bloggang.com mainmenu search
#O016# ชีวประวัติของไอแซค นิวตัน(Isaac Newton)




ประวัตินิวตัน


นิวตันเกิดในปี ค.ศ. 1642 เป็นการคลอดก่อนกำหนดและอ่อนแอมาก แม่ของเขาก็เป็นม่าย แม่ของเขานั้นมุ่งความสนใจไปที่ฟาร์มของครอบครัวมากกว่าที่จะมาสนใจเด็กหนุ่ม การศึกษาขั้นต้นของนิวตันมาจากโรงเรียนท้องถิ่นในเมืองเล็กๆของอังกฤษที่คงยากที่จะให้ความรู้แก่นิวตันมากมายในการเริ่มต้นเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ตอนเด็กๆของนิวตันก็ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาอะไรเลยว่าจะกลายเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญ่

ต่อมาครอบครัวของเขาให้นิวตันไปเรียนมหาวิทยาลัยแคมบริด ที่ซึ่งเขาได้เข้าเรียนใน วิทยาลัยทรินิตี้ ในปี 1661 ที่นี่ในที่สุดนิวตันก็ได้มีโอกาสได้อ่านงานของ โคเปอนิคัส เคปเลอร์ และกาลิเลโอ และเขาก็ได้เรียนกับครูที่เก่งมากอย่างน้อยหนึ่งคน นั่นคือนักคณิตศาสตร์ผู้เก่งกาจ ไอแซค บาโรว เรื่องที่คุณอาจแปลกใจ คือ จริงๆแล้วนิวตันไม่ได้มีผลงานโดดเด่นในมหาวิทยาลัยเท่าไหร่เลย จริงๆแล้ว เรขาคณิตเป็นเรื่องยากสำหรับเขาจนนิวตันนั้นเกือบจะเปลี่ยนคณะจากวิทยาศาสตร์ เป็นนิติศาสตร์แล้ว อย่างไรก็ตามท่านอาจารย์บาโรวได้เห็นความสามารถของนิวตัน

นิวตันได้ทำงานระดับปริญญาตรีของเขาเสร็จแล้ว ณ ช่วงเวลานี้เอง ได้เกิดการระบาดของกาฬโรครอบพื้นที่กรุงลอนดอนจนนำไปสู่การปิดมหาวิทยาลัย ดังนั้นนิวตันจึงใช้เวลาช่วงปี 1665-1666 อันสงบกับครอบครัวที่บ้าน ณ เมืองวูลสทอป ระหว่างช่วงเวลานี้เองนิวตันได้เริ่มต้นสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ของเขา คือ คณิตศาสตร์ กลศาสตร์และทัศนศาสตร์ เขาตระหนักว่ากฏแรงโน้มถ่วง เป็นการรวบรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวของกลศาสตร์ เขาได้มาซึ่งวิธีการทั่วไปสำหรับการแก้ปัญหาแคลคูลัส และเข้าได้สร้างการทดลองที่สำคัญและค้นพบว่า แสงสีขาวเช่นแสงอาทิตย์จริงๆแล้วประกอบด้วยทุกสีตั้งแต่ สีม่วงจนถึงสีแดง

ทั้งหมดนี้ กล่าวในช่วงหลังของชีวิตว่า "มันเป็นสองปีที่กาฬโรคแพร่ระบาด 1665-1666 สำหรับช่วงเวลานั้นมันเป็น จุดพีคของผมสำหรับ
การสร้าง นวัตกรรม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มากกว่าช่วงใดในชีวิตของผมเลย"

นิวตันกลับมาแคมบริดในปี 1667 และถูกเลือกให้เป็น เฟวโรวแห่งวิทยาลัยทรินิตี้ ในปี 1669 ไอแซค บาโรว ลาออกจากตำแหน่งทางคณิตศาสตร์ เขาได้อุทิศตนเพื่อ เทววิทยา นิวตันถูกแต่งตั้งแทนตำแหน่งของบาโรว ปรากฏว่านิวตันไม่ประสพความสำเร็จในการเป็นครู มีนักเรียนจำนวนไม่มากนักเข้าไปฟังเลคเชอร์เขา และก็ไม่มีใครถามสิ่งที่เขาสอนเลย

ในปี 1684 เพิ่อนของเขา เอดมัน ฮัลเลย์ นักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงจากดาวหางฮัลเล่ ได้เร่งรัดนิวตันเพิ่อให้ตีพิมพ์งานเรื่องแรงโน้มถ่วงถึงขนาดให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการแก้ไขการพิมพ์และการเงิน ดังนั้นในปี 1687 หนังสือวิทยาศาสตร์สุดคลาสสิก mathematical principles of natural philosophy หรือมักเรียกกันย่อๆว่า principia หรือ principles ก็เกิดขึ้น หนังสือได้รับคำสรรเสริญจำนวนมาก จากสามฉบับภาษาละตินได้ถูกแปลไปหลายภาษา ฉบับที่ได้รับความนิยมมากชื่อว่า Newtonianism for ladies หนังสือพรินซิเพียถูกเขียนแบบการนิรนัยเหมือนแบบของ ยูคลิด นั่นคือมันประกอบด้วย คำจำกัดความ สัจพจน์ ทฤษฎีบท บทแทรก ซึ่งมันทำให้ยากในการอ่านมาก

โดยที่นิวตันกล่าวกับเพื่อนว่า เขาจงใจทำให้พรินซิเพียยาก และเขายังต้องการหลีกเลี่ยงจากการถูกวิจารณ์เปเปอร์แรกๆของเขาเกี่ยวกับเรื่องแสงด้วย

หลังจากนั้นประมาณสามสิบปีของการสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งในด้านเคมี นิวตันกลายเป็นโรคซึมเศร้า และโรคประสาท ? (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า nervous breakdown)เขาออกจากมหาวิทยาลัยแคมบริดและกลายเป็นผู้ดูแลโรงกษาปณ์ของอังกฤษในปี 1696 และจำกัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับปัญหาเฉพาะบางอย่างเท่านั้น เขากลายเป็นคนอุทิศชีวิตให้กับการศึกษาเทววิทยา ซึ่งเขาบอกว่ามันพื้นฐานมากกว่า วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งเขาบอกว่าอย่างหลังมันเกี่ยวข้องแค่กับโลกทางกายภาพ จริงๆแล้วถ้านิวตันเกิดมาเร็วกว่านี้สักสองร้อยปี เขาคงเป็นนักเทววิทยาอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่นในงานเขียนด้านเทววิทยาของเขา The Chronology of The Ancient Kings เขาพยายามคำนวณวันเหตุการณ์ในไบเบิ้ลด้วยข้อมูลทางด้านดาราศาสตร์

ในช่วงสุดท้ายของชีวิตและหลังมรณะกรรม เขาถูกยกย่องเชิดชูในหลายด้าน เขาเป็นประธานสมาคมราชบัณฑิตของกรุงลอนดอนตั้งแต่ปี 1703 ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ถูกแต่งตั้งเป็นอัศวินในปี 1705 และถูกฝังในสำนักเวสมินเนสเตอร์


แปลและเรียบเรียงจาก Mathematics for the Nonmathematician โดย Morris Kline
Create Date :24 มกราคม 2557 Last Update :24 มกราคม 2557 15:08:35 น. Counter : 3296 Pageviews. Comments :2