bloggang.com mainmenu search
ชวนดูหนัง เรื่อง "Children of Heaven" และ "Mrs.Doubtfire"
โดย : ชมรมเครือข่ายครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ชมรมเครือข่ายครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ชวนครอบครัว ดูหนังดี ๆ เพื่อครอบครัว
เรื่อง "Children of Heaven" และ "Mrs.Doubtfire"
ในวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน

"ชีวิตไม่ได้ง่ายดั่งภาพยนตร์ ช่วยกันไขปัญหาจากแผ่นฟิล์มสู่ชีวิตจริง"
พร้อมวงเสวนา "ดูหนัง ดูละคร ย้อนดูครอบครัว"
นำทีมโดย คุณนันทขว้าง ศิรสุนทร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ,แพทย์หญิงปริชวัน จันทรศิริ จิตแพทย์เด็กโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ , คุณทนงศักดิ์ ศุภการ ดารานักแสดง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ คุณพัชรี 0-2954-2346-7 หรือ //www.thaisingleparent.com
//www.thaisingleparent.com/?act=content&type=calendar&show=calendar&news_id=141
ฟรี
"ดูหนัง ดูละคร
ย้อนดูครอบครัว"
ณ ศูนย์มานุษยสิริธร
วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551
ตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น.


กำหนดการ
09.00-09.30 น. ลงทะเบียน
09.30-12.00 น. ชมภาพยนตร์ครอบครัวเรื่อง "Children of Heaven"
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันตามซุ้มต่างๆ
(มีคูปองจำหน่ายอาหาร รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเป็นทุนให้กับครอบครัวเลี่ยงเดี่ยวเพื่อนำไปบำเพ็ญสาธารณประโยชน์)
13.00-14.30 น. เวทีเสวนา "ดูหนัง ดูละคร ย้อนดูครอบครัว"
14.30-17.00 น. ชมภาพยนตร์สะท้อนชีวิตครอบครัว เรื่อง "Mrs. Doubtfire"

แขกรับเชิญในวงเสวนาได้แก่
คุณนันทขว้าง สิรสุนทร (นักวิจารณ์ภาพยนตร์)
พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ (จิตแพทย์เด็ก)
คุณรัศมี มณีนิล (นักเขียน, DJ 92.0 FM) ผู้ดำเนินรายการ
ภายในงานเพลิดเพลินกับบูทต่างๆ
ที่ให้สาระความรู้ ความบันเทิง
สำรองที่นั่งด่วนภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551
โทร 0-2954-2346-7


โหรสวนทาง ทายดวงเมือง
หมดปีหมูเก่า เข้าสู่ปีหนูใหม่ บรรดาโหราจารย์ชื่อดัง พร้อมใจช่วยทำนายอนาคตประเทศไทย ปี 2551 ยังมีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้า เริ่มที่นายแสงเพชร เสนีย์บดินทร์ นำทีมทายดวงเมืองว่าปี 2551 ดาวใหญ่จะย้ายราศี 2 ดวงคือ ดาวพฤหัสบดี ย้ายจากราศีพิจิก ราศีมรณะเข้าสู่ราศีธนู ราศีแห่งความดีงาม ส่งผลให้ประเทศดีขึ้น อีกดวง ราหูย้ายจากราศีกุมภ์จรเข้าสู่ ราศีมังกร ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจหลายด้าน
เมื่อถามถึงสภาพการเมืองไทยปีหน้า นายแสงเพชรทำนายว่า ไตรมาสแรกของปี รัฐบาลใหม่จะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง รัฐบาลเก่าและทหารยังมีอำนาจอยู่อีก ต้องพ้นไตรมาสแรกทุกอย่างจึงลงตัว การเจรจาประสานผลประโยชน์ ทางการเมืองจะเข้มข้น แล้วประสานผลประโยชน์กันได้ ในช่วงนี้รัฐบาลต้องระวังอย่าใช้อารมณ์เจรจากับมิตรประเทศ สำหรับรัฐบาลใหม่ ช่วงที่ดาวอังคารเดินวิปริตเล็งดาวเสาร์อยู่นี้ ถ้าเป็นนาวาก็ต้องโต้คลื่น ที่น่าจับตาในช่วงเดือนเมษายนนี้คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมีเซอร์ไพรส์ อาจจะเดินทางกลับมา
ส่วนเศรษฐกิจไทย นายแสงเพชรทายทักไว้น่ายินดี เมื่อในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เงินจะกลับมาแข็งค่า เศรษฐกิจจะเริ่มดี การท่องเที่ยวฟื้นตัว การส่งออกพุ่งทะยาน โดยเฉพาะด้านอาหารและการฝีมือ สินค้าโอท็อปจะคึกคัก รากหญ้าจะมีรายได้ดี การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัว กว่าจะหมดสมัยของรัฐบาลชั่วคราว โปรเจกต์รถไฟยังเป็นของแสลง ในไตรมาสที่สอง ต้องระวังเรื่องการเก็งกำไรช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน หุ้นที่พุ่งแล้วเบรกอย่างแรงในเดือนเมษายน ในเดือนพฤษภาคมตลาดหุ้นจะบูมสุดขีด เศรษฐกิจจะดี รัฐบาลได้รับความเชื่อถือจากต่างประเทศ การส่งออกฟื้นตัว การค้าปลีกข้ามชาติจะมีข้อยุติได้ระดับหนึ่ง
โหราจารย์รายต่อมา คือ อาจารย์สุชาติ หรือ พ.อ. สุชาติ ศุภประเสริฐ ที่ขอทายแบบไม่ไว้หน้าเกี่ยวกับดวงเมืองไทยปีหน้าว่า ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2550 ดาวอังคารจะโคจรใกล้โลกมาก ทำให้เกิดการใช้กำลังสู้รบแบบจรยุทธมากขึ้น ภาคใต้จะทวีความรุนแรง ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมจะรุนแรงที่สุดในรอบปี จะเกิดอุบัติเหตุเพราะอิทธิพลของดาวอังคาร ที่จะเข้าสู่ราศีสิงห์ปะทะกับดาวเสาร์ และเล็งดาวมฤตยู ทำให้เกิดไฟไหม้ มีการวางเพลิง ในเดือนมกราคม พระผู้ใหญ่จะมรณภาพ หรือบุคคลสำคัญจะเสียชีวิต
ส่วนดวงการเมืองนั้น พ.อ.สุชาติ ระบุว่า รัฐบาลที่มาใหม่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน มีการสาดโคลนเข้าหากัน เกิดการแย่งชิงอำนาจกันขนาดหนัก เรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลที่ยุ่งยากและเดือดร้อนที่สุด ส่วนอดีตนายกฯทักษิณนั้นอาจกลับมาได้ แต่ดวงยังตกอยู่
ด้านเศรษฐกิจ พ.อ.สุชาติ กลับมองต่างจากคนแรก เพราะทายว่าสภาพเศรษฐกิจยังไม่ค่อยดีนัก จะเกิดอัคคีภัย วาตภัย อุบัติภัยบ่อย จะมีคนเสียชีวิตในต่างประเทศจำนวนมาก ด้านคมนาคม ดาวพุธอยู่ในเรือนวินาศ ทั้งรถไฟ รถทัวร์ ขนส่งต่างๆ จะเดือดร้อน ราคาน้ำมันยังเพิ่มสูงขึ้น จะเกิดการเรียกร้องขอสิทธิของพนักงาน โรงงานทอผ้า อุตสาหกรรมทั้งหนักและเบาจะแย่ลง ก่อนที่จะถึงวันที่ 30 เมษายน ดาวราหูเข้าเล็งกับดาวเสาร์ ซึ่งดีในเรื่องอบายมุขทุกประเภทรุ่งเรือง การส่งออกจะแย่ ธุรกิจที่จะให้คุณในปีนี้คือ ด้านการค้าขายกับต่างประเทศ กิจกรรมทางด้านการศาสนาจะลดอุณหภูมิความร้อนในด้านต่างๆ ได้
โหราจารย์ท่านที่ 3 อาจารย์ณรงค์ หรือนายณรงค์ เมฆหิรัญศิริ โหราศาสตร์ดวงดาวบนท้องฟ้า ทายดวงเมืองไว้ ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเมษายน การเมืองยังวุ่นวายอยู่ แล้วจะค่อยดีขึ้น เพราะมีดาวดวงเมืองคอยปกป้องและคุมเหตุการณ์ให้สงบ สำหรับกรณีภัยพิบัติ ซึ่งส่งผลมาจากดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งภพราศีสิงห์ ซึ่งเป็นราศีไฟ จะมีเรื่องเกี่ยวกับอัคคีภัย อาจจะเป็นกรณีไฟไหม้ตึกสูง มีปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นมากกว่าทุกปี และถ้าเป็นดวงคน ถ้าจะเดินทางก็ให้ระวังการเดินทางเกี่ยวกับเรือ
ส่วนการเมืองนั้น อาจารย์ณรงค์บอกว่า หลังจากจัดตั้งรัฐบาลแล้ว ผลจากดาวอังคารเป็นสุดยอดในกระบวนดาวขุนพลทั้งหมด สมัยกรีกโบราณ ถือเป็นทหารเอกของกษัตริย์ซีซาร์ ถ้าเดินผิดปกติและทำมุมกับดวงเมือง มักจะมีการปฏิวัติ รัฐประหาร นักการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามา แม้จะมีนักการเมืองหน้าเก่าๆ เข้ามามากพอสมควร แต่การเล่นการเมืองคราวนี้วิสัยทัศน์จะเปลี่ยนไปในทางที่ดี ความยั่งยืนรัฐบาลชุดนี้ หากพ้น 2 ปีไปได้ก็อยู่ครบเทอมแล้วอาจารย์ณรงค์ ก็ทำนายเรื่องปากท้องคนไทยในปีหน้าไว้ว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม รับรองว่าจะดีขึ้นมากๆ โดย เฉพาะการค้ากับต่างประเทศ เรียกได้ว่าต่างชาติจะเกิดความเชื่อมั่นกับประเทศไทยมากขึ้น การค้าขายกับต่างชาติ และการลงทุนต่างชาติในบ้านเราก็จะดีขึ้น เพราะในเดือนกรกฎาคมจะมีการปรับนโยบายหรือโครงสร้างเกี่ยวกับต่างชาติให้ดีขึ้น
ด้านอาจารย์วารินทร์ หรือนายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ ณ วิหารหลวงปู่เกวาลัน หมู่บ้านสุขิโต จ.เชียงใหม่ ที่เหล่าทหารใน คมช.ให้ความเคารพนับถือ ร่วมวงทายดวงเมืองด้วยเช่นกันว่า ปัญหาบ้านเมืองจะวุ่นวายไม่จบสิ้น เหมือนกับการตามล้างตามผลาญซึ่งกันและกัน จะเกิดจากภัยธรรมชาติเพราะมนุษย์เป็นผู้ทำลายความสมบูรณ์ ต่างๆ ของธรรมชาติ จะมีน้ำท่วม แผ่นดินไหว ดวงเมือง จะมีการสูญเสียบุคคลสำคัญของบ้านเมือง
ด้านการเมือง อาจารย์วารินทร์ทายว่า กลุ่มอำนาจเก่าจะกลับเข้ามาบริหารบ้านเมือง เพียงระยะเวลาหนึ่ง จะเกิดประหัตประหารกัน ภายในเดือนกุมภาพันธ์จะหาเหตุที่จะทำร้ายซึ่งกันและกัน หลังเดือนกุมภาพันธ์จะเกิดการปะทะกันของประชาชน เหมือนกับการล้างแค้น ทหารจะปฏิวัติอีกครั้ง แนวทางแก้ไขปัญหา ต้องอาศัยการหันหน้ามาพูดคุยกัน ถ้ายังแบ่งแยกเป็นกลุ่มเมื่อเข้าสภาก็ยังทะเลาะกันไม่จบสิ้นนอกจากมารวมกันจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ สำหรับดวงของนายสมัคร สุนทรเวช ถ้าเป็นนายกรัฐมนตรีจะเกิดความวุ่นวาย สาเหตุเพราะมีกรรมติดตัว ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โอกาสที่จะเดินทางกลับประเทศไทยนั้น ไม่มี โดยเฉพาะในปี 2551
ขณะที่ “ดร.โกร่ง” นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตมือเศรษฐกิจยุคป๋าเปรม ที่หันมาเอาดีด้านโหราศาสตร์ ก็ขอทายดวงเมืองว่า ดาวพฤหัสฯยังโคจรอยู่ในราศีธนู ไปทับดาวเสาร์ดาวดวงเมืองจะเกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างรุนแรงในระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน จะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง และดาวเสาร์ จะเดินอยู่ในราศีสิงห์ เบียฬดาวอังคารที่เป็นเจ้าเรือนลัคนาของดวงเมือง ซึ่งสถิตอยู่ในราศีพฤษภ ทำให้ประชาชนกับทหารมีการปะทะกันรุนแรง ทหารจะมีบทบาทในบ้านเมืองต่อไป และความวุ่นวายยังคงมีอยู่
นายวีรพงษ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส อาศัยปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทายว่า เศรษฐกิจของไทยกำลังเลื่อนลง การลงทุนที่แท้จริงของประเทศขยายตัวในอัตราที่ต่ำมาก ด้านสถาบันการเงิน สถาบันการเงินอาจล้มได้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจในปีนี้จะเผชิญปัญหายุ่งยาก ภาวะเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับประชาชนทั่วไป ต้องเผชิญกับความยากลำบาก เนื่องจากราคาสินค้า และน้ำมัน เครื่องมือเพื่อความอยู่รอด ให้ท่องคาถาว่า “ต้องขยัน ประหยัด และรู้จักพอดี”
ปิดท้ายที่ พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร สุทธิพันธุ์) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัด ยานนาวา ทำนายอนาคตโดยใช้หลักธรรมทางศาสนาว่า บ้านเมืองกำลังจะเริ่มต้นใหม่ หลังจากมีปัญหามานาน สิ่งใดที่ไม่เข้ารูปเข้ารอย จะฝ่าวิกฤติไปได้ระดับหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากเหตุมีปัจจัย ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
พระพรหมวชิรญาณ ยังมองอนาคตเศรษฐกิจไทยด้วยว่า เศรษฐกิจจะค่อยๆกระเตื้องขึ้น ส่วนจะดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความร่วมมือของคนในชาติว่า จะมีมากน้อยเพียงใด ด้านสังคม ถ้าการเมืองดี เศรษฐกิจดี ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง จะไปสู่บทสรุปที่เป็นหลักธรรมพระพุทธเจ้าที่ว่า ทุกอย่างมาจากเหตุ มีปัจจัยก็มีผล ปัญหาชาติบ้านเมืองสะสมกันมานาน จะมาแก้ในระยะเวลาอันสั้นคงยาก แต่ถ้าผู้นำที่ขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งตระหนักถึงหลักธรรมที่กล่าวมานี้ จะช่วยประเทศ



'จากสมานฉันท์สู่ทะเลาะกันอย่างสันติ' โดย เกษียร เตชะพีระ
คงดีถ้าคนไทยเราจะสมานฉันท์กันได้ในปีใหม่นี้ แต่เมื่อดูผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดประกอบกับแนวโน้มการเมืองรอบหลายปีหลังแล้ว ผมคิดว่าเราควรตั้งเป้าต่ำลงมาให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
คือเอาแค่ให้คนไทยทะเลาะกันอย่างสันติได้ก็พอ! ทั้งนี้ เพราะคะแนน ส.ส. แบบสัดส่วนของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ศกก่อน จำนวน 12,331,381 เสียงนั้นแสดงซ้ำและต่อยอดแบบแผนปรากฏการณ์: -
-11 ล้านเสียงของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2544
-19 ล้านเสียงของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2548
-16 ล้านเสียงของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2549 และ
-10.7 ล้านเสียงที่ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2550

ตัวเลขคะแนนเสียงเหล่านี้เมื่อนำมาวางเคียงข้างคะแนน ส.ส.แบบสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศตนเป็นขั้วตรงข้ามกับพรรคไทยรักไทยในอดีต และพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด จำนวน 12,138,960 คะแนนแล้ว ก็จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างขัดแย้งทางการเมืองอย่างหนักแน่นชัดเจนคงเส้นคงวาระหว่างประชาชน 2 กลุ่มใหญ่ในสังคมไทย - โดยแต่ละกลุ่มต่างก็มีจำนวนพอฟัดพอเหวี่ยงกันกว่าสิบล้านคน-ชนิดที่มิอาจปฏิเสธลบล้างได้ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม
ผมคิดว่านี่คือการแสดงออกทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมของความขัดแย้งทางชนชั้นในสังคมไทยปัจจุบัน ระหว่าง [ชนชั้นนายทุนใหญ่รุ่นใหม่ + ชนชั้นเกษตรกร-แรงงานนอกระบบในเมือง - ที่มีพรรคไทยรักไทยในอดีตและพรรคพลังประชาชนทุกวันนี้เป็นตัวแทน] VS. [ชนชั้นนำแต่เดิม + คนชั้นกลาง - ที่มีพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคขนาดกลาง และเล็กอื่นๆ เป็นตัวแทน]
หากฟังคำว่า 'ชนชั้น' แล้วแสลงใจ จะเรียกเสียใหม่ว่าเป็นความขัดแย้งเชิง 'โครงสร้าง' ก็ได้ กล่าวคือโดยเนื้อแท้แล้วมันไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัว ส่วนกลุ่มพรรคพวกหรือส่วนเครือข่ายอุปถัมภ์, มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงทางอัตวิสัยของใคร ที่จะขอให้เลิกทะเลาะกัน เลิกแล้วต่อกันและหันหน้ามารักกัน แล้วจะพลันทำจริงตามนั้นได้, แต่เป็นความขัดแย้งที่ตั้งวางหยั่งรากอยู่ในฐานะ, ผลประโยชน์และความสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายกับกลุ่มอื่นๆ ฝ่ายอื่นๆ ในโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองทางภาววิสัยของประเทศ
พวกเขาต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กับรัฐ, ทุน, โลกาภิวัตน์, และทรัพยากรทางเศรษฐกิจสังคมแตกต่างกันไปโดยฐานะตำแหน่งที่แต่ละกลุ่มตั้งอยู่ในโครงสร้าง และเพราะความแตกต่างนี้แหละที่ทำให้พวกเขาลุกขึ้นมาขัดแย้งกันทางการเมือง ความขัดแย้งนี้จะดำรงคงอยู่และแสดงออกไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่โครงสร้างนั้นยังคงอยู่ หรือจนกว่ามันจะถูกปรับเปลี่ยนแก้ไขไป
การเมืองไทยได้เข้าสู่ยุคการเมืองเรื่องชนชั้น (class politics) อย่างเปิดเผยแจ่มชัดแล้ว การสมานฉันท์หรือเลิกทะเลาะกันจึงเกิดขึ้นได้ยากภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ ในสภาพเช่นนี้ ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ตรงจะหาทางจัดการอย่างไรให้ความขัดแย้งนั้นไม่ลุกเลยลามปามไปสู่ความรุนแรง ทว่าอยู่ในกรอบของการเมืองเรื่องชนชั้นตามวิถีทางประชาธิปไตย (democratic class politics) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือทำอย่างไรจะให้คนไทยต่างชนชั้นสามารถทะเลาะกันอย่างสันติได้มากกว่า
ประสบการณ์อันพลิกผันปั่นป่วนของการเมืองไทยในรอบสองสามปีที่ผ่านมาได้ให้บทเรียนแก่เราว่าเพื่อให้คนไทยต่างกลุ่มต่างชนชั้นสามารถทะเลาะกันได้อย่างสันติ เพื่อให้การเมืองเรื่องชนชั้น ในสังคมไทยดำเนินไปได้ตามวิถีทางประชาธิปไตย มีเงื่อนไขจำนวนหนึ่งที่ทุกกลุ่มทุกฝ่ายพึงธำรงรักษาและปกป้องไว้ให้ได้ กล่าวคือ: -
1) กองทัพต้องไม่ใช้กำลังเข้าแทรกแซงยุ่งเกี่ยวความขัดแย้งทางการเมือง
ความจริงแล้วทุกฝ่ายต้องไม่ใช้กำลังรุนแรงเข้ามาล่วงล้ำก้าวก่ายบิดผันหักเหบงการบังคับให้กระบวนการทางการเมืองเฉไฉไขว้เขวไปจากครรลองปกติโดยชอบของมัน - แต่ก่อนอื่นและเหนืออื่นใด เราต้องเน้นหนักไปที่กองกำลังติดอาวุธของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
มีพระบรมราโชวาท 2 องค์เมื่อเร็วๆ นี้ ที่พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการใช้กำลังอาวุธของกองทัพอย่างน่าสนใจ ได้แก่พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นายทหารและนายตำรวจชั้นนายพลที่ได้รับพระราชทานยศสูงขึ้นและเข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมศกก่อน ความตอนหนึ่งว่า:-
'ท่านเป็นทหารไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องประหัตประหารใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ว่าท่านจะต้องทำคำ (ปฏิญาณ) ให้ศักดิ์สิทธิ์ และถ้าทำด้วยมีความเข้มแข็ง ในกรณีใดก็ตาม ท่านก็จะปลอดภัย และทำให้บ้านเมืองปลอดภัย ทำให้บ้านเมืองมีความสุข มีความเรียบร้อย'
(อ้างจาก 'ให้ ทหาร-ตำรวจ เข้มแข็ง ในหลวงรับสั่ง
'บ้านเมืองในระยะนี้ดูท่าทางไม่ค่อยเรียบร้อยนัก', ประชาไทออนไลน์, 22 ธ.ค.2550)
และพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ตุลาการศาลทหารฯที่เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมศกก่อน ความบางตอนว่า: -
'.....ทหารถือว่ามีอาวุธ แต่ความยุติธรรมของตุลาการ ก็เท่ากับเป็นอาวุธอีกอย่าง ถ้าท่านรักษาความดีของตุลาการก็จะไม่ต้องใช้อาวุธที่ประหัตประหาร ฉะนั้น ท่านได้ปฏิบัติปฏิญาณตนก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าเป็นการยืนยันว่าท่านมีหน้าที่และหน้าที่ท่านจะสำคัญมากสำหรับประเทศชาติ จะทำให้ประเทศชาติมีความสุขความสงบอยู่ตลอด ไม่จำเป็นที่ประหัตประหารกัน.....
'.....ถ้ามีคนเอาเปรียบคนอื่น จะทำให้บ้านเมืองไปไม่รอด ก็ขอให้ท่านดูแลความยุติธรรม ไม่ใช่ในกองทัพท่านเอง แต่ว่าทั่วไป จะได้ไม่ต้องประหัตประหารกัน.....
'ประเทศไทยอยู่เย็นเป็นสุขมานาน แต่ว่าเดี๋ยวนี้ก็รู้สึกว่าคนเขาจะเอาเปรียบกัน ในการเอาเปรียบกันไม่ดี จะต้องให้มีคนไม่เอาเปรียบ รักษาความสงบสุขต่อไป ขอให้ท่านมีความสำเร็จดีในงานของท่าน และมีความเข้มแข็ง รักษาความยุติธรรม ไม่ใช่ในกองทัพท่านเอง แต่ทั่วไป ให้คนเขาไว้ใจว่าทหารเป็นผู้ที่รักษาความยุติธรรม.....
'กองทัพจะรักษาประเทศชาติได้ ไม่ใช่ด้วยอาวุธประหัตประหาร แต่ว่าด้วยความดี.....'
(อ้างจาก 'บ้านเมืองต้อง'ยุติธรรม' 'ในหลวง'ตรัส ปฏิบัติตัวตามใจชอบไม่ได้',
มติชนรายวัน, 18 ธ.ค.2550, น.1)
2) ทุกฝ่ายต้องไม่ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่องมือกำจัดคู่ขัดแย้งทางการเมือง
ดังตอนหนึ่งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีหมายเลขดำที่ อ.1065/2549 และ อ.1875/2549 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการและอดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายขุนทอง ลอเสรีวณิช บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.328 ประกอบ พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ม.48 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมศกก่อน ว่า: -
'.....ทางนำสืบจำเลยที่ 1 และพฤติการณ์การกล่าวปราศรัยของจำเลยที่ 1 ตามวัตถุพยานของจำเลยที่ 1 ก็ดี การแต่งกายของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าสีของเสื้อที่ใช้สีเหลือง อันเป็นสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตัวอักษรที่หน้าอกเสื้อคำว่า 'เราจะสู้เพื่อในหลวง' ก็ดี ล้วนพยายามสร้างภาพของโจทก์และผู้สนับสนุนโจทก์ ให้มีภาพยืนอยู่ตรงข้ามกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และพยายามสร้างภาพของจำเลยกับพวกให้อิงแอบแนบชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันสูงสุดที่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าต้องเทิดทูน เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับพวกไม่จงรักภักดี ทำตัวเสมอพระมหากษัตริย์ หรือไม่ถวายพระเกียรติพระมหากษัตริย์ เป็นการแยกประชาชนคนไทยที่จงรักภักดี บางส่วนให้เป็นฝ่ายตรงข้ามสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ
'การที่จำเลยที่ 1 พยายามดึงสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพเทิดทูนสูงสุดของประชาชนทุกหมู่เหล่ามาเป็นเครื่องมือในการกำจัดโจทก์กับพวกในทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะร้ายแรง และเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคล หรือคณะบุคคลอื่นๆ อีกต่อไป จึงไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1.....'
(อ้างจาก 'อ้างสถาบัน-สร้างความแตกแยก จำคุก 'สนธิ' 3 ปี หมิ่น 'ทักษิณ'',
ประชาไทออนไลน์, 25 ธ.ค.2550)
3) ทุกฝ่ายต้องช่วยกันพิทักษ์ปกป้องและขยับขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพกับพื้นที่ประชาธิปไตยอันเป็นสมบัติร่วมทางการเมืองของประชาชน
ระบอบเสรีประชาธิปไตยเป็นกรอบกติกาและวิถีทางจัดการความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชนชั้นต่างๆ ให้คลี่คลายไปได้โดยสันติ เพื่อให้ระบอบดังกล่าวดำเนินงานไปได้ จักต้องปกป้องรักษาพื้นที่ 2 ส่วนในสังคมเอาไว้ให้เข้มแข็งมั่นคงและหาทางขยับขยายมันให้กว้างขวางออกไป ได้แก่: -
พื้นที่สิทธิเสรีภาพ - ซึ่งก่อนอื่นหมายถึงสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลพลเมืองและหลักนิติธรรม และ พื้นที่ประชาธิปไตย - ซึ่งก่อนอื่นหมายถึงหลักความเสมอภาคและอำนาจอธิปไตยของประชาชน
ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่สิทธิเสรีภาพและพื้นที่ประชาธิปไตยต่างผลัดกันถูกคุกคามจำกัดลิดรอนอย่างหนักหน่วงตามลำดับ หะแรกโดยรัฐบาลประชาธิปไตยไม่เสรีของนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และต่อมาโดยอำนาจนอกรัฐธรรมนูญและเผด็จการครึ่งใบของคณะรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 และรัฐบาลนายกฯ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
น่าสังเกตว่าทุกครั้งที่พื้นที่สิทธิเสรีภาพและพื้นที่ประชาธิปไตยถูกบีบกดให้หดตัว ปฏิกิริยาตอบกลับในแง่ความขัดแย้งทางชนชั้นก็ยิ่งลุกลามร้อนแรง และการเมืองไทยก็ยิ่งล่อแหลมเข้าใกล้ความรุนแรงไปอีกขีดขั้นหนึ่ง


โลกร้อน... ปรากฏการณ์ที่สร้างความหวาดผวาต่อมนุษยชาติ
ทั้งๆที่หลายปีที่ผ่านมา ธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือนถึงมหันตภัยภัยที่จะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จากปรากฏการณ์เรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจก ที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือ Climate Change แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่สำเหนียกถึงหายนภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ตัว และพร้อมจะคุกคามโลก ขนาดเกิดกรณี น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายและจะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น รวมถึงปรากฏการณ์อื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลทางธรรมชาติ หลายคนยังฟังเพียงผ่านๆ และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว
แต่ยิ่งนานวันผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจากสภาวะโลกร้อน ก็ยิ่งพ่นพิษรุนแรง และลุกลามเพิ่มขึ้น แม้จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น เกิดสภาวะ เย็นจัดผิดปกติ น้ำท่วมมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ความแห้งแล้งยาวนานขึ้น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็วขึ้น ฤดูใบไม้ร่วงมาถึงช้าลง ต้นไม้ออกดอกเร็วขึ้น โรคภัยไข้เจ็บลุกลาม ปะการังฟอกขาว การทับถมของหิมะลดลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหายไป พืชและสัตว์ต่างถิ่นรุกราน แนวชายฝั่งสึกกร่อน ป่าในเขตภูเขาสูงแห้งแล้ง ฯลฯ
ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จากภัยทางธรรมชาติเหล่านี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และทุกครั้งก็เหมือนจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ การยืนยัน และตอกย้ำชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธได้แล้วว่า
วิกฤตการณ์โลกร้อน....เปิดฉากคุกคามมนุษยชาติอย่างหฤโหด!
และวันนี้ภัยธรรมชาติ กลายเป็นภัยใกล้ตัวของสังคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างมากมาย และเกือบจะทั่วทุกมุมโลก ทั้งเพิ่มความซับซ้อนยากต่อการทำนาย
แต่ที่แน่นอนที่สุด คือ ปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะหาต้นเหตุหรือต้นตอของปัญหาจากทฤษฎีใดก็ตาม คำตอบสุดท้าย คือ มนุษย์เป็นตัวการสำคัญของปัญหาโลกร้อน!
พวกเราต่างพากันปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลปกป้องรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซ้ำร้ายกลับช่วยกันคนละไม้คนละมือสร้างมลพิษ จากการใช้น้ำมัน การปล่อยสารพิษ สารเคมี การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติขึ้น รวมทั้งก๊าซชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าซเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนาๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์ และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้น ยิ่งก๊าซเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผิดปกติ หรือมีความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นทั่วโลก
ประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากภาวการณ์นี้ไปได้ จากความผิดปกติของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา นั่นก็คือ ภาวะฝนตกน้ำท่วมขนาดหนักในหลายพื้นที่ การไม่มีฤดูหนาวและฤดูร้อนที่ร้อนมาก หรือกระทั่งแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ขณะที่แนวโน้มของสภาพภูมิอากาศในระยะเวลาประมาณ 40 ปี และ 70 ปีข้างหน้า นักวิชาการจากหลายสำนัก ระบุไปในทิศทางใกล้เคียงกันว่า ประเทศไทยจะมีฝนมากขึ้นในเกือบทุกภาค ส่วนอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในประเทศไทยจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก อาจเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส แต่จำนวนวันที่อากาศเย็นจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในทางกลับกันจำนวนวันที่อากาศร้อนก็จะเพิ่มขึ้นขณะที่ในช่วงเวลาปีต่อปี จะยังคงมีความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศอยู่ เช่น บางปีฝนชุก บางปีแล้งจัด หรือบางปีร้อนมาก เป็นต้น แต่ที่น่าห่วง คือ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศเหล่านี้อาจจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์ เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวถึงผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนว่า สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการศึกษาแบบจำลองสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในอีก 30-80 ปี พบว่า จำนวนวันร้อนที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส จะมีมากขึ้นประมาณ 30-60 วันต่อปี จากปกติ 20 วันต่อปี จังหวัดที่มีวันร้อนมากที่สุด คือ อุทัยธานี เนื่องจากมีพื้นที่อยู่ในหุบเขา รองลงมาคือ นครสวรรค์ สำหรับจำนวนวันเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส จะมีประมาณ 20-30 วันต่อปี จากเดิมประมาณ 30-40 วันต่อปี โดยจังหวัดที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกจะมีจำนวนวันเย็นมากที่สุด
'ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ฤดูน้ำหลากเปลี่ยนแปลงไป โดยในเดือน พ.ย.-ธ.ค. จะมีปริมาณน้ำมากกว่าที่ผ่านมาถึงร้อยละ 40 เนื่องจากทั้งปริมาณน้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมา จะส่งผลทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑลเกิดน้ำท่วมง่ายและถี่ขึ้น' ดร. อานนท์กล่าวย้ำ วิกฤติโลกร้อน ไม่เพียงแต่ ส่งผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่างๆ รวมถึงผลผลิตทาง การเกษตร การแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด และที่หลายคนอาจจะลืมนึกถึง นั่นคือผลกระทบที่สำคัญอันเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ในเชิงสุขภาพอนามัย จากภาวะโลกร้อนที่จะนำมาซึ่งโรคอุบัติใหม่
ศ.ดร.นพ.สมชัย บวรกิตติ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงสถานการณ์โรคที่มากับภาวะโลกร้อนว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้อัตราการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการสูดก๊าซเรดอน (Radon) ซึ่งเป็นภาวะก๊าซที่เกิดขึ้นในพื้นดินแทรกซึมผ่านรอยแตกของตึก อาคาร บ้านเรือนที่ก่อสร้างพื้นบ้านติดดิน เป็นที่นิยมกันทั่วไป หากเทียบอัตรา ส่วนกับบ้านเรือนสมัยก่อนที่นิยมสร้างบ้านลักษณะยกพื้นสูง คนสมัยก่อนจึงมีความเสี่ยงต่ำในการเป็นมะเร็งปอด น่าตกใจว่าปัจจุบันมีคนเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นถึงวันละ 5 ราย
ศ.ดร.นพ.สมชัยอธิบายด้วยว่า ภาวะพิษทางอากาศจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่ไวต่อสารเหล่านั้นจะมีผลให้มีอาการของโรคทางเดินหายใจ และที่เป็นอยู่แล้วจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ในผู้ที่มีโรคปอดหรือโรคหัวใจจะมีความอึดต่อการออกกำลังลดลง สำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ มลพิษทางอากาศที่เกิดจากโลกร้อน จะเป็นปัญหาสำคัญของชุมชนเมืองใหญ่และเมืองอุตสาหกรรม
ภาวะโลกร้อนยังเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเขตร้อน ทำให้เกิดความชุกเพิ่มขึ้นในประเทศ และแพร่ขยายออกไปสู่ประเทศที่อยู่เหนือขึ้นไปที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของพาหะนำโรค เช่น โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออกเดงกี โรคสมองอักเสบติดเชื้ออาร์บอไวรัส ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เพราะยิ่งอุณหภูมิโลกสูงขึ้นก็ยิ่งเหมาะแก่การนำพาโรคและออกหากินบ่อยขึ้น
ขณะที่ นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จากการประชุมประเมินสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ จากภาวะโลกร้อนในระดับนานาชาติ มีความกังวลถึงผลกระทบด้านสุขภาพ เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย รวมทั้งโรคจากอาหารและน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ไทฟอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เป็นต้น นอกจากนี้สภาพอากาศที่ร้อนชื้นยังทำให้แบคทีเรียในอากาศมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ มีโอกาสในการแพร่ระบาดสูง ในอนาคตมีความเป็นไป ได้ว่าโรคเหล่านี้หากไม่รีบรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อาจมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 60%
'โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ต้องจับตามองมากที่สุด เพราะนอกจากยังไม่มียาหรือวัคซีนในการรักษาแล้ว ปัจจุบันยังพบว่ายุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรค ซึ่งเคยออกหากินเฉพาะแต่ในเวลากลางวัน ได้เปลี่ยนมาออกหากินในเวลาพลบค่ำจนถึง 5 ทุ่ม ทำให้ยากต่อการป้องกันหรือวินิจฉัยโรค ปัญหาโลกร้อนจึงเป็น 'มหันตภัยแห่งอนาคตของมนุษยชาติ' อย่างแท้จริง และสังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายของสภาพอากาศ' นพ.ธวัชแสดงความห่วงใย
จากวิกฤติมหันตภัยทางธรรมชาติที่เพิ่มความรุนแรงและขยายวงมากขึ้นทุกที ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม มองว่า การยุติปัญหาโลกร้อนเป็นหน้าที่ของมนุษยชาติทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา อายุ อาชีพ หรือฐานะความร่ำรวย หรือยากจน แต่ทุกคนต้องมีจิตสำนึกและเริ่มต้นปรับตัว ปรับใจ และปรับวิธีการใช้ชีวิตเพื่อร่วมกันป้องกัน และแก้ไขมหันตภัยที่คืบคลานเข้าคุกคามมนุษยชาติ
โดยเฉพาะเรามองว่า หัวใจในการแก้วิกฤติครั้งนี้ คือ การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ 'เศรษฐกิจพอเพียง' ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการรู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ที่เริ่มได้ตั้งแต่ส่วนเล็กที่สุด คือ ตัวเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และสังคมโลก ด้วยการร่วมแรงร่วมใจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้พลังงานน้ำมัน หาพลังงานทดแทน สกัดกั้นการตัดไม้ทำลายป่า ทั้งต้องปลูกป่าเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือ มนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมและรักธรรมชาติ
เพราะการรักษาความสมดุลของธรรมชาติไม่ให้ถูกย่ำยี หรือทำร้ายเกินกว่าความจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ น่าจะเป็นหัวใจในการช่วยปกป้องโลกใบนี้ให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
หรือต้องรอให้เกิดโศกนาฏกรรม ที่ต้องสังเวยด้วยชีวิตอีกกี่สิบกี่ร้อยล้านคน
อย่าสร้างตราบาปให้คนรุ่นลูกหลานจดจำว่า มหันตภัย...โลกร้อน เกิดจากน้ำมือและน้ำใจของคนรุ่นปัจจุบันเลย!!!



ประชุมวิชาการนานาชาติ สาขาเคมี สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ครั้งที่ 1
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี จัดประชุมวิชาการนานาชาติ สาขาเคมี สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ครั้งที่ 1
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ Department of Chemical Engineering, Tokyo Institute of Technology (Tokyo Tech), Tokyo ประเทศญี่ปุ่น จะจัดประชุมทางวิชาการนานาชาติ ในหัวข้อ เรื่อง “The 1st Thammasat University International Conference on Chemical, Environmental and Energy Engineering ~THINK TODAY, THINK SUSTAINABLE” ในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมเคมี สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ได้มีโอกาสเสนอผลงานทางวิชาการ รวมทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองภาควิชาข้างต้น
ผู้สนใจโปรดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี โทร.02-564-3002-9 ต่อ 3120 ,3040 หรือ //www.cheee.engr.tu.ac.th

The 1st Thammasat University
International Conference on Chemical,
Environmental and Energy Engineering

TU-ChEEE 2008
Co-organized by
Department of Chemical Engineering - Tokyo Institute of Technology, JAPAN

IMPORTANT DATES 2007
Dec 1st Announcement and call for paper
2008
Feb 1st Deadline for manuscript submission
Feb 10th Notification of acceptance
Feb 15th Deadline for registration at reduced fee rates
Mar 4th TU-ChEEE 2008

Regular - Student

Before Feb 15th, 2008 After Feb 15th, 2008
2,000 THB 2,500 THB
1,200 THB 1,500 THB

TU-ChEEE 2008
THINK TODAY, THINK SUSTAINABLE

CONTACT US
Correspondence to Ms. Kwanmanat Mitsuphun
Department of Chemical Engineering
Faculty of Engineering
Thammasat University
99 Moo 18 Paholyothin Rd., Khlong Nung,
Khlong Luang, Pathumthani, 12120
THAILAND
Tel & Fax: (66) 02-5643001-9 Ext. 3040
E-mail address: cheee@engr.tu.ac.th
FURTHER INFORMATION
Please visit our web site
www.cheee.engr.tu.ac.th

Further information will be available only at our web
page. Please add our URL to your bookmark.
Address : 1 Rachadaphisek Road, Fortune Town Building, Dindaeng, Bangkok 10320
Tel: (662) 641 -1500 Fax: (662) 641-1530
MAP OF GRAND MERCURE FORTUNE BANKOK HOTEL
March 4th, 2008
Grand Mercure Fortune Bangkok Hotel



“การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชน : มุมมองเชิงเปรียบเทียบและเรียนรู้จากประสบการณ์ ของเมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น”
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ณ ห้องประชุมจุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8.30 – 9.00 ผู้เข้าร่วมงานลงทะเบียน
9.00 – 9.10 พิธีเปิดและกล่าวต้อนรับโดย อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รอการยืนยัน) และ มร. ทาเคจิ โยชิคาวา,ผู้อำนวยการเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
9.10 – 9.40 ฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับเมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่นและปาฐกถานำโดย รศ. สุริชัย หวันแก้ว, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และรศ. ดร. ทาคาโยชิ คุซะโกะ, รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยโอซาก้า
9.40 – 10.20 การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “จากเมืองแห่งมลพิษ ก้าวสู่การเป็นเมอืงตัวอย่างทางด้านสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและความเป็น “หุ้นส่วนใหม่” ต่อการจัดการปัญหามลภาวะจากอุตสาหกรรมและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม” โดย คุณโยชิอิ มาซาซูมิ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมินามาตะ (บรรยายเป็นภาษาญี่ปนุ่ และมีลา่ มแปลภาษาไทย)
10.20 – 10.30 แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถามต่างๆ
10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง ชา-กาแฟ
10.45 – 11.25 การบรรยายเรื่อง “การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศนะใหม่ในเมืองมินามาตะ สู่ท้องถิ่นนิยมและชุมชนศึกษา
(จิโมะโตะ กักคุ) เพื่อสร้างความปรองดองในสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติและอุตสาหกรรม” โดยคุณเท็ตสึโระ โยชิโมโต, ผู้อำนวยการ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์โรคมินามาตะ บรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่นและมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย
11.25 – 12.00 การบรรยายเรื่อง “การจัดการขยะและของเสียในเมืองมินามาตะ” โดยคุณเอ็ตสึโกะ นูมาตะ หัวหน้ากลุ่มสตรีเพื่อการรณรงค์การลดขยะและของเสีย (บรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น และมีล่ามแปลภาษาไทย)
12.00 – 12.15 เสนอแนะข้อคิดเห็นเพิ่มเติม โดยคุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง, ผู้ประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายรณรงค์เพื่ออุตสาหกรรมทางเลือกรศ. ดร. พิเชษฐ์ เมาลานนท์, นักวิชาการอิสระและอดีตอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีอิกาตะ ประเทศญี่ปุ่น (รอการยืนยัน)
ดำเนินรายการโดยรศ. สุริชัย หวันแก้ว, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และรศ. ดร. ทาคาโยชิ คุซะโกะ มหาวิทยาลัยโอซาก้า
12.15 – 12.30 แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถามต่างๆ
12.30 สรุปและกล่าวปิดการสัมมนาโดย รศ. สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ

The 4th JF Fellow Seminar 2008
“Experience of Minamata: Community Revitalization and Environmental Restoration”

15th February 2008 (Fri.)
Venue: Chumpot – Pantip Meeting Room, 4th Floor of Prajadhipok – Rambhai Barni Building,Chulalongkorn University

8.30 – 9.00 Registration
9.00 – 9.10 Welcome Remarks by President of Chulalongkorn University (to be confirmed)
Opening Remarks by Mr. Takeji YOSHIKAWA, Director General, The Japan Foundation,Bangkok
9.10 – 9.40 VDO/VCD Documentary Presentation and Introductory Keynote Addresses by Cochairs:
1.) Assoc. Prof. Dr. Takayoshi KUSAGO, Deputy Director of Global Collaboration Center,Osaka University

2.) Assoc. Prof. Surichai Wun’geao, Director of Social Research Institute, Chulalongkorn University

9.40 – 10.30 Changing from the Polluted City to the Environmental Model City : The “New Partnership” Movement and Citizen’s Participation: by Mr. Yoshii Masazumi, former mayor of Minamata City
10.30 – 10.45 Coffee Break
10.45 – 11.25 “JIMOTO-GAKU” Community and Neighborhood Studies for Creating and Maintaining Harmony in Society, Nature, Culture and Industry: A Paradigm Shift in Minamata City by Mr. Tetsuro Yoshimoto, Director of Minamata Disease Municipal Museum

11.25 – 12.00 Waste Management in Minamata: A Recovery and Going Beyond by Ms. Etsuko Numata, Women’s Group for Reducing Waste
12.00 – 12.30 Discussants and Comments (including Questions and Answers):
(1) Ms. Penchom Saetang, Coordinator, Campaign for Alternative Industry Network
(2) Assoc. Prof. Dr. Pichet Maolanond, former Professor of Law at Niigata University (to be confirmed)
Co-chaired and moderated by: Assoc. Prof. Surichai Wun’Geao, and Assoc. Prof. Dr.Takayoshi KUSAGO
12.30 Closing Ceremony

นับถอยหลังทีไอทีวีจอมืด
นายอัชฌา สุวรรณปากแพรก ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี พร้อมผู้บริหารสถานีข่าวได้เปิดแถลงข่าววานนี้ (11 ม.ค.) ถึงกรณีที่มีข่าวว่า พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจะมีผลบังคับใช้ในวันจันทร์ที่ 14 ม.ค.51 ทำให้กรมประชาสัมพันธ์ต้องทำการถ่ายโอนทรัพย์สินอำนาจหน้าที่ต่างๆของโทรทัศน์ทีไอทีวีไปเป็นทีวีสาธารณะตามบทเฉพาะกาลมาตรา 57 ว่า พนักงานทีไอทีวีขอแสดงจุดยืนในการเป็นทีวีสาธารณะโดยไม่คัดค้านแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ยอมรับว่าเกิดความไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่โปร่งใสหลายอย่างที่อาจก่อให้เกิดเป็นปัญหาในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านเป็นทีวีสาธารณะ ซึ่งฝ่ายข่าวสถานีทีไอทีวีจึงประกาศจุดยืนที่จะตรวจสอบการเปลี่ยนผ่านในทุกขั้นตอน
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีสาธารณะที่มีคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดผังรายการ การเข้ามาปรับโครงสร้างสถานีหรือการพูดผ่านสื่อว่าจะมีการปรับลดพนักงานลงเหลือ 400 คน หรือลดลงครึ่งหนึ่ง เพราะหน้าที่ดังกล่าวต้องให้คณะกรรมการนโยบายชั่วคราว 5 คน เป็นผู้ดำเนินการตามกฎหมาย แต่ขณะนี้กลับมีการจัดผังรายการใหม่ออกมาเสร็จสรรพแล้ว ทำให้ดูเสมือนว่าคณะกรรมการที่จะเสนอ ครม.เปรียบเสมือนเป็นตรายางเท่านั้น จึงอยากให้ ครม.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ
นางสาวตวงพร อัศววิไล บรรณาธิการประจำวัน กล่าวว่า ผังรายการได้ลดรายการข่าวเหลือเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิม 9 ชั่วโมง ไม่มีข่าวภาคค่ำและมีข่าวช่วง 3 ทุ่มเพียง 30 นาทีเท่านั้น เป็นผังรายการที่แสดงเจตนาให้เห็นว่ามุ่งทำลายความเข้มแข็งขององค์กรฝ่ายข่าวและแทรกแซงฝ่ายข่าวให้มีสภาพอ่อนแอและง่ายต่อการควบคุม แม้แต่รายการร่วมมือร่วมใจที่ถือเป็นรายการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วประเทศก็ถูกถอด ออก เพียงเพราะต้องการนำรายการของกรรมการเตรียมความพร้อมบางคนเข้ามาแทนเท่านั้น
“ผังรายการใหม่เหมือนเป็นการยืมจมูกคนอื่นหายใจ มีการแบ่งเค้กกันเสร็จสรรพ บอกตามตรงรู้สึกเสียดายกับ 11 ปีที่องค์การได้ทุ่มเทมาจนสามารถทำให้สถานีมีเรตติ้งอยู่อันดับ 3 และหากมีการนำผังใหม่มาใช้โดยอ้างว่าไม่คำนึงเรื่องเรตติ้งก็มีบทเรียนอยู่แล้วที่ช่อง 11”
ด้านนายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายข่าว กล่าวว่า ขณะนี้กรมประชาสัมพันธ์ได้ส่งหนังสือมายังสถานีเพื่อให้พนักงานรับทราบว่าสัญญาว่าจ้าง 3 เดือนเดิมจะสิ้นสุดลงหากสถานีเปลี่ยนไปเป็นทีวีสาธารณะ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ศาลปกครองได้มีการคุ้มครองเป็นระยะเวลา 3 เดือน เจตนาดังกล่าวเนื่องจากคณะกรรมการเตรียมพร้อมต้องการให้เลิกจ้างพนักงาน 400 คน โดยจะจ้างใหม่เพียง 400 คน เพราะหากไม่มีการเพิ่มเติมข้อนี้จะทำให้องค์การใหม่ต้องรับภาระผูกพันในสัญญาจ้างพนักงานทั้งหมดไปด้วย
ขณะที่นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช พิธีกรร่วมมือร่วมใจ กล่าวว่า เรื่องการเปลี่ยนผ่านเป็นทีวีสาธารณะในขณะนี้เห็นว่ารัฐบาลชุดรักษาการไม่ควรจะเร่งดำเนินการหรือรวบรัด เพราะตามกฎหมายเมื่อ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ ต้องมีการตั้งคณะกรรมการ 5 คน และต้องใช้เวลาอีก 180 วัน สรรหาคณะกรรมการเพื่อจะสร้างองค์กรใหม่และยังให้โอกาสอีก 120 วัน เพื่อสรรหาผู้อำนวยการอีก ดังนั้น จะเห็นว่ากว่าขบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นทีวีสาธารณะจริงๆต้องใช้เวลาอีกมาก ไม่ใช่รวบรัดเช่นที่รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันอังคารที่ 15 ม.ค.นี้ จะมีการนำรายชื่อคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว 5 คน ให้ ครม.อนุมัติพร้อมผังรายการใหม่ซึ่งมีรายการของนักจัดรายการวิทยุชื่อดังในเครือข่ายกรรมการชั่วคราวรวมอยู่ด้วย โดยกรรมการทั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกฯ นางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ นางนวล-น้อย ตรีรัตน์ นายขวัญสรวง อติโพธิ และนายอภิชาติ ทองอยู่
ด้านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รอกฎหมาย พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้สามารถประกาศใช้อย่างเป็นทางการ จากนั้นจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว 5 คน เพื่อรับมอบถ่ายโอนภารกิจทรัพย์สินหนี้สินจากกรมประชาสัมพันธ์ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเข้าไปดำเนินการปรับเปลี่ยนผังรายการเดิมของทีไอทีวี เพื่อเข้าสู่ผังรายการทีวีสาธารณะ พร้อมยืนยันว่า ระหว่างดำเนินการจะไม่กระทบต่อการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีหรือไม่มีจอดำอย่างแน่นอน


กำหนดการสัมมนาเรื่อง 'สิทธิมนุษยชนไทยในยุคการเมืองเปลี่ยนผ่าน'
จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-2229111-26


12.00-13.00 น. ลงทะเบียน

13.00-13.15 น. กล่าวรายงานการจัดประชุม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ประธานคณะกรรมการหลักสูตรสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

13.15-13.30 น. กล่าวเปิดประชุม โดย ศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

13.30-14.00 น. กล่าวจุดประเด็นการสัมมนา "สิทธิมนุษยชนไทยในยุคการเมืองเปลี่ยนผ่าน โดย จอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน

14.00-14.15 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ดำเนินรายการโดย : วราภรณ์ แช่มสนิท สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล

14.15-16.15 น. การอภิปรายเรื่อง "ทิศทางสิทธิมนุษยชนไทย อะไรคือคำตอบ???" ดำเนินรายการโดย กฤตยา อาชวนิจกุล

ผู้อภิปราย สมชาย หอมลออ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ประวิตร โรจนพฤกษ์ หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ทิชา ณ นคร ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนบ้าน กาญจนาภิเษก
ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ศรีประภา เพชรมีศรี สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและ การพัฒนาสังคม ม.มหิดล

ปาฐกถาเสมพริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ 14 'พุทธธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์' โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล - เกิด เมื่อปี พ.ศ. 2492 ที่ปากอ่าวแม่น้ำบางประกง พ่อเป็นช่างเครื่องเรือตังเก แม่ขายผักและผลไม้อยู่ในตลาด ศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทและปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเข้าร่วมต่อสู้ในฐานะนักรบปฏิวัติ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายหลังรู้สึกผิดหวังกับแนวทางปฏิวัติ จึงเดินลงจากภูมอบตัวกับทางการในปี 2523 และได้เดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล และเข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ ผลิตงานเขียนออกมาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งบทความ เรื่องสั้น สารคดี และทำหน้าที่ในฐานะนักวิชาการเสนอข้อคิดและแนวทางแก้ไขปัญหาของสังคมไทยผ่านงานเขียนของตน ไม่เพียงทำงานด้านวรรณกรรม หากยังเป็นทั้งนักเดินทาง และนักวิชาการผู้สนใจปรากฏการณ์สังคมอย่างใกล้ชิดไปในเวลาเดียวกัน

ปาฐกถาเสมพริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ 14 'พุทธธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์'
โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา คลองสาน กรุงเทพฯ
10 กุมภาพันธ์ 2551

09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียนร่วมฟังเสวนา
10.00 – 12.00 น. เสวนา หัวข้อ “การแสวงหาทางจิตวิญญาณในยุค Google”
12.00 – 13.00 น. ลงทะเบียน งานปาฐกถาเสมพริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ ๑๔
13.00 – 13.15 น. บรรเลงขลุ่ยภาวนา*
13.15 – 13.30 น. ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว กล่าวเปิดงานปาฐกถา
13.30 – 13.45 น. ฉายวีดิทัศน์ รายงานกิจกรรมเสมสิกขาลัย ปี ๒๕๕๐
13.45 – 14.00 น. กล่าวแนะนำปาฐกโดย เสถียร เศรษฐสิทธิ์
14.00 – 15.30 น. ปาฐกถา หัวข้อ “พุทธธรรมในยุคโลกาภิวัตน์” โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
15.30 – 16.00 น. ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิด
16.00 – 16.15 น. กล่าวปิดงานโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์
สอบถามเพิ่มเติมได้
เสมสิกขาลัย สำนักงานรามคำแหง
สาวิตรี กำไรเงิน หรือ ฐิติรัตน์ จันทร์เนียม
29/15 ซอยรามคำแหง 21 แขวง/เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
หมายเลขโทรศัพท์ 02-314 7385 ถึง 6
e-mail address semsikkha_ram@yahoo.com


H O M E

Create Date :22 กุมภาพันธ์ 2551 Last Update :22 กรกฎาคม 2551 23:09:28 น. Counter : Pageviews. Comments :114