bloggang.com mainmenu search


ติดตามผลงานเขียนของท่านชัยอนันต์ สมุทวณิช อย่างสม่ำเสมอ งานเก่าๆก็ตามไปอ่านแต่พึ่งเจอหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไรก็ไม่รู้

ที่น่าสนใจคือใน plan of the scientific operation necessary for the reorganization of society ปี 1822 ของ Auguste Comte ได้มีการเสนอว่า การเมืองอาจเป็นฟิสิกส์ทางสังคมหรือ social physics ได้ และเป้าหมายของฟิสิกส์สังคมนี้ก็คือ การค้นหากฎของความเจริญทางสังคมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ฟิสิกส์ทางสังคมนี้ต่อมาก็มาก็คือ สังคมวิทยา หรือ Sociology นั่นเอง

แม้ว่า Comte จะเสนอว่า การเมืองคือฟิสิกส์สังคม แต่ Comte เองก็อาศัยความรู้ทางฟิสิกส์แบบนิวตันมาเป็นแนวทางในการศึกษาสังคมและการเมือง ซึ่งเราจะกล่าวต่อไปว่า ความรู้ฟิสิกส์แบบนิวตันนั้น เป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆเสี้ยวเดียวเท่านั้นในการเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่งในโลก นับตั้งแต่แรง ไปจนถึงอนุภาค ในชั้นนี้เราควรตั้งข้อสังเกตไว้ว่า Comte เองก็เริ่มใช้การวิเคราะห์ทางสังคมจากตัวแบบทางฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเช่น ชีววิทยา ซึ่งในยุคนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มาก

Comte นำเอาแนวทางของวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับการวิเคราห์ทางสังคมว่าจะใช้หลักการใหญ่ๆ 3 อย่างคือ การสังเกตหรือ Observation การทดลอง หรือ experiment และการสรุปความคิดรวบยอด หรือ abstraction การเมืองเองก็มีรูปธรรมที่สามมรถนำมาวิเคราะห์ได้เพราะรัฐเป็นรูปแบบหนึ่งขององค์กรทางสังคม

หลักการคิดแบบปฎิฐานนิยม หรือ Positivism ในศตวรรษที่ 19 ดังเช่นของ Comte นี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาการเมืองมาก ดังนั้นจึงมีแนวทางใหม่ๆ ศึกษารัฐ รวมถึงแนวทางของสำนักนิติรัฐ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของ Jean Bodin เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย


น่าสนใจดีแฮะ

7/10
Create Date :22 พฤษภาคม 2556 Last Update :22 พฤษภาคม 2556 20:14:20 น. Counter : 1520 Pageviews. Comments :1