bloggang.com mainmenu search

 

 

สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย อบต.ป่าตึง

 

       สกว.- สกว.หนุน มรภ.เชียงรายทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น กำหนดประเด็นการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น เพื่อเสริมพลังและพัฒนาท้องถิ่น ตอบสนองความต้องการของคนท้องถิ่น โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาของตนเองได้ ผลการวิจัยที่ได้กลับคืนสู่ชุมชน
       
       ผศ.ดร.ทศพล อารีนิจ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เผยว่ามหาวิทยาลัยโดยสำนักวิชาสังคมศาสตร์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 9 “การวิจัยเพื่อชุมชน ท้องถิ่น: พลังคนเพื่อพลังท้องถิ่น” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และกำหนดประเด็นการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น เพื่อเสริมพลังและพัฒนาท้องถิ่น ตอบสนองความต้องการของคนท้องถิ่น โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาของตนเองได้ ผลการวิจัยที่ได้กลับคืนสู่ชุมชน
       
       “สำนักวิชาสังคมศาสตร์จัดการประชุมนี้ขึ้นเพื่อให้งานวิจัยท้องถิ่นได้เผยแพร่ และขยายองค์ความรู้สู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวาง อันนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ชุมชน และท้องถิ่น อีกทั้งเป็นเวทีให้นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา และองค์กรที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ชุมชน และท้องถิ่นของสถาบันการศึกษา” ผศ.ดร.ทศพลกล่าว

ตำราแพทย์โบราณ

       ด้าน ผศ. ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งได้ร่วมกับฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สกว.ทำการรวบรวมแพทย์พื้นบ้านและชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาด้านการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อสังคายนาองค์ความรู้หมอเมืองใน 750 ปีประวัติศาสตร์ล้านนา และถอดบทเรียนผ่านกระบวนการวิจัยในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน ล้านนาและการแพทย์ชนเผ่าภาคเหนือ โดยวิธีการแพทย์เชิงประจักษ์ที่มีการลองผิดลองถูกเพื่อทดสอบว่าใช้ได้จริงหรือไม่ ทำให้มีพลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
       
       “เกิดผลกระทบตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่นผ่านตัวหมอพื้นบ้าน ระดับองค์กร ตลอดจนสถาบันภาครัฐและภาคธุรกิจผ่านองค์กรเครือข่ายประชาชน สถานประกอบการบริการธุรกิจสุขภาพ สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐด้านบริการสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติด้านสมุนไพร จนถึงระดับชาติผ่านนโยบายและแผนงานการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพและ การแพทย์พื้นบ้านไทย

รวมถึงการจัดการโครงสร้างและองค์กรระดับชาติและท้องถิ่น เพื่อสนองตอบนโยบายและแผนดังกล่าว ตลอดจนนำไปสู่การบรรจบกับกระแสโลก นั่นคือ การหวนกลับไปฟื้นฟูการแพทย์ดั้งเดิมเพื่อเป็นทางเลือกขององค์การอนามัยโลก และการตื่นตัวในการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นของยูเนสโก อันเป็นการเชื่อมโยงจากระดับรากหญ้าสู่ระดับประเทศและสากลโลก” ผศ.ดร.ยิ่งยงกล่าว

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านล้านนา        ตัวอย่าง การขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในระดับต่างๆ ได้แก่ การทำงานเชื่อมโยงระดับนโยบายร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และก่อตั้งวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก รวมถึงการร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการเปิดให้บริการแก่สาธารณะ เช่น สถานีขนส่งเชียงราย สถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย อบต.ป่าตึง ในการบำบัดรักษาชาวบ้านและชาวเขาเผ่าต่างๆ ในพื้นที่โดยไม่คิดค่าบริการ และโครงการกำลังใจตามพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ณ เรือนจำกลางเชียงราย
       
       ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และสังคมยอมรับการแพทย์แผนไทยพื้นบ้านเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงหมอพื้นบ้านสู่โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยแห่งแรกใน ภาคเหนือ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบจ.เชียงราย รวมถึงเชื่อมโยงองค์ความรู้กับเครือข่ายการแพทย์พื้นบ้านลุ่มน้ำโขง ได้แก่ จีน ลาว และพม่า อีกทั้งองค์การยูเนสโกได้นำไปใช้เป็นโมเดลในการยกระดับความรู้ภูมิปัญญาชาว บ้านสู่การแพทย์ระดับประเทศ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรใน เครือข่ายองค์การอนามัยโลก เขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ

Create Date :19 กุมภาพันธ์ 2556 Last Update :19 กุมภาพันธ์ 2556 12:40:45 น. Counter : 1014 Pageviews. Comments :0