ibaz.org
Group Blog
 
All Blogs
 
การปลูกมะเขือเทศ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศ
มะเขือเทศเป็นพืชที่เจริญได้ดีในดินทั่วไป แต่ที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำและอากาศดี ในสภาพที่ชื้นแฉะ จะทำให้รากขาดออกซิเจน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นหากมีน้ำขัง หลายวัน จะต้องเร่งน้ำออก ที่สำคัญคือต้องไม่ปลูกซ้ำในแปลงเดียวกันหลายปี เพราะจะเกิดการสะสมของโรค ซึ่งยากต่อการป้องกันกำจัด

ขั้นตอนการปลูกมะเขือเทศ
1. การปลูก สามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ การเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก และการหยอดเมล็ดโดยตรง ก่อนปลูกต้องทำการไถดินลึก 15-20 เซนติเมตร และตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ อาจใส่ปูนขาวหรือโดโลไมล์ ในกรณีที่ดินเป็นกรด ระยะปลูกที่แนะนำ คือ ระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระห่างแถว 70 เซนติเมตร
2. การให้น้ำ ระยะแรกต้องให้น้ำทุกวันขณะที่ช่วงติดดอกติดผล ถ้าขาดน้ำจะทำให้เป็นโรคก้นเน่า และผลร่วงได้
3. การใส่ปุ๋ย ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากที่ย้ายปลูก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50-70 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยข้างต้นและพรวนดินกลบ เมื่ออายุได้ 35-40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ประมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่
4. การปักค้าง ทำเมื่อมีอายุประมาณ 8-10 วันหลังย้ายกล้า
5. การปลิดใบและการตัดแต่งกิ่ง กระทำโดยการแต่งกิ่งที่แตกออกมาจากลำต้นให้เหลือเพียง 2-3 กิ่ง เพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่ และสะดวกในการผูกค้าง

โรคและการป้องกัน
1. โรคเหี่ยวเขียว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการคือ ใบและส่วนยอดจะเหี่ยวในช่วงกลางวัน ที่มีอากาศร้อน ใบล่างจะเหี่ยวห้อยลง ต่อมาจะเหี่ยวทั้งต้น ใบม้วนงอทั้ง ๆ ที่ยังเขียวอยู่ และจะตายภายใน 2-3 วัน โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่ได้ วิธีป้องกันที่กันที่สุด คือ งดปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ที่เป็นโรคอย่างน้อย 4-5 ปี ปลูกพืชหมุมเวียน และปรับ pH ของดินให้เหมาะสม
2. โรคเหี่ยวเหลือง เกิดจากเชื้อรา ระยะแรกพบเป็นเส้นใยสีขาวทั่วไป ต่อมาเชื้อจะสร้างเม็ดสเคลอร์โรเดียม เป็นเม็ดกลม ๆ สีน้ำตาลดำ ต่อมาอาการจะเป็นแผลแห้งรอบลำต้น ลำต้นเหี่ยวและแห้งตาย ป้องกันโดยการโรยปูนขาวที่โคนต้น รักษาหน้าดินให้แห้งการปักค้างจะช่วยลดความเสียหายได้
3. โรคใบไหม้ เกิดจากเชื้อราอาการที่ใบคล้ายน้ำร้อนลวก ด้านใต้ใบพบเส้นใยของเชื้อราเป็นสีเทาคล้ายละอองน้ำเกาะอยู่ หากรุนแรงจะลามหมดทั้งใบ ใบแห้งดำ ป้องกันกำจัดโดยหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เคยเป็นโรค ทำลายต้นที่เป็นโรคทีนที ไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่น ฝอย ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกลุ่ม เมตาแล็คซิล
4. โรคใบหยิกเหลือง เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีแมลงเป็นพาหะ ซึ่งจะระบาดในสภาพอากาศแห้ง ป้องกันโดยหมั่นสังเกต ในแปลงไม่ให้มีแมลงหวี่ขาว หากพบให้ฉีดพ่นด้วยสารไดเมทโธเอท ในอัตรา 1.5-2 เท่า ผสมสารเมทามิโดฟอส หรือ อิมิดาครอปิด
5. โรคขาดธาตุอาหาร ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงในดินที่เป็นกรดจัด และปรับ pH ในดินก่อนปลูก โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารประกอบด้วย
5.1) โรคก้นเน่า ขาดธาตุโบรอน แก้ไขโดยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ
5.2) โรคแผลแตก ขาดธาตุแคลเซียม แก้ไขโดยฉีดพ่นแคลเซี่ยมให้สม่ำเสมอ
5.3) โรคไส้ดำ ขาดธาตุแคลเซียมและโบรอน ประกอบกับดินเป็นกรด
5.4) โรคยอดม่วง ขาดธาตุฟอสฟอรัส

แมลงศัตรูและการป้องกัน
1. หนอนเจาะผลมะเขือเทศ ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปในผล กัดกินเนื้อและเมล็ดอ่อนภายใน ส่วนใหญ่มักทำลายผลที่ยังมีสีเขียวอยู่ ผลที่ถูกทำลายเห็นเป็นจุดมีรอยช้ำและเน่าก่อนที่จะเก็บเกี่ยว การตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยระยะก่อนติดผล และกำลังติดผลอ่อน ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นสารในกลุ่มเมทโทมิล สารไพรีทรอย และยาเชื้อแบคทีเรีย
2. เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ยอดหงิก ขอบใบแดง และดอกร่วง ป้องกันกำจัดด้วยสารเอนโดซัลแฟน หรือสารฟิโปรนิล
3. เพลี้ยอ่อน ถ้าเป็นตัวสีดำ ให้ฉีดพ่นด้วยสารดเมทโทเอท ถ้าตัวสีเขียวใช้สารไวท์ออยล์
การเก็บเกี่ยว
มะเขือเทศลูกผสมพันธุ์ แซ่บ และ แสงทอง สามารถที่จะเก็บเกี่ยวได้ภายใน 60-70 วัน หลังย้ายกล้า หากส่งตลาดผลสดควรเก็บขณะเปลี่ยนสี หากเก็บส่งโรงงานควรเก็บผลที่มีสีแดงสด (พันธุ์แสงทอง) และสีชมพู (พันธุ์แซ่บ) ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการดูแลรักษา คือ ประมาณ 1-2 เดือน หลังจากที่เริ่มเก็บเกี่ยว


Create Date : 04 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2559 11:41:15 น. 0 comments
Counter : 992 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

taurolar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add taurolar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.