ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
17 เมษายน 2555

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์-ก่อนทศวรรษที่ 1920(ตอนที่ 1)

นวัตกรรมที่สำคัญก่อนการมาถึงของภาพยนตร์


ของเล่นที่เกี่ยวกับการใช้สายตา, การแสดงเงา, magic lanterns และการเล่นกลทางสายตาต่างๆ เกิดขึ้นมานับพันปี มีนักคิดค้นอย่างมากมาย ทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์คิดค้นเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ทางสายตาที่คนส่วนมากมักมองภาพนิ่งที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องกันจนทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เป็นมายา แนวคิดนี้เรียกว่า ทฤษฏีการเห็นภาพติดตา (persistence of vision)

ใน ค.ศ. 1824 แพทย์อังกฤษนาม Peter Mark Roget ได้กล่าวถึงภาพมายาของการเคลื่อนไหว และนั่นถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาภาพยนตร์ในเวลาต่อมา

จำนวนมากของเทคโนโลยีระดับง่ายๆ เช่นของเล่นที่เกี่ยวกับการใช้สายตาและสิ่งประดิษฐ์เครื่องจักรกลที่มีความเกี่ยวข้องกันกับภาพเคลื่อนไหวและการมองเห็นได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ช่วงต้นไปจนถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะถือกำเนิดของอุตสาหกรรมทางด้านภาพยนตร์ขึ้น


รุ่นแรกของ Magic lanterns ถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 17 โดย Athanasius Kircher ในกรุงโรม มันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เลนส์ฉายภาพลักษณะโปร่งแสงขึ้นสู่จอด้วยแหล่งกำเนิดแสงอย่างง่าย อย่างเช่นเทียน

ปี 1824 สิ่งประดิษฐ์ Thaumatrope โดย ดร. Dr. John Ayrton Paris ( เป็นรุ่นแรกๆของเล่นภาพลวงตาที่ได้แนวคิดมาจากทฤษฏีการเห็นภาพติดตา (persistence of vision) ของ นายแพทย์ Peter Mark Roget )

ดูการทำงานของ Thaumatrope



ปี 1831 การค้นพบกฎของแม่เหล็กไฟฟ้า โดย นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ชื่อ Michael Faraday ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า และเครื่องยนต์พลังงาน และเครื่องกลอื่นๆ (รวมทั้งอุปกรณ์ฟิล์ม)

ปี 1832 สิ่งประดิษฐ์ Fantascope (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Phenakistiscope หรือ วงล้อแกนหมุน) ถูกผลิตโดยนักประดิษฐ์ชาวเบลเยียม Joseph Plateau อุปกรณ์ของเขาสามารถเลียนแบบภาพเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวต่อเนื่องของรูปภาพที่แตกต่างกันทำให้เกิดการกลมเกลียวเป็นเหมือนการแสดง หรือการเต้น รอบๆอาณาเขตหรือขอบๆของแผ่นวงกลม ขณะที่มองแผ่นวงกลมนั้นในกระจกแล้วปั่นให้เกิดการหมุน ทันใดนั้นผู้ชมก็จะเห็นว่ามันเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว



ปี 1834 การประดิษฐ์และจดสิทธิบัตรโดยดัดแปลงมาจาก stroboscopic ที่เรียกว่า Daedalum (เปลี่ยนชื่อเป็น Zoetrope ในปี 1867 โดย William Lincoln ) ผลิตโดยนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่ชื่อว่า William George Horner ซึ่งเป็นโพรงทรงกระบอกที่หมุนได้โดยที่มีแกนหมุน โดยใส่รูปภาพเข้าไปข้างในโพรง และจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้



ปี 1839 ถือกำเนิดการถ่ายภาพนิ่งด้วยการพัฒนาทางการค้าเป็นครั้งแรกด้วย daguerreotype ( ระบบการผลิตภาพโดยเพลทโลหะเงิน โลหะทองแดง) โดยจิตกรและนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสนาม Louis-Jacques-Mande Daguerre

ปี 1841 การจดสิทธิบัตร calotype (หรือ Talbotype ระบบการพิมพ์ภาพถ่ายเนกาตีฟ บนกระดาษที่มีคุณภาพสูง) ผลิตโดยนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ William Henry Fox Talbot

ปี 1861 เครื่องประดิษฐ์ Kinematoscope จดสิทธิบัตรโดย Philadelphian Coleman Sellers

ปี 1870 การทดลองแรก Phasmotrope (หรือ Phasmatrope ) โดย Henry Renno Heyl ใน ฟิลาเดเฟีย ที่แสดงความรวดเร็วอย่างต่อเนื่องของภาพนิ่ง หรือภาพโพสท่าของแดนเซอร์ ทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวลวงตาขึ้น

ปี 1877 เครื่องประดิษฐ์ Praxinoscope โดยนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส Charles Emile Reynaud มันคืออุปกรณ์เครื่องฉายภาพที่ใช้วิธีการ Zoetrope แต่สามารถสะท้อนขึ้นไปฉายบนจอหน้าได้



ปี 1879 Thomas Alva Edison ได้จัดแสดงหลอดไฟที่เขาเป็นผู้คิดค้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเอาไปใช้กับเครื่องฉายภาพ


ปลายศตวรรษที่ 19 การประดิษฐ์และการทดลองของ Muybridge และ Marey


นักบุกเบิกชาวอังกฤษ Eadweard Muybridge(1830-1904) ช่างภาพและนักประดิษฐ์ ผู้มีชื่อเสียงจากการศึกษาการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (ของสัตว์และมนุษย์) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 (เช่น ปี 1882 เผยแพร่ภาพ "The Horse in Motion") ในปีทศวรรษ ที่ 1870 Muybridge ได้ทดลอง การบันทึกการเคลื่อนไหวของม้า ที่การแข่งขันม้าแข่งที่ Sacramento (California)

เดือนมิถุนายน ปี 1878 เขาประสบความสำเร็จในการทดลอง Chronophotography ใน Palo Alto (California) ด้วยความอุปการะเงินสนับสนุนจากนายทุนใน San Francisco นาม Leland Stanford ซึ่งเขาต้องใช้กล้องหลายตัวในการบันทึกม้าแข่ง ที่เป็นข้อสรุปว่าขาของม้าทั้งสี่นั้นจะยกขึ้นจากพื้นพร้อมกันในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง



ภาพถ่ายของ Muybridgeได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในปลายทศวรรษที่ 1980 ฉายด้วยเครื่อง Praxinoscope ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกสืบทอดมาจาก เครื่อง Zoetrope ที่ถูกผลิตขึ้นโดย Charles Emile Reynaud ในปี 1877 โดยเครื่อง Praxinoscope เป็นเครื่องฉายภาพยนตร์เครื่องแรกที่สามารถฉายรูปภาพให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพยนตร์ได้ ปี 1879 เขาก็ได้ประดิษฐ์เครื่องฉายของเขาขึ้นมาเอง ชื่อ Zoopraxiscope (or "zoogyroscope"หรือเรียกว่า "wheel of life") เป็นเครื่องฉายภาพเคลื่อนไหวแบบดั้งเดิมที่ได้สร้างภาพลวงตาของภาพเคลื่อนไหวขึ้นมา (อนิเมชั่น) ด้วยเครื่องฉายภาพ ที่แสดงภาพด้วยความรวดเร็ว



ในปี ค.ศ. 1882 Etienne-Jules Marey นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้นำเอาเทคนิคของ Muybridge ไปพัฒนาสร้างปืนถ่ายภาพขึ้น เป็นการใช้กล้องตัวเดียวถ่ายภาพแสดงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องเป็นชุดในเวลาอันรวดเร็ว แต่ทว่ายังมีข้อจำกัดในการถ่ายภาพในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น

กำเนิดภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา : Thomas Edison และWilliam K.L. Dickson


ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1880 นักประดิษฐ์ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน Thomas Alva Edison (1847-1931) (และผู้ช่วยชาวอังกฤษ William Kennedy Laurie Dickson (1860-1935)) ตั้งเป้าหมายในการสร้างอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยฟิล์ม และเครื่องฉายฟิล์ม Dickson ได้รับเครดิตในความคิดริเริ่มและพัฒนา ส่วน Edison ได้แต่วิจัยในห้องทดลองเท่านั้น

แม้ว่า Edison จะได้รับเครดิตในการพัฒนาของกล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องฉายในช่วงแรก แต่ใน พ.ย. ปี 1890 Dickson ได้คิดค้นกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่เรียกว่า Kinetograph ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ในทศวรรษ 1890 เป็นต้นมา บริษัทของ Edison รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ Edison Manufacturing Company (1894-1911) ด้วยนวัตกรรมที่ส่วนใหญ่มาจากการผลิตของผู้ช่วยเอดิสัน นั้นคือ ดิคสัน นั้นเอง

ในปี 1891 Dickson ได้ออกแบบเครื่องฉายภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก ซึ่งได้รากฐานมาจาก Zoetrope เรียกว่า Kinetoscope



ในปี 1889 หรือ 1890 Dickson ได้ทดลองถ่ายฟิล์มด้วยเครื่อง Kinetoscope ชื่อ Monkeyshines No. 1 ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน และแน่ชัดว่านี้คือ ภาพเคลื่อนไหว ชิ้นแรกที่เคยถูกถ่ายด้วยฟิล์มในสหรัฐฯ มันคือภาพการเคลื่อนไหวของผู้ช่วยห้องปฏิบัติการ ที่ชื่อ Sacco Albanese


Monkeyshines no.1 & no.2


การทดลองฉายภาพเคลื่อนไหวครั้งแรกด้วยเครื่องฉาย Kinetoscope ที่ถูกผลิตจากห้องปฏิบัติของ เอดิสัน ต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรกที่ สหพันธ์สโมสรสตรี (the Federation of Women's Clubs) วันที่ 21 พ.ค. 1891 ด้วยการจัดฉาย Dickson Greeting ซึ่งเป็นภาพจากฟิล์มสั้นๆที่ถูกทดสอบด้วยการถ่าย William K. L. Dickson (ตัวเขาเอง) ซึ่งโค้งคำนับ ยิ้มและถอดหมวกอย่างดูเป็นทางการ


Dickson Greeting


14 เมษายน 1894 เครื่องฉาย Kinetoscope ได้ดำเนินการค้าเป็นครั้งแรก ด้วยการเครื่องฉายในลักษณะถ้ำมอง ชมได้ทีละคน แบบหยอดเหรียญ เครื่องฉาย Kinetoscope นั่นเป็นเครื่องบุกเบิกในเครื่องฉาย(ไร้เสียง)ภาพเคลื่อนไหวในกาลต่อมา และได้รับการจดสิทธิบัตรในวันที่ 31 ส.ค. 1897 เครื่องฉายชิ้นนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่นิยมในงานรื่นเริง หรือตั้งไว้ในห้องรับแขก และร้านค้าต่างๆ เป็นเวลานานหลายปี

สตูดิโอแห่งแรกที่ผลิตขึ้นมาเพื่อถ่ายทำเพื่อฉายด้วยเครื่อง Kinetoscope คือ สตูดิโอ Black Maria ซึ่งเป็นสตูดิโอแห่งแรกของโลกและของสหรัฐฯ สร้างขึ้นและพร้อมใช้งานในวันที่ 1 ก.พ. ปี 1893


สตูดิโอ Black Maria


Edison ได้จัดแสดงเครื่องฉาย Kinetoscope ที่งาน World's Columbian Exhibition in Chicago และได้การจดสิทธิบัตรสำหรับกล้องถ่ายภาพยนตร์ Kinetograph

และในเดือน พ.ค. 1893 ผลงานของเอดิสันก็ได้ไปจัดแสดงในระดับโลกเป็นครั้งแรกที่งานสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์ บรูคลิน ด้วยการจัดแสดงภาพยนตร์สั้น 34 วินาที เรื่อง Blacksmith Scene


Blacksmith Scene


ในวันที่ 7 ม.ค. 1894 ภาพยนตร์ของ Dickson เรื่อง Fred Ott's Sneeze กลายเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับลิขสิทธิ์เป็นเรื่องแรกอย่างเป็นทางการ ซึ่งถ่ายภาพลูกจ้างของเอดิสันที่กำลังจามเป็นเวลา 5 วินาที และเรื่องนี้ยังถือว่าเป็นการถ่ายภาพระยะ medium-closeup เป็นเรื่องแรกของโลกอีกด้วย



ภาพยนตร์สั้น 21 วินาที เรื่อง Carmencita (1894) กำกับและผลิตโดย Dickson ถ่ายทำในระหว่าวันที่ 10-16 มีนาคม 1894 ในโรงถ่าย Black Maria โดยนักเต้นชาวสเปนที่ชื่อ Carmencita ถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ถูกถ่ายโดยกล้องของเอดิสัน และอาจเป็นไปได้ว่าเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ปรากฏในภาพยนตร์สหรัฐอเมริกา และนี่ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องอื้อฉาวที่ถูกห้ามฉาย เพราะว่ามันเปิดเผยถึงเรียวขาและชุดชั้นในขณะที่เธอเต้นและหมุนตัว ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องแรกๆของกรณีการเซนเซอร์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์



ในก่อนทศวรรษ 1890 Edison และ Dickson ได้ประดิษฐ์ต้นแบบระบบเสียงของภาพยนตร์ที่เรียกว่า Kinetophonograph หรือ Kinetophone แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะไม่สามารถทำให้เสียงกับภาพซิงค์ไปด้วยกันได้ โดยมีภาพยนตร์สั้น Dickson Experimental Sound Film (1894-1895) ที่หลงเหลืออยู่ในการทดลองใช้เครื่อง Kinetophone



ยุคที่เครื่องฉาย Kinetoscope และภาพยนตร์รุ่งเรือง


ในเดือนมิถุนายน 1894 Charles Francis Jenkins กลายเป็นนักบุกเบิกคนแรกที่สามารถฉายภาพยนตร์บนจอให้สาธารณชมได้เป็นคนแรก ด้วยเครื่องฉายที่ชื่อ Phantoscope ด้วยการฉายนักแสดงเต้นที่เหมือนผีเสื้อ ภาพยนตร์แรกที่ฉายนั้นมีสี(เกิดจากการระบายด้วยมือเฟรมต่อเฟรม) โดยภาพยนตร์สีเรื่องแรกๆนั้น ชื่อเรื่อง Annabelle Butterfly Dance (1894), Annabelle Sun Dance (1894), และ Annabelle Serpentine Dance (1895)


Annabelle's Butterfly Dance


ภาพยนตร์เรื่อง Young Griffo v. Battling Charles Barnett เป็นภาพยนตร์การค้าเรื่องแรกของโลกที่เก็บค่าเข้าชม เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 1895 ใน นิวยอร์ค (7 เดือนก่อนหน้าที่ พี่น้อง Lumière จะฉายภาพยนตร์เรื่องแรกที่ ปารีส) ผลิตโดย Woodville Latham และ ลูกชาย Otway และ Grey เป็นการถ่ายการแข่งขันการชกมวย ด้วยกล้อง Eidoloscope บนหลังคาที่สนาม เมดิสัน สแคร์ การ์เดน เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 1895 ระหว่างนกมวยชาวออสเตรเลีย Albert Griffiths (Young Griffo) และ Charles Barnett

The Kiss (1896) เป็นภาพยนตร์ที่มีคนจูบกันเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก และกลายเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของบริษัทภาพยนตร์ของ เอดิสัน แต่ก็เป็นภาพยนตร์ฉาวโฉ่เรื่องแรกที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์และต้องการให้เกิดการเซนเซอร์ขึ้น



-----จบตอน 1-----


อ่านตอนที่ 2

อ่านวิจารณ์หนังได้ที่:สารบัญภาพยนตร์

อ่านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์:ตามลัทธิ


Create Date : 17 เมษายน 2555
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2556 18:01:13 น. 3 comments
Counter : 10953 Pageviews.  

 
ตามตอนต่อไปอย่างใจจดจ่อครับ

เป็นกำลังใจให้


โดย: ชีวิน IP: 118.173.114.73 วันที่: 17 เมษายน 2555 เวลา:23:43:27 น.  

 
ข้อมูลแน่น อ่าน + ดูเพลินครับ แต่ว่ายังดูไม่หมด เนตผมช้า จะทยอยดูแล้วกัน

จริงๆผมก็เคยทำหนังสั้นเพื่อ Tribute ให้กับ การประดิษฐ์ Thaumatrope ของ John Ayrton Paris ด้วยครับ นานแล้ว


เชิญไปอ่าน concept และรับชมกันครับ

หนังสั้น Thaumatrope





โดย: navagan วันที่: 21 เมษายน 2555 เวลา:21:09:31 น.  

 
แน่นปั๊กเลย สุดยอดข้อมูลมาก อ่านเพลินเลย

ขอบคุณครับ


โดย: Groov IP: 110.169.254.123 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:8:54:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]