น่าสนใจ ผมจะเอามาลงให้เรื่อยๆนะครับ




Create Date : 06 มีนาคม 2557
Last Update : 25 พฤษภาคม 2557 0:29:52 น.
Counter : 21955 Pageviews.

5 comments
  
ดูผลงานของผรม.งานเนี้ยบดีและทำถูกต้องตามหลักการก่อสร้างที่ดีด้วย พอแนะนำชื่อผรม.ได้ไหมค่ะ สนใจติดต่อให้มาสร้างบ้านให้บ้างค่ะ

consultant ของเรามาตรวจงานรั้ว 3 ครั้งแล้ว ยังต้องมีการแก้ไขระดับพื้นรั้วกันดินก่อนเทลีน และการผูกเหล็กที่ไม่ถูกต้องตามแบบรั้วที่วิศวกรออกแบบไว้เลยค่ะ เริ่มปวดหัวแล้วซิค่ะ

ผรม.ของเราใช้เหล็กเส้นที่มีมอก.และใบรับรองมอก.อย่างเดียว แต่ไม่มีบกส.ปั๊มบนเหล็กเส้น ไม่รู้ว่ามีความแตกต่างกันมากไหมค่ะ ผรม.อ้างว่าเหล็กบกส.สั่งซื้อยาก จริงหรือค่ะ

ส่วนปูนผสมเสร็จจากโรงงานปูน ผรม.ใช้นกอินทรีย์ แต่ใจจริงของเราอยากใช้ CPAC จัง ไม่รู้ว่าคุณภาพจะแตกต่างกันมากไหมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดย: ML IP: 171.7.95.46 วันที่: 8 มีนาคม 2557 เวลา:7:21:44 น.
  
เรื่อง ผรม. ผมต้องดูกันยาวๆอ่ะครับ นี่งานเริ่มไม่ถึง 5% เลย ไม่กล้ารับรองใดๆทั้งสิ้นครับ กลัวแนะนำไปแล้วทำออกมาไม่ดีแล้วจะมีปัญหา

ส่วนเหล็ก บกส.ย่อมาจาก บริษัทเหล็กก่อสร้างสยามแหล่ะครับ ถ้าไม่ปั๊มแสดงว่าไม่ได้ซื้อของ บกส. ก็ไม่น่าแปลก แต่มี มอก. และรอยปั๊มนุนระบุชนิด ขนาดเหล็กก็พอครับ โรงงานเหล็กในไทยที่มาตรฐาน มอก.มี 20 โรงมั๊งครับ ส่วนซื้อยากหรือเปล่าไม่ทราบเลย เพราะ ผรม.จัดมาเอง (จริงๆโรงงานอยู่ระยอง ใกล้ๆเลย แต่ว่าสั่ง direct จาก โรงงานไม่ได้ เพราะสร้างบ้านเดี่ยว ใช้เหล็กน้อย โรงงานไม่ส่ง)

ส่วนปูน ถ้าเจ้ามียี่ห้อ ที่ไหนก็เหมือนกันครับ อินทรี นั่มเฮง CPAC แต่ ผรม.ผมเองก็บอกว่าไว้ใจ CPAC มากสุดนะ บอกว่าผลทดสอบลูกปูนออกมาดีกว่าเจ้าอื่นๆ แต่เจ้าอื่นก็ได้มาตรฐานนะครับ แต่อาจ strength น้อยกว่า
โดย: Agent Molder วันที่: 8 มีนาคม 2557 เวลา:13:21:32 น.
  
ไม่ได้เข้ามานานเลย เทฐานรากแล้ว ตื่นเต้นแทนเลย

ชื่นชมความละเอียดมากเลยค่ะ แบบนี้ผรม.คงเกรงใจน่าดู
เอาใจช่วยให้งานราบรื่น เรื่องปวดหัวไม่มีนะคะ
โดย: หมีอ้วนกับหมูอวบ วันที่: 8 มีนาคม 2557 เวลา:21:13:02 น.
  
ผรม.มึงดีนะ ดูเนี๊ยบดี โชคดีจัง
ปล.อยากได้มั่ง
โดย: ไผ่ไผ่ IP: 192.99.14.34 วันที่: 17 มีนาคม 2557 เวลา:8:55:37 น.
  
เปิดมาเจอกำลังจะสร้างบ้านด้วยเงินก้อนสุดท้ายหลังเกษียณซึ่งเป็นประโยชน์มากขอบคุณมากครับ
โดย: สิทธิชัยอ้น IP: 101.108.99.58 วันที่: 20 พฤษภาคม 2558 เวลา:21:12:17 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Agent Molder
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 381 คน [?]



มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog