bloggang.com mainmenu search
แล้วเรื่องก็ดำเนินมาถึงการทำเสาแต่งรอบบ้านซักที...เป็นการก่ออิฐครอบเสาเดิมเข้าไปอีกทีให้ดูหนาขึ้น เพื่อความสวยงาม และ ประโยชน์

(เสาแต่งเนี่ยนะมีประโยชน์อย่างอื่นนอกจากจะทำสวยเป็นอย่างเดียว)

อ้า...ต้องสวยและเก่งด้วยไม่งั้นไม่ได้เป็นนางสาวไทยนะ 55 ไม่เกี่ยวซักหน่อย

เข้าเรื่อง ที่ว่าเพื่อประโยชน์อย่างนึงด้วยคือ....ช่วยบังแดดยามเที่ยง และฝนยามฝนพรำ เพราะหน้าต่างบ้านผมใช้อลูมิเนียม..นิน่า...ป้องกันในระยะยาวๆเรื่องการรั่วซึม..บ้านบางหลังหรือหลายๆหลังที่ติดหน้าต่างอลูมิเนียม จะใช้การ ทำบัวไว้ที่ขอบด้านบนของหน้าต่าง บ้างก็ทำบัวรัดมันทั้งกรอบไปเลยก็ไปอีกแบบ...บ้างก็ก่อทำเป็นกันสาดมาครอบด้านบนขอบหน้าต่างเอาไว้....แต่ผมเลือกแบบทำเป็นแนวกันสาดตลอดทั้งแนวไปเลยดีกว่า...


เริ่มจากต้องทำฐานรากให้ซะก่อน ถึงแม้จะเป็นแค่เสาก่ออิฐตกแต่ง ก็ต้องมีฐานราก เพราะไม่งั้นเด๋วจะทรุดและหลุดแยกจากตัวบ้านได้
(บางหลังก็ทำตั้งแต่ยังไม่ฉาบเรียบด้วยซ้ำ ก็แล้วแต่เทคนิคกันไป) และในระหว่างที่ก่อขึ้นไปก็ใช้สว่านมาเจาะตามแนวก่อที่สูงขึ้นไปแล้วเอาเหล็กเส้นมาเสียบยึดเอาไว้เพื่อให้เสาที่ก่อขึ้นมายึดติดแน่น








แล้วก็เริ่มก่อกันขึ้นไปเรื่อยๆ





ตรงโรงรถหน้าบ้าน จะมีท่อน้ำทิ้งต่างๆที่มาห้องของจากชั้น 3 ก็ก่อปิดเอาไว้

****ที่สำคัญที่ควรระวัง คือ ต้องอุดรูของช่องพวกนี้ทุกช่องที่มีการเดินท่อเข้าตัวอาคารให้มิชิดแบบห้ามีรูแม้แต่นิดเดียว...ไม่งั้น บ้านท่านจะเจอพวกหนูผี (หนูตัวเล็กๆ ตาจะสีแดงโตๆ) วิ่งกันพล่านทั้งฝ้าเพดาน....(บ้านหลังเก่าผมเจอปัญหาพวกหนูเยอะมาก เพราะมาจากรูที่เรานึกไม่ถึงพวกนี้) ****





ก่อสูงจนมาถึงคานพื้นชั้น 2






หลังจากก่อเสาขึ้นไปถึงคานพื้นชั้น 2 ต่อไปก็ตีไม้แบบและผูกโครงเหล็กเพื่อทำเป็นแนวกันสาดยาวตลอดแนวคาน ไม่ได้เทคอนกรีตเต็มหน้าคาน (คานหนา 60 cm) เพราะจะหนักเกินไป ...แต่แนวโครงเหล็กพวกนี้ก็จะเจาะยึดเข้าไปที่ตัวคานด้วยเพื่อช่วยดึงเอาไว้....จากนั้นก็ทำเป็นปีกห้อยลงมาเพื่อหลอกตาให้ดูเหมือนว่าหนาเท่าคานด้านใน.....(กะว่าหลังทำเสร็จอาจจะทำไม้ระแนงมาตีปิดลงมาอีก)





ที่ด้านล่างของกันสาดก็จะได้หน้าตาประมาณนี้..เป็นหลุมๆ อย่างงี้ ...แปลกๆเหมือนกัน ติดหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ยาวๆได้เลยนะเนี่ย สว่างแน่ๆ...ดูก่อนละกัน ค่อยมาจัดการทีหลัง (ถ้าไม่ลืม 555)




ที่เหลือก็ทำแบบเดียวกันนี้ต่อขึ้นไปอีก 1 ชั้น ก็จะเป็นแนวกันสาด ครอบทั้งชั้น 1 และชั้น 2 เอาไว้ แล้วก็เสี้ยมดิ่งจับฉากแล้วก็ฉาบเรียบ..เป็นอันจบ (ไม่ได้ถ่ายมา เพราะงานยังไม่ถึงขั้นนั้นครับ...มาดูอีกทีก็คงเสร็จ)

ในระหว่างที่ทำเสาแต่งอยู่นั้น ช่างก็ถือโอกาสผูกเหล็กและเทพื้นระเบียงที่หลังบ้านชั้น 2 ไปให้ด้วยกันไปเลย





แล้วก็เทคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย





หลังจากนั้นมาไม่กี่วัน ถังบำบัดน้ำเสียก็เริ่มลำเลียงเข้ามาวางรอแล้ว โดยใช้ถังบำบัด 2 ถัง ขนาด 1600 ลิตร สำหรับห้องน้ำชั้น 2 และชั้น 3 กับ 1000 ลิตร สำหรับห้องน้ำ ชั้น 3 กับห้องน้ำชั้นล่าง.....

ส่วนถังสีฟ้าๆ นั่นเป็นถังน้ำดีใช้เก็บน้ำใต้ดิน..แบบว่าไม่อยากสิ้นเปลืองพื้นที่ไปกับการวางถังน้ำบนดินอ่ะนะครับ (เนื้อที่มีน้อยใช้สอยอย่างประหยัด...แหะๆๆ).........แรกๆก็ว่าจะใช้แบบวางตั้งบนพื้นเอาเพราะถ้ารั่วซึมก็ง่ายแก่การบำรุงรักษา..แต่เมื่อปรึกษากับอาเฮียผู้รับเหมาแล้วท่านว่า

อาเฮียผู้รับเหมา : ลงดินก็ได้แล้วมันก็ไม่ได้จะชำรุดกันง่ายๆนะอยู่กันหลาย 10 ปีทีเดียว ถึงตอนนั้นถ้ามันรั่วหรือมีจุดรั่วแล้วจะแก้ก็ไม่ยาก จะสะกัดพื้นหรือ เดินแนวท่อด้านบนใหม่...ซ่อนๆไว้ข้างใต้นั่นล่ะไม่รกตาดี....ทำงี้กับอพาร์ทเม้นท์มาหลายที่ผ่านมาเป็น 10 ปีแล้วก็ไม่เห็นมันจะรั่วกันเลย สบายใจได้ๆ

เรา : เอ่อ...เหรอครับ....ถ้าเฮียว่าดีก็ว่าตามนั้นได้ครับ



เจ้าถังบำบัดเล็ก spec บอกเบ้อเริ่มเทิ่ม 1000 ลิตร





และถังน้ำดี (ถังฟ้า) มี มอก. บอกพร้อมสำหรับบรรจุน้ำเพื่อการบริโภค ขนาด 1600 ลิตร...คำนวณดูจาก ปริมาณการใช้ในช่วงวันปกติ ก็ใช้คนละไม่น่าเกิน 80 ลิตร (บ้านผมชอบอาบน้ำกันเปลือง ไม่ประหยัดกันซะเลย ก็มันล้ามาจากทพงานทั้งโดนน้ำอุ่นๆได้ผ่อนคลายก็เลยแช่นาน) ทั้งหมด 3 คน ก็แค่ 240 ลิตรต่อวัน สำรองน้ำใช้ได้นาน 6 วัน (อยากได้เยอะกว่านี้ค่อยทำถังบนดินมาต่อเพิ่มเอาละกันเน๊าะ)







บรรดาข้อต่อของถังบำบัดน้ำเสีย เป็นท่อยางบิดงอให้ตัวได้พอประมาณ





ฉลากข้างถังแปะบอกกรรมวีธีการติดตั้งอย่างถูกวิธีเอาไว้ให้ด้วย






ก่อนกลับก็ถ่ายรูปด้านนอกเก็บไว้ดูความเปลี่ยนแปลงเล็กๆที่เกิดขึ้น ซึ่งก็กำลังทำจะเทปีกกันสาดที่คานชั้น 3.......

Create Date :02 พฤศจิกายน 2553 Last Update :2 พฤศจิกายน 2553 16:11:59 น. Counter : Pageviews. Comments :14