ibaz.org
Group Blog
 
All Blogs
 
โรคกบ


การที่กบที่เลี้ยงไว้เป็นโรคต่าง ๆ นั้น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความสกปรกของสถานที่เลี้ยง



การจัดการและดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้กบมีสภาพอ่อนแอ หรือในกรณีที่กบไม่มีบาดแผล อาจเกิดจากอาหารสกปรกก็ได้



การดูเเลที่ดีควรคำนึงถึงความสะอาดเป็นอันดับเเรก เพื่อการเลี้ยงดูที่ถูกสุขลักษณะ



เปลี่ยนน้ำเเละอาหารทุกวัน เเละควรเลี้ยงในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ให้รับเเสงเเดดในตอนเช้า



เปลี่ยนชนิดของอาหารโดยคำนึงถึงโภชนะที่สัตว์ควรได้รับในเเต่ละวัน


1อาการท้องอืด



เนื่องมาจากการได้รับอาหารมากเกินไป



ป้องกันโดย อย่าให้กบได้รับอาหารมากเกินไป ให้ครั้งละจำนวนน้อยๆ อย่าเห็นว่าเค้ากินเก่งอยากกินอีกเเล้วเราจะให้ ใจเเข็งไว้



2อาการท้องอืดเนื่องมาจากน้ำ



ป้องกันโดย ให้น้ำในสถานที่เลี้ยงสะอาดเพื่อไม่ให้เกิดเเก๊สในสถานที่เลี้ยง





ขอขอบคุณคุณโอ๊ดมากนะครับที่เสนอสัตว์ประหลาดชนิดนี้มาหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อคุณโอ๊ตเเละทุกท่านด้วยนะครับ



ข้อความที่ได้กล่าวมานี้ ได้มาจากประสบการ์ณการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ด้วยตัวผมเองหากมีสิ่งใดผิดไปก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ด้วย ขอบคุณมากครับ


 


  โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด



อาการ



ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่าง คล้ายโรคตัวด่างในปลาดุก จากนั้นจะเริ่มพบอาการท้องบวมและตกเลือดตามครีบหรือระยางค์ต่างๆ



สาเหตุของโรค แบคทีเรียในกลุ่ม Flexibacteris





การรักษา



1. ใช้เกลือแกงแช่ในอัตรา 0.5% (5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) นาน 3-5 วัน



2. ใช้ยาออกซีเตตร้าซัยคลินแช่ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันทุกวันนาน 3-5 วัน



การป้องกัน



1. อนุบาลลูกอ๊อดในความหนาแน่นที่เหมาะสม ตารางเมตรละ 1,000 ตัว



2. คัดขนาดทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง จนกระทั่งเป็นลูกกบแล้วอนุบาลให้ได้ขนาด 1-1.5 อัตราความหนาแน่นตารางเมตรละ 250 ตัวจากนั้นจึงปล่อยลูกกบลงเลี้ยงในอัตราตารางเมตรละ100 ตัว





3. ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ และรักษาความสะอาดของบ่ออนุบาล


 


 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะตัวเต็มวัย



อาการ



มีลักษณะเป็นจุดแดงๆ ตามขาและผิวตัว โดยเฉพาะด้านท้องจนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีจุดสีเหลืองซ้อนๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่ บางครั้งพบตุ่มสีขาวกระจายอยู่





สาเหตุของโรค สภาพบ่อสกปรกมาก





การรักษา



ออกซีเตตร้าซัยคลินผสมอาหารให้กบกินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมต่อวันกินติดต่อกันจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือให้กินไม่น้อยกว่าครั้งละ 5-7 วัน


 


โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร



อาการ



กบไม่ค่อยกินอาหาร ผอมตัวซีด





สาเหตุของโรค โปรโตซัวในกลุ่ม Opalina sp. และ Balantidium sp.





การรักษา



ใช้ยา Metronidazole ผสมอาหารให้กินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกกรัม กินติดต่อกันครั้งละ 3 วัน และเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วให้ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง หรือจนกว่ากบจะมีอาการดีขึ้น และกินอาหารตามปกติ


 


โรคกบขาแดง



อาการ



เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังสีผิดปกติ เสียการทรงตัว มีจุดเลือดออกตามตัว และมีแผลเกิดขึ้นชักขากระตุกและมีผื่นแดงบริเวณโคนขาหลัง เม็ดเลือดมีอาการของโลหิตจางเลือดแข็งตัวช้า และมีเลือดออกบริเวณอวัยวะภายใน



สาเหตุของโรค การติดเชื้อ bact. A. hydrophila, Haemophilus piscium



การรักษา



เตรทตร้าไซคลิน 50-100 mg/น้ำหนักกบ 1 กิโลกรัม (ป้อน) อาจผสมอาหารหรือแช่ก็ได้ (ปริมาณเพิ่มขึ้น)


 


โรคตาขาว คอเอียง กระแตเวียน บวมน้ำ







สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฟลาโวแบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุ่ม (Flavobacterium meningosepticum)







อาการและรอยโรค



ลักษณะตาขาว ขุ่น บอด เกิดการอักเสบที่ตา มีหนองในช่องหน้าตา มีอาการทางประสาทโดยกบจะนอนหงายท้อง แสดงอาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะบวมน้ำ พบน้ำคั่งใต้ผิวหนังและมีน้ำในช่องท้อง







การรักษา



การรักษาโรคนี้มักไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะในตัวที่ป่วยหนัก ทำได้โดยลดความรุนแรงของโรค โดยแยกตัวป่วยออกและฆ่าเชื้อโรคในบ่อโดยใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน เป็นต้น หรือ อาจใช้ด่างทับทิม 5-8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อติดต่อกัน 3 วัน และผสมยาปฏิชีวนะ เช่น เอนโรฟล็อคซาซิน กับอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกบที่เหลือ นอกจากนี้แล้วจะต้องแยกกบให้ปริมาณน้อยลงจากเดิม



การป้องกัน



ไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป มีการพักน้ำและฆ่าเชื้อโรคในน้ำก่อนนำมาใช้ด้วยคลอรีน เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ


 


โรคแผลที่หัวและลำตัว



อาการของกบบริเวณหัว และลำตัวกบ จะเป็นแผลเน่าเปื่อย ถ้าไม่แก้ไขก็จะตาย



สาเหตุเกิดจากสภาพบ่อสกปรกมาก



การรักษา



ควร จัดการทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ หรือใช้ปูนขาวผสมน้ำลาดลงไปในบ่อบริเวณขอบบ่อ จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าหากไม่อยากให้เกิดโรค ควรดูแลเรื่องระบบน้ำในบ่อให้ดีอยู่เสมอ


 การป้องกันโรคกบแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน





- ในกรณีที่เลี้ยงด้วยบ่อปูนควรจะล้างบ่อด้วยด่างทับทิมอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ลิตร ทุกครั้งที่มีการล้างบ่อ



- ผสมอาหารด้วยน้ำหมักชีวภาพก่อนที่จะนำมาให้กบกิน ด้วยการผสมน้ำหมักชีวภาพอัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม



- เมื่อกบมีอาการท้องอืดหรือตัวเหลือง ซึม ให้ใช้ขิง ข่า พะลัย และฟ้าทลายโจร ต้มให้น้ำมีสีชาแล้วนำมาผสมกับอาหารกบป้อน หรืออาจจะฉีดด้วยกระบอกฉีดยา เข้าทางปากตัวละ 1 ซีซี



- ถ้ากบเป็นแผลเปื่อยให้ใช้ขมิ้นผงและใบน้อยหน่าตากแห้ง (หรือเปลือกมังคุดตากแห้ง) นำทั้ง 2 อย่าง มาบดให้ละเอียดและผสมปูนแดงลงไปเล็กน้อย ทาที่บริเวณแผล ที่สำคัญเกษตรกรผู้เลี้ยง จะต้องแยกกบที่ป่วยออกไว้ต่างหากอย่างน้อยเป็นเวลา 1 วัน โดยนำกบที่เป็นโรค มาใส่ถุงพลาสติกเจาะช่องระบายอากาศและไม่ให้ถูกน้ำ



- กรณีที่เลี้ยงกบในบ่อดินหรือบ่อปูนควรจะนำเกลือแกงผสมน้ำใส่ลงไปในบ่อเลี้ยงกบด้วย เพื่อฆ่าเชื้อราหรือเชื้อโรคอื่นๆ อัตราการใส่ถ้าบ่อเลี้ยงมีขนาด 4x4 เมตร ให้ใส่น้ำสูง 5 เซนติเมตร และใส่เกลือแกงลงไปประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ


 


โรคที่เกิดจากสารพิษ



มีสารพิษหลายชนิดที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของกบทั้งทางตรงและทางอ้อม



สามารถทำให้กบตายได้ทันทีทันใด หรือทำให้เกิดอาการเรื้อรัง



สารพิษต่างๆเหล่านี้ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อใช้ยาดังกล่าวแล้วควรล้างทำความสะอาด


 


โรคที่เกิดจากเชื้อรา



ได้แก่ เชื้อซาโพเล็กเนีย เป็นเชื้อราที่พบทั่วไปในน้ำ เชื้อชนิดนี้ สามารถทำอันตรายต่อปลาได้เช่นกัน






Create Date : 08 ตุลาคม 2559
Last Update : 8 ตุลาคม 2559 21:23:30 น. 0 comments
Counter : 854 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

taurolar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add taurolar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.