Group Blog
 
<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
27 เมษายน 2559
 
All Blogs
 
ยูโด การซ้อมและมุมมอง (ตอน สายสี-สีสาย) ตอนที่4 "เรื่องของสายยูโด"


ประเด็นวันนี้ ละเอียดอ่อน.... ผมไม่รู้หรอกว่าแต่ละประเทศเค้าแบ่งระดับสายกันยังไง สีอะไร แต่จุดประสงค์ของสีสายน่าจะคล้ายๆกัน

สีสายคืออะไร? มันก็คือสีของสายที่เราใส่คาดเอวในชุดยูโดนั้นแหละ ในไทยคิดว่าน่าจะเรียงตามนี้ ขาว เขียว ฟ้า น้ำตาล น้ำตาลปลายดำ ดำ แดงขาว และแดง ในส่วนของญี่ปุ่นที่โคโดกังจะเป็น ขาว-54321คิว (น้ำตาล) ดำ12345ดั้ง แดงขาว678ดั้ง และแดง9-10ดั้ง

(น้ำตาล) มีวงเล็บเพราะผมรู้สึกว่ามันเพิ่งจะโผล่เข้ามาตอน2014 (ถ้าจำไม่ผิด) ใช้สำหรับท่านที่อยู่ในระดับ3-1คิว

เอาเท่าที่ผมเรียนรู้มาละกัน ผิดถูกขออภัย (จำเค้ามาอีกที) จุดประสงค์ในการแบ่งระดับสายนั้นเพื่อจุดประสงค์ในการฝึกซ้อม

จุดประสงค์ที่ว่านี้ มีหลายอย่าง
- ง่ายในการที่เซนเซทำการสอนและอธิบายเนื้อหา
- สะดวก รวดเร็วในการแบ่งกลุ่มฝึกซ้อม
- ปลอดภัยในการซ้อมโดยเฉพาะในส่วนของรันโดริ

ในระดับคิว - เซนเซหรือคู่ซ้อมที่อยู่ในสายที่สูงกว่าจะสามารถประเมินคร่าวๆถึงความสามารถทางยูโดของระดับสายที่ต่ำกว่า ทำให้การซ้อมมีประสิทธิภาพและเนื้อหาจะเหมาะสมเข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับตัวผู้เรียนเอง

ในระดับดั้ง - เข้าใจให้ตรงกันก่อนครับ (ส่วนใหญ่น่าจะรู้แล้ว) คำว่าโชดั้ง 初段 หรือสายดำขั้นที่หนึ่ง ความหมายคือการเริ่มต้น อย่าเข้าใจผิดที่ว่าพอมึงสายดำแล้วมึงจะกลายเป็นปรมาจารย์ทันที! แท้จริงแล้วคือการเริ่มต้นของยูโด เริ่มยังไง??

ที่โคโดกัง (ไม่ได้เป็นกฏแต่ว่าเค้าทำๆกันมาแบบนี้) ระดับคิว คือการเรียนรู้พื้นฐานต่างๆของยูโด เพราะยูโดสำคัญที่พื้นฐาน ท่าที่เรียนก็คือท่าพื้นฐานการทุ่มทั่วไป คุสุชิ สกุริ คาเคะ เรียนการใช้แรงใฟ้ถูกที่ถูกทาง เรียนการสร้างภาชนะจากถ้วยเล็กๆให้เป็นชาม จากชามเป็นขัน และต่อๆไปเพื่อขยายเป็นกาลามังและตุ่ม เพื่อที่จะเอาภาชนะนี้ไปรองรับเทคนิคท่าในระดับที่สูงขึ้น ท่าที่เรียนจะพื้นๆ เน้นความถูกต้องของตัวท่า เน้นความปลอดภัยของตนเองและคู่ซ้อม จริงอยู่ท่าทุ่มหนึ่งท่ามีหลายรูปแบบ หลายจังหวะ ระดับคิวจะเรียนพื้นฐานเรียนแบบทั่วไป แต่ถูกต้องทางทฤษฎีและปฏิบัติ บางคน(รวมทั้งผม) มีความรู้สึกว่าเรียนไปทำไมวะ ท่าถูกแต่ทุ่มจริงไม่ได้ จังหวะทุ่มก็ไม่มี แท้จริงแล้วสิ่งที่เรียนเหล่านี้เป็นแม่แบบพื้นฐาน เหมือนกับการสร้างบ้านสร้างตึก ก่อนอื่นเราต้องถมที่ให้ฐานมั่นคง ตอกเสาเข็มให้มั่นคง ก่อนที่จะขึ้นเป็นรูปร่างสูงขึ้นไป พื้นฐานของยูโดก็เช่นกัน ไอ้สิ่งที่บอกว่าเรียนแล้วท่าถูกแต่ใช้ทุ่มจริงไม่ได้ ตอบได้สั้นๆง่ายๆว่า "มึงอ่อน" ฝึกซ้อมเข้าไม่ถึงแก่นของมัน

จุดนี้ด้านมืดจะเข้ามาหาเราทั้งแบบไม่รู้ตัว หรือจงใจยอมรับมัน นั้นคืออยากข้ามขั้นตรงนี้ อยากทุ่มชาวบ้านเค้าได้บ้าง ระดับคิวอย่างเราๆเลยไปขึ้นทางด่วน ไปรับเอาของที่มันอยู่ระดับสูงขึ้นไป ด้วยเหตุผลเดียวกันคือความทะเยอทะยานอยากทุ่มชาวบ้านได้จนตัวสั่น ตัวอย่างด้านมืดในระดับคิวที่เจอบ่อย
- กูโต กูอ้วน กูหนัก เอาน้ำหนักตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ซิ ท่าตระกูลมากิเป็นคำตอบที่ชัดเจน เช่น มากิโกมิ ฮาไรมากิโกมิ โอโซโตมากิโกมิ อุจิมาตะมากิโกมิ อะไรก็ได้จับหนีบแล้วทิ้งตัวกลิ้งๆลงไป...ทำไมอะก็กูตัวโตอะ ท่าทิ้งตัว ทิ้งเข่า ขนกันออกมาใช้ให้หมด เซโอนาเกะทิ้งเข่า อิปปงทิ้งเข่า ทานิโอโตชิ ตัดหลังและอื่นๆ
- จับคอเสื้อด้านหลัง อะไรไม่รู้จับหลังไว้ก่อนด้วยเหตุผลที่ว่าคู่ซ้อมทำไรเราไม่ได้ แล้วเราน่าจะเข้าท่าติดได้ง่าย
- ท่าสลับฝั่ง เพราะคู่ซ้อมไม่รู้ว่ามันจะมาอีกฝั่ง ใช้มั่วทุ่มง่าย ปลอดภัยมั้ย? ไม่ได้คิดทุ่มไปก่อน ทุ่มแล้วกูจะถูกมองว่าเก่ง เอาแต้มไว้ก่อน (ไอ้ห่าตอนซ้อมมันไม่มีแต้ม)

ทำไมไม่คิดกลับซะบ้าง (จริงๆมันคือการคิดแบบปกติไม่ได้คิดกลับกัน พวกที่ขึ้นทางด่วนต่างหากละที่สมองกลับกัน)
- มากิโกมิไม่ต้องเรียนไม่ต้องซ้อมก็ใช้ได้ ในเมื่อไม่ต้องเรียนแล้วจะมาเรียนมาซ้อมทำไม? ฮาไรโกชิใช้จนมันทุ่มได้ถ้าจะปรับมาเป็นมากิมันก็ง่าย! แต่มากิมาตลอดถึงเวลากลับตัวกลับใจจะทุ่มฮาไรมันยาก!!
- จะคอเสื้อปกติจนชินออกท่าได้ พอเปลี่ยนเป็นจับคอเสื้อด้านหลังมันง่าย! จับแต่ด้านหลังจะใช้ท่าต่อเนื่องหรือจับแบบปกติแล้วหาจังหวะทุ่มมันยาก!!
- ท่าสลับฝั่งทุ่มได้เพราะคู่ซ้อมไม่รู้ พอเจอคู่ซ้อมที่รู้ทุ่มได้มั้ย? จะทุ่มแบบปกติก็ทำไม่ได้แล้วเพราะไม่รู้จักแนวแรงและไม่รู้จักการเอาไทซาบากิมาใช้

ด้วยเหตุผลข้างต้นนักเรียนระดับคิวจึงต้องเรียนและฝึกซ้อมในส่วนของท่าพื้นฐานทั่วไป และไม่ได้ไปแตะในส่วนของท่าทิ้งตัว ยกเว้นโทโมนาเกะท่าเดียวที่อาจารย์โคโดกังถ่ายทอดให้กับนักเรียนระดับคิว

สายดำดั้งแรกคือการเริ่มต้น การเริ่มต้นที่ว่านี้คือ การที่เราค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม ลงลึกไปในท่าที่ชอบ เริ่มต้นศึกษาท่าทิ้งตัว เริ่มต้นที่ละนิดกับการค้นคว้าที่จะทำให้เราใช้แรงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ใครที่คิดกว่าพื้นฐานแน่นพอแล้วก็จะไปลงลึกเรื่องชิงจับ เรื่องความหลากหลายของท่าทุ่มที่ในหนึ่งท่าสามารถเข้าได้หลายจังหวะ เข้าสลับฝั่ง และค้นหาจุดอ่อนของท่าทุ่มตนเอง

ถัดมาเรื่อยๆ 2-3-4-5 พอถึงดั้ง6-10 ตรงนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ว่าจะใส่สายอะไร ระหว่างดำ กับ สายแดงขาว สายแดง โคโดกังวัฒนธรรมญี่ปุ่นเต็มตัว ในเรื่องของความอ่อนน้อมถ่อมตน และเรื่องของความเท่าเทียมกัน อาจารย์แต่ละท่านจึงคาดสายดำทั่วไปในการฝึกซ้อมหรือแม้แต่การสอนท่านก็จะใส่สายดำทั่วไป นอกเสียจากว่าจะมีงานเฉลิมฉลองหรืองานอะไรที่เป็นพิธีการถึงจะใส่สายตามสีระดับชั้นออกมาให้เห็น

สมัยก่อนปี2014 ตอนที่ผมซ้อมที่โคโดกัง ปีนึงจะเห็นแค่ครั้งหรือสองครั้งเท่านั้นที่เซนเซจะคาดใส่สายแดงขาวหรือสายแดงในชุดยูโด แต่หลังจากปี2014 คิดว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก ทำให้การซ้อมที่เป็นพิธีการ หรือการซ้อมที่เปิดกว้างระดับอินเตอร์ (มีชาวต่างชาติเข้าร่วม)เซนเซถึงคาดสายแดงขาว ออกสอนและซ้อม แต่เซนเซระดับอาวุโสก็ยังติดที่จะคาดสายดำในชุดยูโดอยู่ดี (ก็ใครจะกล้าไปบอกให้เซนเซเหล่านั้นคาดสายแดงขาวละครับ เดี๋ยวจะโดนไม่ใช่น้อย)

เนื้อหาเรื่องสายในวันนี้ ไม่ได้เตรียมตัวที่จะเขียนขึ้น แต่เพราะไปดูคลิปวิดีโอคลิปนึงที่โอคาโน่เซนเซไปสอนยูโดที่ต่างประเทศ (ฝรั่งเศสมั้ง) แล้วมันสะกิดขึ้นในใจนิดนึง แรกๆคิดว่ารู้สึกคนเดียว แต่พอรุ่นพี่ที่โคโดกังเห็นคลิปนี้ก็รู้สึกเช่นกัน ... วัฒนธรรมที่แตกต่าง สิ่งที่ดำเนินปกติในสถานที่นึงอาจจะกลายเป็นเรื่องแปลกในอีกสถานที่นึง



Create Date : 27 เมษายน 2559
Last Update : 27 เมษายน 2559 23:22:20 น. 0 comments
Counter : 3024 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.