bloggang.com mainmenu search

อช.เชว กิจ.จมาตป.ปํ

( อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง )

รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้


อต.ตนา โจทยต.ตานํ

( อัตตะนา โจทะยัตตานัง )

จงเตือนตนด้วยตนเอง


อต.ตนา หิ สุทน.เตน นาถํ ลภติ ทุล.ลภํ

( อัตตะนา หิ สุทันเตนะ นาถัง ละภะติ ทุลละภัง )

มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก


อต.ตา สุทน.โต ปุริสส.ส โชติ

( อัตตา สุทันโต ปุริสัสสะ โชติ )

ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นเครื่องรุ่งเรืองของคน


อต.ตานํ ทมยน.ติ ปณ.ฑิตา

( อัตตานัง ทะมะยันติ ปัณฑิตา )

บัณฑิตย่อมฝึกตน


อนากุลา จ กม.มน.ตา เอตม.มง.คลมุต.ตมํ

(อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง)

การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอันสูงสุด


อนิพ.พิน.ทิยการิส.ส สม.มทต.โถ วิปจ.จติ

( อะนิพพินทิยะการิสสะ สัมมะทัตโถ วิปัจจะติ )

ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย


อป.ปมต.ตา น มียน.ติ

( อัปปะมัตตา นะ มียันติ )

ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย


อป.ปมาเทน สม.ปาเทถ

( อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ )

จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท


อป.ปมาโท อมตํ ปทํ

( อัปปะมาโท อะมะตัง ปะทัง )

ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย


อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อป.เปน พหุเกน วา

( อะโมฆัง ทิวะสัง กะยิรา อัปเปนะ พะหุเกนะ วา )

เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง


อโหรต.ตมตน.ทิตํ ตํ เว ภท.เทกรต.โตติ

( อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ )

ขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา นั้นแลเรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค


อาปูรติ ธีโร ปุญ.ญส.ส โถกํ โถกํปิ อาจินํ

(อาปูระติ ธีโร ปุญญัสสะ โถกัง โถกังปิ อาจินัง)

ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมด้วยความดี


อาโรค.ยปรมา ลาภา

( อาโรคยะปะระมา ลาภา )

ความไม่มีโรค เป็นยอดแห่งลาภ


อาสึเสเถว ปุริโส

( อาสิงเสเถวะ ปุริโส )

เป็นคนควรหวังเรื่อยไป


กต.ตพ.พํ กุสลํ พหุ

( กัตตัพพัง กุสะลัง พะหุง )

เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง พึงสร้างความดีไว้ให้มาก


กถม.ภูตส.ส เม รต.ติน.ทิวา

( กะถัมภูตัสสะ เม รัตตินทิวา )

วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่


กม.มุนา วต.ตตี โลโก

( กัมมุนา วัตตะตี โลโก )

สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม


กม.มุนา โหติ พ.ราห.มโณ

( กัมมุนา โหติ พราหมะโณ )

เป็นคนประเสริฐ เพราะการกระทำ


โกธํ ฆต.วา สุขํ เสติ

( โกธัง ฆัตวา สุขัง เสติ )

ฆ่าความโกรธได้แล้ว นอนเป็นสุข


ขโณ โว มา อุปจ.จคา

( ขะโณ โว มา อุปัจจะคา )

อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย


จิต.ตส.ส ทมโถ สาธุ

( จิตตัสสะ ทะมะโถ สาธุ )

การฝึกจิต ให้เกิดผลดี


จิต.ตํ ทน.ตํ สุขาวหํ

( จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง )

จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้


จิต.ตํ รก.เขถ เมธาวี

( จิตตัง รักเขถะ เมธาวี )

ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต


ตญ.จ กม.มํ กตํ สาธุ ยํ กต.วา นานุตป.ปติ

( ตัญจะ กัมมัง กะตัง สาธุ ยัง กัตวา นานุตัปปะติ )

ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี


ททมาโน ปิโย โหติ

( ทะทะมาโน ปิโย โหติ )

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก


ทน.โต เสฏ.โฐ มนุส.เสสุ

( ทันโต เสฏโฐ มะนุสเสสุ )

ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้วประเสริฐสุด


ทฬ.หเมนํ ปรก.กเม

( ทัฬหะเมนัง ปะรักกะเม )

พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง


ทิน.นํ สุขผลํ โหติ

( ทินนัง สุขะผะลัง โหติ )

ของที่ให้แล้ว ชื่อว่าอำนวยสุขเป็นผลแล้ว


เทวา น อิส.สน.ติ ปุริสปรก.กมส.ส

( เทวา นะ อิสสันติ ปุริสะปะรักกะมัสสะ )

ความเพียรของคนไม่ลดละ ถึงเทวดาก็กีดกันไม่ได้


ธม.มจารี สุขํ เสติ

( ธัมมะจารี สุขัง เสติ )

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข


ธม.มปีติ สุขํ เสติ

( ธัมมะปีติ สุขัง เสติ )

ผู้อิ่มใจในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข


ธม.เม ฐิโต ปรโลกํ น ภาเย

( ธัมเม ฐิโต ปะระโลกัง นะ ภาเย )

ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก


ธม.โม สุจิณ.โณ สุขมาวหาติ

( ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ )

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข


ธม.โม หเว รก.ขติ ธม.มจารึ

( ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง )

ธรรมนั่นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรม


ธีโร จ สุขสํวาโส

( ธีโร จะ สุขะสังวาโส )

ปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข


นต.ถิ ปญ.ญาสมา อาภา

( นัตถิ ปัญญาสะมา อาภา )

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี


นิช.ฌต.ติพลา ปณ.ฑิตา

( นิชฌัตติพะลา ปัณฑิตา )

ขุมกำลังของบัณฑิต คือการรู้จักพินิจ


ปจ.จุป.ปน.เนน ยาเปน.ติ เตน วณ.โณ ปสีทติ

( ปัจจุปันเนนะ ยาเปนติ เตนะ วัณโณ ปะสีทะติ )

อยู่กับปัจจุบัน ผิวพรรณจะผ่องใส


ปญ.ญํ นป.ปมช.เชย.ย

( ปัญญัง นัปปะมัชเชยยะ )

ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา


ปญ.ญา เจนํ ปสาสติ

( ปัญญา เจนัง ปะสาสะติ )

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว


ปญ.ญา นรานํ รตนํ

( ปัญญา นะรานัง ระตะนัง )

ปัญญาเป็นดวงแก้วของคน


ปญ.ญา โลกส.มิ ปช.โชโต

( ปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต )

ปัญญาเป็นดวงชวาลาในโลก


ปญ.ญา ว ธเนน เสย.โย

( ปัญญา วะ ธะเนนะ เสยโย )

ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์


ปญ.ญ สุตวินิจ.ฉินี

( ปัญญา สุตะวินิจฉินี )

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน


ปญ.ญาชีวี ชีวิตมาหุ เสฏฐํ

( ปัญญาชีวิง ชีวิตะมาหุ เสฏฐัง )

ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด


ปญ.ญาย ติต.ตีนํ เสฏฐํ

( ปัญญายะ ติตตีนัง เสฏฐัง )

อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย


ปญ.ญาย อต.ถํ ชานาติ

( ปัญญายะ อัตถัง ชานาติ )

ด้วยปัญญา จึงจะรู้ว่าอะไรเป็นประโยนชน์


ปญ.ญายต.ถํ วิปส.สติ

( ปัญญายัตถัง วิปัสสะติ )

ดัวยปัญญา จึงจะเห็นอรรถชัดแจ้ง


ปญ.ญาสหิโต นโร อิธ ทุก.เข สุขานิ วิน.ทติ

( ปัญญาสะหิโต นะโร อิธะ ทุกเข สุขานิ วินทะติ )

คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ


ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏ.ฐาตา วิน.ทเต ธนํ

( ปะฏิรูปะการี ธุระวา อุฏฐาตา วินทะเต ธะนัง )

ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้


ปณ.ฑิตา โสกนุทา ภวน.ติ

( ปัณฑิตา โสกะนุทา ภะวันติ )

บัณฑิตช่วยปัดเป่าทุกข์โศกความเศร้าของปวงชน


ปุญ.ญํ โจเรหิ ทูหรํ

( ปุญญัง โจเรหิ ทูหะรัง )

ความดี โจรลักไม่ได้


ภเวย.ย ปริปุจ.ฉโก

( ภะเวยยะ ปะริปุจฉะโก )

พึงเป็นนักสอบถามหาความรู้


โภคา สน.นิจยํ ยน.ติ วม.มิโกวูปจียติ

( โภคา สันนิจะยัง ยันติ วัมมิโกวูปะจียะติ )

ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก


มา ชาตึ ปุจ.ฉ จรณญ.จ ปุจ.ฉ

( มา ชาติง ปุจฉะ จะระณัญจะ ปุจฉะ )

อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ


ยํ ลท.ธํ เตน ตุฏฐพ.พํ

( ยัง ลัทธัง เตนะ ตุฏฐัพพัง )

ได้สิ่งใด พึงพอใจด้วยสิ่งนั้น


โยคา เว ชายเต ภูริ

( โยคา เว ชายเต ภูริ )

ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ


รต.โย อโมฆา คจ.ฉน.ติ

( รัตโย อะโมฆา คัจฉันติ )

คืนวันไม่ผ่านไปเปล่า


ลพ.ภา ปิยา โอจิตต.เตน ปจ.ฉา

( ลัพภา ปิยา โอจิตัตเตนะ ปัจฉา )

เตรียมตัวไว้ให้ดีก่อนแล้ว ต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก


นิป.ผน.นโสภิโน อต.ถา

( นิปผันนะโสภิโน อัตถา )

ประโยชน์งามตรงที่สำเร็จ


นิพ.พานํ ปรมํ สุขํ

( นิพพานัง ปะระมัง สุขัง )

นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


นิวต.ตยน.ติ โสกม.หา

( นิวัตตะยันติ โสกัมหา )

คนใจการุณย์ ช่วยแก้ไขให้คนหายโศกเศร้า


โนปลิป.ปติ โลเกน โตเยน ปทุมํ ยถา

( โนปะลิปปะติ โลเกนะ โตเยนะ ปะทุมัง ยะถา )

ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำ


วายเมเถว ปุริโส ยาว อต.ถส.ส นิป.ปทา

( วายะเมเถวะ ปุริโส ยาวะ อัตถัสสะ นิปปะทา )

เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่หมายจะสำเร็จ


วิเจย.ยทานํ สุคตป.ปสต.ถํ

( วิเจยยะทานัง สุคะตัปปะสัตถัง )

ให้ด้วยพิจารณา พระศาสดาทรงสรรเสริญ


วิช.ชา อุป.ปตตํ เสฏฐา

( วิชชา อุปปะตะตัง เสฏฐา )

บรรดาสิ่งที่งอกงาามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด


วิช.ชาจรณสม.ปน.โน โส เสฏโฐ เทวมานุเส

( วิชชาจะระณะสัมปันโน โส เสฏโฐ เทวะมานุเส )

ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรรยา ชื่อว่าประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา


วิริเยน ทุก.ขมจ.เจติ

( วิริเยนะ ทุกขะมัจเจติ )

คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร


สจิต.ตมนุรก.ขถ

( สะจิตตะมะนุรักขะถะ )

จงตามรักษาจิตของตน


สจ.จํ หเว สาธุตรํ รสานํ

( สัจจัง หะเว สาธุตะรัง ระสานัง )

สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารส


สติ ปโตโท ธีรส.ส

( สะติ ปะโตโท ธีรัสสะ )

สติเป็นปฏักของนักปราชญ์


สติ โลกส.มิ ชาคโร

( สะติ โลกัสมิ ชาคะโร )

สติเป็นความตื่นตัวในโลก


สติมโต สทา ภท.ทํ

( สะติมะโต สะทา ภัททัง )

คนมีสติ เท่ากับมีของดีที่นำโชคตลอดเวลา


สติมโต สุเว เสย.โย

( สะติมะโต สุเว เสยโย )

คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน


สท.ธา ทุติยา ปุริสส.ส โหติ

( สัทธา ทุติยา ปุริสัสสะ โหติ )

ศรัทธาเป็นมิตรคู่ใจคน


สท.ธีธ วิต.ตํ ปุริสส.ส เสฏฐํ

( สัทธีธะ วิตตัง ปุริสัสสะ เสฏฐัง )

ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐของคนในโลกนี้


สพ.พทานํ ธม.มทานํ ชินาติ

( สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ )

การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง


สพ.พํ อิส.สริยํ สุขํ

( สัพพัง อิสสะริยัง สุขัง )

อิสรภาพเป็นสุขทั้งสิ้น


สพ.เพสํ สหิโต โหติ

( สัพเพสัง สะหิโต โหติ )

คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน


สมค.คานํ ตโป สุโข

( สะมัคคานัง ตะโป สุโข )

เมื่อคนพร้อมเพรียงกัน ความเพียรพยายามก็นำสุขมาให้


สมุฏ.ฐาเปติ อต.ตานํ อณุ อค.คึว สน.ธมํ

( สะมุฏฐาเปติ อัตตานัง อะณุง อัคคิงวะ สันธะมัง )

ตั้งตัวให้ได้ เหมือนก่อไฟจากเชื้อนิดเดียว


สยํ กตานิ ปุญ.ญานิ ตํ มิต.ตํ สม.ปรายิกํ

( สะยัง กะตานิ ปุญญานิ ตัง มิตตัง สัมปะรายิกัง )

บุญที่ทำไว้เอง เป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า


สยํ กตานิ ปุญ.ญานิ ตํ เว อาเวณิยํ ธนํ

( สะยัง กะตานิ ปุญญานิ ตัง เว อาเวณิยัง ธะนัง )

ความดีที่ทำไว้เองนั่นแล เป็นทรัพย์ส่วนตัวแท้ ๆ


สํวิรุฬ.เหถ เมธาวี

( สังวิรุฬเหถะ เมธาวี )

เล่าเรียนมีปัญญา จะเจริญงอกงาม


สิก.เขย.ย สิก.ขิตพ.พานิ

( สิกเขยยะ สิกขิตัพพานิ )

อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด


สีลํ กวจมพ.ภุตํ

( สีลัง กะวะจะมัพภุตัง )

ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์


สีลํ ยาว ชรา สาธุ

( สีลัง ยาวะ ชะรา สาธุ )

ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จ ตราบเท่าชรา


สีลํ อาภรณํ เสฏฐํ

( สีลัง อาภะระณัง เสฏฐัง )

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ


สุกรํ สาธุนา สาธุ

( สุกะรัง สาธุนา สาธุ )

ความดี คนดีทำง่าย


สุขส.ส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจ.ฉติ

( สุขัสสะ ทาตา เมธาวี สุขัง โส อะธิคัจฉะติ )

คนฉลาด ให้ความสุข ก็ได้ความสุข


สุขํ วต ตส.ส น โหติ กิญ.จิ

( สุขัง วะตะ ตัสสะ นะ โหติ กิญจิ )

ไม่มีอะไรค้างใจกังวล มีแต่ความสุขหนอ


สุขา สง.ฆส.ส สามค.คี

( สุขา สังฆัสสะ สามัคคี )

สามัคคีของหมู่ ให้เกิดสุข


สุขา สท.ธา ปติฏฐิตา

( สุขา สัทธา ปะติฏฐิตา )

ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้


สุขิโน วตารหน.โต

( สุขิโน วะตาระหันโต )

ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างมีแต่ความสุข


สุโข ปญ.ญาย ปฏิลาโภ

( สุโข ปัญญายะ ปะฏิลาโภ )

การได้ปัญญา นำมาซึ่งความสุข


สุโข ปุญ.ญส.ส อุจ.ยโย

( สุโข ปัญญัสสะ อุจจะโย )

การสร้างสมความดี นำสุขมาให้


สุโข พุท.ธานมุป.ปาโท

( สุโข พุทธานะมุปปาโท )

ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้


ส.นก.ขต.ตํ สุมง.คลํ สุปภาตํ สุหุฏ.ฐิตํ

( สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง )

ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี


สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตม.มง.คลมุต.ตมํ

( สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง )

พูดดี เป็นมงคลอันอุดม


เสย.โย อมิต.โต เมธาวี ยญ.เจ พาลานุกม.ปโก

( เสยโย อะมิตโต เมธาวี ยัญเจ พาลานุกัมปะโก )

มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นพาล


ยาทิสญ.จูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ

( ยาทิสัญจูปะเสวะติ โสปิ ตาทิสะโก โหติ )

คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น


หิโต พหุน.นํ ปฏิปช.ช โภเค

( หิโต พะหุนนัง ปะฏิปัชชะ โภเค )

คนดีจัดการโภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก

Create Date :25 พฤษภาคม 2556 Last Update :25 พฤษภาคม 2556 8:52:25 น. Counter : 3954 Pageviews. Comments :0