bloggang.com mainmenu search



ที่เวลา 56 ชั่วโมงหรือ 330,00 กม. หลังจากถูกปล่อยจากสถานีอวกาศเคเนดี้
เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินสั่งให้ Swigert เปิดพัดลมเพื่อกวนถังออกซิเจนและไฮโดรเจน
ซึ่งเป็นไปตามตารางปรกติในการป้องกันการแข็งตัวและให้อ่านค่าได้ถูกต้อง
แต่สิ่งที่พวกเค้าไม่รู้เลยก็คือ นั่นคือคำสั่งจุดระเบิดยาน Apollo 13

เมื่อ Swigert เปิดมอเตอร์เพื่อกวนถังออกซิเจนหมายเลข 2 มันระเบิดออก
ทำลายห้องเก็บแบตเตอรี่หมายเลข 4 และตัวถังยานที่ทำจากอลูมิเนียม
ความดันก๊าซในถังลดลงจาก 1000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ไปเรื่อยๆ
ทั้งนักบินอวกาศและเจ้าหน้าภาคพื้นดินต่างตกใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

แรงระเบิดของถังหมายเลข 2 ยังทำลายท่อและวาล์วของถังหมายเลข 1
ทำให้ก๊าซออกซิเจนอันมีค่าไหลออกไปจนหมดภายใน 130 นาทีต่อมา
ผู้อำนวยการโครงการ Gene Kranz สั่งให้ยกเลิกภารกิจ
และอพยพนักบินอวกาศจาก Service Module ที่เสียหายมายัง
Lunar Module ที่ระบบต่างๆ ยังสามารถทำงานได้ให้นักบินมีชีวิตรอด

ซึ่งขัดแย้งกับโปรโตคอลฉุกเฉินของขั้นตอนกลับสู่โลกที่กำหนดว่า
ให้สลัด Lunar modur ทิ้งแล้วหันยานกลับ จากนั้นจุดจรวดขับดัน
ของส่วน Service Module จนได้ความเร็วถึง 1,853 m/s
ซึ่งเพียงพอที่จะกลับสู่โลกในเวลา 56 ชั่วโมง แต่มันทำไม่ได้เพราะ

ตอนนี้พวกเค้าไม่รู้ว่าเครื่องยนต์หลักอยู่ในสภาพที่ทำงานได้หรือไม่
การระเบิดทำลายอะไรไปบ้าง ถ้าผลีพลามอาจจะเสี่ยงต่อการทำลายยาน
ในขณะเดียวกันพวกเค้าก็ไม่สามารถจะทิ้ง Lunar module ที่ยังให้ชีวิตได้



ดังนั้นพวกเค้าจึงต้องคิดแผนใหม่ นั่นก็คือใช้แรงเฉื่อยที่มีอยู่ในตอนนี้
ขณะที่ยานยังคงมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์ ให้โคจรผ่านหน้าแล้วอาศัยแรงดึงดูด
เพื่อเหวี่ยงยานให้กลับมายังโลก จากนั้นใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กของ LM
ที่ยังเชื่อมั่นว่าไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากแรงระเบิดในการเร่งความเร็ว

แต่ปัญหาคือ วิธีนี้จะเพิ่มเวลาของนักบินที่ต้องอยู่ในอวกาศไปอีก 3 วัน
แทนที่จะเป็นวันเดียว ในขณะที่เหลือออกซิเจนและพลังงานที่น้อยเต็มที
และต้องแบก Lunar module ที่เทอะทะ แต่มีพลังงานและออกซิเจนสะสมไว้
สำหรับการลงจอดบนดวงจันทร์ เพื่อให้รอดชีวิตมาถึงระยะใกล้โลกอีกครั้ง

ที่ 61 ชั่วโมงครึ่ง พวกเค้าต้องปรับทิศทางยานเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์
บนภาคพื้นดิน มีการถกเถียงอย่างยาวนานเรื่องตัวเลือกระหว่าง ปล่อยให้
ยานอวกาศอาศัยเพียงแรงเหวี่ยงกลับมาสู่โลก หรือจะจุดระเบิดเครื่องยนต์

แต่ปัญหาก็คือ เครื่องยนต์หลักของ LM ถูกออกแบบมาให้ทำงานช่วงสั้นๆ
เพียงพอชะลอการลงดวงจันทร์ และขึ้นจากดวงจันทร์กลับไปยังวงโคจร
ถ้าพวกเค้าจะระเบิดนานไปกว่าที่ออกแบบไว้เป็นไปได้ที่อาจเกิดระเบิด

ในที่สุด Gene Kranze เลือกที่จะสั่งจุดระเบิดและคำนวณเวลาที่เหมาะสม
เมื่อยานอวกาศออกจากด้านมืดของดวงจันทร์ นักบินก็ติดเครื่องยนต์ของ LM
เพื่อจะร่นระยะเวลาการมุ่งหน้ากลับสู่โลกลงอีกราว 56 ชั่วโมง
ช่วยเพิ่มโอกาสให้นักบินอวกาศสามารถมีชีวิตรอดกลับมาสู่โลก



Lunar module ออกแบบไว้สำหรับมนุษย์อวกาศสองคนเป็นเวลา 1 วันครึ่ง
ไม่ใช่สำหรับสามคนในเวลา 4 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซออกซิเจน
ที่เก็บในถังขนาดเล็กเพียงพอสำหรับแค่ใช้ในการสำรวจดวงจันทร์

นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องพลังงาน ใน LM มีเพียงแบตเตอรี่เก็บไฟ
ต่างจาก SM ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเองได้จากปฏิกิริยาของเซลล์เชื้อเพลิง

และผลพลอยได้อีกอย่างที่สำคัญก็คือ น้ำที่ได้จากสมการเคมี
ดังนั้นพวกเค้าจำเป็นต้องปิดระบบทุกอย่างจนกว่าจะใช้งานมันอีกครั้ง
เพื่อเปิดระบบนำทางกลับในกรณียกเลิกภารกิจ ที่มีไว้ใน LM
ซึ่งเครื่องนี้ใช้น้ำและแบตเตอรี่น้อยกว่าระบบนำทางปรกติใน SM

ปัญหาอย่างที่สามคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการหายใจ
ซึ่งบนยานใช้สารเคมีที่เรียกว่า ลิเธี่ยมไฮดรอกไซด์เพื่อเก็บกักมันไว้
แต่ด้วยเวลาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มันมีใช้ไม่เพียงพอจนกว่าจะกลับสู่โลก
เพราะ SM ที่พังไป ทำให้พวกเค้าต้องมาหลบภัยใน Lunar module

แต่แผ่นดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ของ LM นั้นต่างไปจากของ SM
และก็เป็นอย่างที่เห็นในหนังคือ พวกที่อยู่บนโลกต้องพยายามหาหรทาง
ใช้ของที่มีตรงหน้าดัดแปลงแผ่นสีเหลี่ยมให้ไปอยู่ในกระบอกทรงกลม



ปัญหายังมีไม่จบสิ้น เนื่องจากพวกเค้าต้องปิดระบบคอมพิวเตอร์ใน
Command Module ทั้งที่มันถูกออกแบบให้ต้องทำงานตลอดเวลา
ดังนั้นไม่มีใครรับรองได้ว่า เมื่อพวกเค้าต้องเปิดมันอีกครั้งเมื่อใกล้โลก
มันจะสามารถเปิดขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้งหรือไม่

และปัญหาที่สำคัญก็คือ การเปิดขึ้นใหม่มันจะไม่ได้พลังเท่าปรกติ
เพราะตอนนี้ระบบแบตเตอรี่ในยานหลักที่เป็นเซลล์เชื้อเพลิงพังไปแล้ว
พวกเค้าต้อง reboot มันด้วยพลังงานแบตเตอรี่ที่มีแรงดันน้อยของ LM

ในหนังเราจะเห็นภาพการจำลองสถานการณ์ดังกล่าวโดยนักบินอวกาศ
Matthingly II คนที่เป็นสงสัยว่าจะเป็นหัดเยอรมันเลยอดขึ้นบิน
ในยานจำลองเพื่อหาหนทางในการ boot computer ขึ้นมาใหม่

นอกจากปัญหากระแสไฟต่ำ เค้ายังต้องเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับปัญหาว่า
ในยาน LM ที่เปิดระบบทำความร้อนให้อุณหภูมิลดต่ำลงเหลือเพียง 4 องศา
นั่นเอาจะเป็นไปได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต่อการใช้ลงจอดใน CM
จะมีน้ำในอากาศที่จับตัวเป็นละออง เมื่อพวกเค้าปล่อยไฟเข้า มันจะเสียหาย

แต่พวกเค้ายังคงเชื่อมั่นว่า หลังเหตุการณ์ไฟใหม่ใน Apollo 1
อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกห่อหุ้มไว้เป็นอย่างดี ไม่น่าจะเป็นปัญหา



หลังจากต่อสู่ต่อความหนาวเย็น และการแก้ปัญหาหลายอย่าง
ก่อนที่ Apollo 13 จะถึงจุดปฏิบัติการช่วงสุดท้าย ก็มีคำถามว่า
จะปลดยาน service module อย่างไรก่อนขบวนการกลับสู่โลก
เพราะตอนนี้ ไม่มีพลังงานที่จะไปสั่งการอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปลด

ในที่สุดพวกเค้าก็หาทางออกด้วยการใช้แรงดันที่แตกต่างระหว่างยาน
ซึ่งต้องมีการคำนวณ เพื่อให้เกิดระยะห่างที่จะไม่เกิดอันตรายต่อยาน
หลังจากเดินทางมา 138 ชั่วโมง นับจากออกจากโลก
ในที่สุดนักบินอวกาศก็ได้เห็นภาพความเสียหายของ service module

พวกเค้าได้เก็บภาพนั้นไว้ ซึ่งจะถูกนำมาวิเคราะห์สาเหตุในภายหลัง
3 ชั่วโมงถัดมาพวกเค้าก็ได้เวลาออกจาก lunar module
ยานที่ช่วยชีวิตเค้ามาตลอดระยะเวลาสี่วันหลังการระเบิด
เข้าสู่ command module เพื่อเข้าสู่กระบวนการกลับสู่โลก

บนสถานีภาคพื้นดิน ไม่มีอะไรที่พวกเค้าทำได้หลังจากนี้อีกแล้ว
เพราะความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของเกราะกันความร้อน
จะเผาไหม้อากาศรอบๆ ให้กลายสถานะเป็นไอพลาสมา
ซึ่งขัดขวางการรับส่งสัญญาณวิทยุ ทำไม่สามารถติดต่อนักบินได้

พวกเค้าได้แต่ภาวนาให้เกราะกันความร้อนและร่มชูชีพไม่เสียหาย
การเข้าสู่กระบวนการนับถอยหลัง ซึ่งกินระยะเวลาประมาณ 1 นาที
หลังครบกำหนดเวลา ที่คาดว่ายานจะตกถึงพื้นมหาสมุทร
วิทยุติดต่อยังคงเงียบสนิท จนกระทั่งผ่านไปถึง 87 วินาที

นานกว่าโครงการ Apollo ใดๆ ที่ผ่านมา พวกเค้าก็ตอบวิทยุ
จบสิ้นการเฝ้าคอยการกลับมาของชาวอเมริกันทั้งประเทศ
หลังจากนี้คงเป็นเวลาที่สาธารณชนตั้งคำถามว่า

เกิดอะไรกับโครงการที่ใช้ภาษีไปนับพันล้านเหรียญนี้
Create Date :08 มกราคม 2559 Last Update :8 มกราคม 2559 10:48:28 น. Counter : 1124 Pageviews. Comments :3