Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
24 ธันวาคม 2559
 
All Blogs
 
อบรมยูโด Olympic solidarity with kodokan sensei (second day)



อบรมยูโด Olympic solidarity with kodokan sensei (second day)

ช่วงเช้าเป็นส่วนของท่ายืน
วอร์มอัพ
ท่าวอร์มเหมือนกับเมื่อวาน เน้นเรื่องต้นขา และการย่อเข่า การซ้อมแบบญี่ปุ่นส่วนใหญ่จัดคอร์สแล้ว จะพยายามลิงค์ให้เนื้อหามันต่อกันตั้งแต่พื้นฐานไปถึงเทคนิคต่างๆ

โอคุริอาชิบารัย (นัมโบเซนเซ)
- โอคุริแบบที่ใช้ในนาเกะโนะกาตะเป็นแบบขยับออกด้านข้าง
- เซนเซหยิบเอามาซ้อมเป็นแบบดันหุ่นถอยหลัง กับแบบหมุนเป็นวงกลม
- ถ้าเดินขาพร้อมกับหุ่นจะปัดไม่ได้ แต่ถ้าก้าวก่อนที่จะปัด เราก้าวใหญ่หน่อยจะปัดได้
- ช่วงปัดอย่างอท้อง ให้ส่งแรงจากสะโพกออกไป
- ปัดให้เน้นไปที่ขาด้านใน (ไม่ใช่ขาแรกที่เราปัด) แต่เราต้องปัดขาแรกโดยเน้นเป้าหมายขาสอง
- ท่าขา ทั้งหมดมือต้องมีคุสุชิ ท่านี้ก็เช่นกัน


โซเดทรึริโกมิโกชิ (นัมโบเซนเซ)
- ใช้เป็นแบบขวาจับขวา หรือซ้ายจับซ้าย
- การหมุน หมุนกลับฝั่ง โซเดคือแขนเสื้อ จับแขนเสื้อแล้วหมุน มือฝั่งที่จับแขนเสื้อ มีสองแบบ แบบดันศอกขึ้น (แบบที่เซนเซใช้) กับแบบตีศอกออกข้าง ตรงนี้แล้วแต่ความถนัด
- มือข้างที่จับคอ ลอดใต้รักแร้ ยังคงดึงคุสุชิตลอด
- ท่านี้ปล่อยให้สะโพกปลิ้นออกไปหน่อย ใช้สะโพกเป็นตัวเบียด
- ตอนทุ่มดูทิศทางของขาหุ่นด้วย ต้องวางและหมุนเข้าไปให้ขาหุ่นวางขนานกัน (ไม่ใช่ให้หุ่นวางขานึงนำ)


ไทโอโตชิ (ซาเมชิม่าเซนเซ)
ต่อจากเมื่อวาน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น แบบที่สามของเมื่อวานแยกออกเป็นสองแบบ กลายเป็นแบบที่สามกับสี่ ไล่ลำดับกันขึ้นไป เมื่อวานก็จะเรียนไปหกแบบ (ไม่นับแบบที่ศูนย์) วันนี้เรียนต่อแบบที่7-10

แบบที่7
คล้ายกับแบบที่หก เพียงแต่แบบหกจะเป็นกึ่งคล้ายๆกับเกี่ยวโอ แต่ไม่ได้เกี่ยวโอแค่แตะเฉยๆ ส่วนแบบที่เจ็ดคือการเกี่ยวโอมากหน่อยแล้วใช้ไทโอ สเต็ปการเข้าไทโอเป็นแบบสองสเต็ป เพราะขาแรกเราใช้เกี่ยวไปแล้ว

แบบที่8
ใช้โอโซโตการิ (ก็ไม่เชิงโอโซโตเป็นคล้ายๆกับอาชิกุรุม่า) เอาขาไปแปะไว้ จากนั้นกระโดดเข้าไป โดดได้แค่ครั้งเดียว ขาที่โดดเข้าไปเป็นขาสอง แล้วเสียบขาสามออกไป

แบบที่9
ใช้สเต็ปหลอกแบบอาชิกุรุม่าที่เรียนมาเมื่อวานนี้ แต่สเต็ปหนึ่งกับสองหายไปละ วางขาหลอกแล้วเสียบขาสเต็ปสามได้ทันที

แบบที่10
ไทโอเข้าไปแล้ว หุ่นต้านด้วยการย่อเข่าทิ้งน้ำหนักฝืนเอาไว้ เปลี่ยนจากไทโอเป็นโออุจิการิ

ทั้งสิบแบบที่เรียนรู้ซ้อมกันไป คนที่ถนัดทั้งหมดไม่มี แล้วคนที่จะใช้ได้ต้องมำแบบที่ศูนย์ให้ได้ก่อน ส่วนแบบอื่นๆ เลือกดูหาตัวตนความถนัดของตนเองให้ได้

ช่วงบ่ายเป็นเนวาซะ
ท่าวอร์มมีหลากหลายแต่เซนเซเอาสิ่งสำคัญหลักๆมาให้วอร์ม
- เอบิ
- เกียกุเอบิ
- วากิชิเมะ

เอบิกับเกียกุเอบี มีอย่างละสามแบบ แบบขาบนถีบ แบบขาล่างถีบ กับแบบใช้สองขาถีบ จะทำแบบไหนไม่ผิด ในแต่ละแบบมีวิธีการใช้กับใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แบบที่ใช้บ่อยสุดของเอบิ คือแบบที่ใช้ชาบนเป็นตัวถีบ ส่วนเกียกุเอบิเป็นแบบสองขา

ท่าวากิชิเมะ เน้นเรื่องการบิดข้อมือกับขาที่แยก โดยการกดแรงลงที่ปลายนิ้วโป้งทั้งสองข้าง สุดท้ายคือการดันหน้าอกขึ้นทิ้งน้ำหนักลงท้อง

โอบิโทริไคเอชิ (ซาเมชิม่าเซนเซ)
(นอกเรื่องแป็บ ท่านี้เห็นทีไรคิดถึงเซนเซที่โดโจของอำเภอ เคยเรียนกับเซนเซแปดดั้งท่านนี้มาสองท่า ท่าโอบิโทริไคเอชิกับท่าคุซะการิ)
- เริ่มจากท่าโอบิโทริไคเอชิแบบใช้ตอนยืน มือที่จับคอเสื้อกระตุกลง พอหุ่นก้มเอามือไปจับสายรัด เซนเซเน้นเรื่องคุสุชิ คุสุชิของท่านี้คือการกดลง กดโดยใช้ท่อนแขนและข้อศอก แขนที่จับสายรัด กดลงไปตรงแกนกลางลำตัว
- จับให้หุ่นก้มลง อย่าไปเขย่งเพื่อจับสายรัดของหุ่น
- อีกมือโอบลำตัวผ่านทางรักแร้ จับให้กระชับทั้งสองแขน คุสุชิยังทำอยู่ด้วยการกดลง
- ขาที่อยู่ข้างหน้าสืบเท้าเข้าไป แล้วขาอีกข้างวางเข้าไปใกล้กับขาแรก แล้วใช้ขาแรกในทางเตะขึ้นไป
- จุดที่เตะ คนทุ่มใช้ข้อเท้าเป็นตัวล๊อคไปที่อุเกะบริเวณเข่าด้านข้าง
- เตะพร้อมกับหมุน หลักการหมุนของท่านี้ต้องทำตัวติดกันเป็นลูกบอล จะได้กลิ้งไปพร้อมกัน
- กลิ้งครบรอบจะอยู่คร่อมบนตัวหุ่น มือที่จับสายไม่ต้องใส่ปล่อย เป็นการคุมแกนกลางของหุ่นจะทำให้ดิ้นได้ไม่สะดวก

โอบิโทริไคเอชิ แบบที่ใช้ตอนนอน
- คนใช้นั่งหงายขึ้น ดึงเหมือนกับท่ายืน กดแกนกลางเหมือนกัน
- ช่วงที่จะถีบขึ้นไป ต้องเขยิบก้นเข้าไปคืบนึง เขยิบแล้วตัวกลมเป็นลูกบอลอาศัยแรงที่อยู่ประชิดกัน เตะส่งหุ่นหมุนพลิกไปพร้อมกับตัวเราที่ตีลังกาตามไป
- จุดที่ขาปะทะเข้าไปเหมือนกับรูปแบบท่ายืน

ฮิกิโกมิไคเอชิ (ซาเมชิม่าเซนเซ)
- เป็นการใช้แบบบิดออกข้าง มีทั้งแบบท่ายืนกับท่านอน
- ท่ายืนกดตัวหุ่นให้ก้มลง มือสอดเหมือนกับท่าโอบิโทริไคเอชิ
- แทนที่จะเตะ กลายเป็นขาวางออกข้างแล้วบิดตัวหมุนด้านข้าง

ฮิกิโกมิแบบท่านอน
- หุ่นอยู่ในท่าเต่า มือนึงจับสาย อีกมือสอดผ่านรักแร้แล้วเอาไปประกบกับแขนที่จับสาย ดึงแขนสองข้างให้กระชับ
- หุ่นออกแรงต้านไม่อยากจะพลิกขึ้นมา
- เอาแรงต้านตรงนั้นเปลี่ยนไปทิศทางเดียวกันกับแรงต้าน พลิกหมุนตัวไป
- ทิศทางของการดึงให้พลิก อยู่ตรงแนวไหล่หรือเฉียงๆ45องศาไปทางด้านหลัง
- พลิกไปแล้ว เราต้องรีบหมุนวนไปกันไม่ให้หุ่นพลิกต่อไปจนเกินรอบ ช่วงที่หมุนวนไปกั้นพยายามกดให้เรียบอยู่บนตัวหุ่น อย่าให้มีช่องว่างเยอะ ถ้ามีช่องว่างหุ่นอาจจะหนีโดยการดันขึ้นด้านบน

โอคุริเอริจิเมะ (ซาเมชิม่าเซนเซ)
- เชือดใช้กับตอนที่หุ่นเข้าอิปปงเซโอนาเกะมาแล้วไม่ติดทิ้งตัวคว่ำลงบนพื้น
- มือโทริอยู่บริเวณคอเสื้อ
- กดหุ่นลงพร้อมกับดึงหุ่นมาทางเฉียงหน้า (ดึงถอยลงเฉียงหลัง) ช่วงดึงคือการทำคุสุชิ ระหว่างดึงเอาหน้าอกกดบริเวณหลังของหุ่นเอาไว้
- หมุนวนตามทิศทางของการเชือด

ทั้งสามท่าที่ซาเมชิม่าเซนเซสอนมา เป็นการเน้นย้ำท่านอนที่จะต้องมีการทำคุสุชิในทุกๆครั้งที่ใช้ ไม่ต่างกับท่ายืนที่การเข้าท่าทุกครั้งก็ต้องมีคุสุชิเช่นกัน

ท่ายืนกับท่านอนต่างกันตรงที่ท่ายืนหลังจากฝึกฝนแล้วยังต้องเรียนรู้จังหวะ ไทม์มิ่ง และองค์ประกอบหลายๆอย่างในการอ่านและสร้างจังหวะให้ลงล๊อค ส่วนท่านอนถ้าฝึกชำนาญแล้วสามารถเอาไปใช้ได้เลย องค์ประกอบในเรื่องของจังหวะจะน้อยกว่าท่ายืน

อุชิโร่เคซะกาตาเมะ (นัมโบเซนเซ)
- หุ่นนอนคว่ำ ขึ้นไปคร่อมบนตัวหุ่น
- เอาแขนขวาสอดผ่านรักแร้ด้านขวาของหุ่น ทะลุผ่านออกมาที่คอเสื้อฝั่งขวาของหุ่น แล้วโน้มตัวลงไปให้มือขวาจับคอเสื้อของเราเอาไว้
- หมุนตัววนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา จนสามารถใช้แขนซ้ายจับกางเกง บริเวณหลังเข่าหรือต้นขาขวาของหุ่น
- จับได้แล้วตีลังกาม้วนหน้าไป ตัวเราตัลังกาพลิกไปได้ ตัวหุ่นก็จะพลิกขึ้นมาเช่นกัน เพราะแขนขวาที่สอดเข้าไปมันค่อยๆเป็นเกลียวบังคับพลิกขึ้นมา
- พลิกแล้วจัดแต่งเป็นท่า อุชิโร่เคซะกาตาเมะ

โยโกชิโฮ (นัมโบเซนเซ)
- หุ่นอยู่ในท่าเต่า มาอยู่ด้านศรีษะของหุ่น ให้หุ่นอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรา
- มือขวาจับคอเสื้อหุ่นด้านหลัง มือซ้ายจับสายด้านหลัง
- ทำท่าอุเกมิม้วนตัวตบเบาะ (ม้วนขวา) ระหว่างเริ่มม้วน เปลี่ยนที่แขนขวาจากจับสาย เป็นล้วงเข้าเป้ากางเกงมา อ้อมมาจับสายรัดด้านหน้าของหุ่น
- ม้วนไปเป็นเส้นตรง ตามทิศทางตัวหุ่นจากหัวไปขา
- ช่วงที่ม้วนตัว มือซ้ายที่จับคอเสื้อด้านหลัง ดึงตามไป แรงในการม้วนจะดึงหุ่นให้พลิกขึ้นมา
- ม้วนแล้ว พลิกแล้ว ยากสุดและสำคัญสุดคือมันต้องพอดีกับเข่าขวาไปทับข้อศอกซ้ายของหุ่น
- ทับได้ มือที่อ้อมมาจับสายรัดด้านหน้าไม่จำเป็นแล้ว คลายออก หุ่นจะหนีไม่ได้ เพราะติดศอกที่ถูกกดไว้ ก็กดล๊อคโยโกชิโฮทันที

จูจิกาตาเมะ (นัมโบเซนเซ)
- หุ่นอยู่ในท่าเต่า เข้าท่าศรีษะ
- เอาแขนซ้ายสอดผ่านคอด้านขวาของหุ่น (ด้านซ้ายถ้ามองจากโทริ) ไปออกรักแร้ขวาของหุ่น
- อาศัยแรงที่หุ่นอยากจะลุกขึ้นยืนจากท่าเต่า เอาแรงดันขึ้นตรงนั้นมาใช้
- ขาขวาก้าวข้ามคอหุ่นไปวางลงบริเวณข้างสีข้างขวาของหุ่น ช่วงที่ขาขวาวางลงขาซ้ายเตะจรเข้ฟาดหาง พร้อมกับทิ้งตัวเอาช่วงไหล่ขวาลงพื้นหมุนไป
- ใช้บริเวณข้อพับเข่าด้านหลังของขาซ้ายเป็นตัวเตะกวาดคอของหุ่นให้พลิก มันจะหมุนมาครบรอบในท่าจูจิกาตาเมะแบบพอดี จากนั้นอยู่ที่พื้นฐานของจูจิแล้วว่าจะจัดแต่งให้ออกมายังไง (เซนเซไม่ได้พูดถึงการจัดท่าจูจิ เพราะละไว้ในฐานที่คิดว่าทุกคนมีพื้นฐานแล้ว)

เนื้อหาถัดมาเป็นส่วนของซาเมชิม่าเซนเซ กับการซ้อมเข้าท่าชุดในส่วนของท่านอนของโคโดกังคือ "เซไกอิดชู"

ส่วนของเซไกอิดชูเคยเขียนอธิบายละเอียดไว้ต่างหากแล้ว ไม่อยากเขียนซ้ำอีกรอบ

หลักจากอธิบายจนครบแล้ว มีการให้ตัวแทนออกมาแสดงเซไกอิดชู ทั้งหมดสามครั้งเป็นสามคู่ เป็นการแนะนำการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง การที่คนเป็นกลุ่มมาดูแค่คู่เดียวซ้อม ญี่ปุ่นเรียกว่า "มิโตริเคโกะ" คือการมองคนอื่นซ้อมเพื่อการเรียนรู้ มองแล้วรู้ว่าถูก มองแล้วรู้ว่าผิดจะได้เอาเรียนรู้และเอามาพัฒนาในการฝึกซ้อมของตนเอง

ท้ายสุดวันนี้ได้มีโอกาสคุยกับซาเมชิม่าเซนเซ เกี่ยวกับเนื้อหาที่เซนเซเตรียมมา ว่าทำไมถึงเลือกเอาสิ่งนี้ หรือสิ่งนั้นมาสอน ถึงได้รู้ว่าเซนเซไม่ใช่เอาอะไรก็ได้มาสอน แต่เซนเซทำการบ้านมาดีมาก คราวก่อนที่มาสอนคนไทย รับรู้พื้นฐานของเรา และพยายามเอาสิ่งที่ยังขาดไปมาเติมให้เต็ม เอาแค่เรื่องของลำดับท่าที่เรียน ยกตัวอย่างเช่น เนวาซะวันนี้ เซนเซคิดอยู่หลายๆครั้งว่าจะเอาอะไรมาสอน จะเรียงลำดับอย่างไร เอายากขึ้นก่อนแล้วค่อยเอาพื้นฐานมาใส่ตอนท้าย หรือจะเอาพื้นฐานแล้วค่อยเอาที่ยากขึ้นเติมมาตอนหลัง ทุกอย่างมีเหตุและผลเสมอ



Create Date : 24 ธันวาคม 2559
Last Update : 25 ธันวาคม 2559 18:58:29 น. 0 comments
Counter : 990 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.