bloggang.com mainmenu search

 

 

ขีปนาวุธ "มูซูดัน" ซึ่งถูกนำมาแสดงในพิธีสวนสนามของกอทัพเกาหลีเหนือเนื่องในวันคล้ายวันเกิดอดีตประธานาธิบดี คิม อิล ซุง เมื่อวันที่ 15 เมษายน ปี 2012

 

       ในความเห็นของนักนิวเคลียร์ไทยมองว่าเป็นแค่คำขู่ที่สหรัฐฯ ร่วมซ้อมรบกับเกาหลีใต้ใกล้ๆ ถิ่นโสมแดง อีกทั้งเปียงยางกับโซลไม่ห่างกันมาก ใกล้กันเหมือนนครสวรรค์กับกรุงเทพฯ ถ้าถล่มกันจริงก็ตายทั้งคู่ แต่หากเกาหลีเหนือเกิดลูกบ้าขึ้นมาจริงๆ คอมเฟิร์มว่ารังสีมาไม่ถึงไทย
       
       การเมืองในบ้านร้อนไม่พอการเมืองโลกก็ดูจะระอุด้วย ล่าสุดเกาหลีเหนือเคลื่อนย้ายขีปนาวุธพิสัยกลาง ซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายทั้งในเกาหลีใต้ และญี่ปุ่นไปยังชายฝั่งตะวันออกของประเทศแล้ว พร้อมประกาศให้แรงงานเกาหลีใต้เดินทางออกจากนิคมอุตสาหกรรมแกซอง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเปียงยางกับโซล ภายในวันที่ 10 เม.ย.56
       
       ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้สอบถามไปยัง ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเกาหลีเหนือยิงระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมาจริงๆ ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าท่าทีของโสมแดงน่าจะเป็นเพียงการขู่ จากการที่สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ร่วมกันซ้อมรบใกล้ๆ กับเกาหลีเหนือ
       
       โซลซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาหลีใต้ และเปียงยางซึ่งเป็นเมืองหลวงของเกาหลีเหนือนั้นห่างกันประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งนักนิวเคลียร์ไทยเปรียบเทียบว่าเป็นระยะทางใกล้กันประมาณจากกรุงเทพฯ ไปนครสวรรค์ ดังนั้น คิดว่าไม่น่ามีการยิงระเบิดนิวเคลียร์ใส่กัน เพราะหากทำเช่นนั้นก็เสียหายทั้งคู่
       
       “ไม่อยากให้คิดแบบนั้น เขาคงไม่ถอยไปเหมือนกรณีฮิโรชิมา ซึ่งครั้งนั้นมีคนตายเป็นแสน แต่ถ้ามีการยิงระเบิดนิวเคลียร์คราวนี้จะมีคนตายเป็นล้าน ถ้าถล่มจริงคงเสียหายมาก แต่ตอนนี้อากาศบ้านเขาหนาว คงไม่ใจร้อนเหมือนกรณีที่เกิดในกรุงเทพฯ แต่ถ้ายิงระเบิดนิวเคลียร์ รังสีก็มาไม่ถึงบ้านเรา ต่างจากกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นที่มีไอโอดีนรังสีและถูกกระแสลมพัดไป” ดร.สมพรให้ความเห็น
       
       พร้อมกันนี้ ดร.สมพร ยังได้อธิบายการทำงานของระเบิดนิวเคลียร์คร่าวๆ ว่ามี 3 ขั้นตอน ตอนแรกจะเกิดแรงอัดหรือแรงระเบิดมหาศาลด้วยความเร็ว 300-500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คล้ายกับพายุทอร์นาโด ทำให้บ้านเรือนเสียหายและราบเป็นหน้ากลอง ตอนที่สองคือเกิดความร้อนมหาศาล 2,000-3,000 เหมือนกองไฟที่ราดคนตายเรียบในชั่วพริบตา และตอนสุดท้ายจะเกิดรังสีตามมา และเป็นขั้นที่ฆ่าคนน้อยที่สุด เพราะส่วนใหญ่เสียชีวิตไปในสองขั้นตอนแรกแล้ว
       
       “เหมือนทอร์นาโดอัดเปรี้ยง ในรัศมี 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะหวังผล ที่คนตายเรียบ อาคารและบ้านเรือนเสียหายหมดในรัศมีนี้ ส่วนรังสีนั้นฆ่าทีหลังสุด” นักเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไทยกล่าว  

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ

Create Date :05 เมษายน 2556 Last Update :5 เมษายน 2556 11:09:32 น. Counter : 982 Pageviews. Comments :0