bloggang.com mainmenu search
จังหวัดน้องใหม่ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของไทย
เป็นที่น่าจับตามอง ในแง่ของสถานที่ท่องเที่ยว
ทั้งเชิงศาสนาและวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งเป็นประตูสู่ "เมืองปากซัน"
ประเทศเพื่อนบ้านของเรา

จะว่าไปแล้ว บึงกาฬ เป็นที่รู้จักของเรา
ตั้งแต่ครั้งที่ยังอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดหนองคาย
และเนื่องด้วย บึงกาฬเป็นถิ่นเกิดของพ่อของลูกด้วย
เราจึงได้มีโอกาสไปเยือนจังหวัดแห่งนั้นอยู่เรื่อย ๆ
พร้อมทั้งได้ข้ามพรมแดนตามกลิ่นกุหลาบปากซันด้วย

ล่าสุด ครอบครัวเราได้มีโอกาสไปหาดคำสมบูรณ์
จึงคิดว่าน่าจะนำมารีวิวให้ชมกัน แถมด้วยวัดฮาฮงศิลาวาส
จากทริปก่อนนู้นด้วย


.............. ตามเราไปกันเลยค่ะ ^^





พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง
เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำลำดับที่ 2 ของประเทศไทย
เป็นพื้นที่ชุ่ม น้ำที่มีความสำคัญ ระดับนานาชาติ
(Ramsar Site อันดับที่1098 )
ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสองอำเภอคือ เซกา และ บึงโขงหลง

ข้อมูลทั่วไป
(ป้ายที่ติดตั้งบริเวณหาดคำสมบูรณ์ ซึ่งเป็นข้อมูลเดิมอยู่ค่ะ)

ความหลากหลายทางชีวภาพ





ความสำคัญ



ขออภัยที่ทริปนี้ไม่ได้ตระเวนไปชมคงามหลากหลายของระบบนิเวศรอบบึงโขงหลงอย่างละเอียด
หากมีโอกาสจะแวะไปเที่วและเก็บมาฝากให้ละเอียดกว่านี้นะคะ

เพราะเราตรงดิ่งไปที่หาดคำสมบูรณ์กันเลย
ไปถึงก็บ่ายแก่ๆ แล้วค่ะ


หาดคำสมบูรณ์ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบึงโขงหลงค่ะ

ตอนไป ขบหาป้ายทางลงหาดไม่เจอ สรุปได้ว่าจะไม่มีป้ายบอกทางลงหาดชัดเจน
แต่แถวๆ นั้นจะเต็มไปด้วยป้ายร้านอาหาร ให้เลือกป้ายใดป้ายหนึ่งสักป้ายแล้วขับเลี้ยวเข้าไป
ค่อยเลือกร้านนั่งภายหลังก็ได้

ที่จอดรถ



เราใช้วิธีสุ่มเลือกร้านอาหารเองค่ะ ไม่มีร้านแนะนำในดวงใจ

ริมหาดจะเต็มไปด้วยซุ้มอาหารให้เราเลือกนั่งตามอัธยาศัย
สามรถเข้าห้องน้ำของร้านที่เราใช้บริการสั่งอาหารได้ฟรีค่ะ



ลักษณะของหาดเป็นหาดแคบๆ แต่ยาวหลายกิโลเมตร

มีห่วงยางให้เช่า



เรือถีบ หรือจักรยานน้ำ



เรือถีบ หรือจักรยานน้ำ



ชิงช้าเอาไว้นั่งชิลล์ๆ



ดูสบายๆ ดีค่ะ



เด็กๆ กลุ่มนี้เล่นเรือกล้วยกันอย่างสนุกสนาม



มาดูว่ามีอะไรให้ชิมบ้าง



เครื่องดื่ม สามารถนำมาเองได้ค่ะ



ส้มตำแตงกวา อร๊อย.อร่อย



ก้อยหอย (สุกแล้ว) .. หอยอะไรไม่รู้ค่ะ



ปลาทอดกระเทียม อร่อยม๊าก... มาที่นี่ต้องสั่งปลา

ขอแนะนำเมนูนี้ ห้ามพลาดค่ะ



กุ้งชุบแป้งทอด อันนี้ก็อร่อยค่ะ



ส้มตำปลาร้า ก็อร่อยเหมือนกัน



ทิวทัศน์สวยงามดีนะคะ
ฉากหลังที่เห็นคือภูลังกา สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งค่ะ

อุทยานแห่งชาติภูลังกา
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
และอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ มีเนื้อที่ประมาณ 31,250 ไร่
หรือประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร จุดเด่นที่น่าสนใจ
คือดอยภูลังกา ดอยหัวลิง ดอยภูนม
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1720 และ 1693
และ 1500 เมตร ตามลำดับ



เกาลัดกับน้องชายเล่นน้ำและนำทรายมาโปะสมมติว่าเป็นเสื้อเกราะ



เด็กๆ เล่นน้ำกันสักพัก ก็ลงเรือกล้วย เป็นครั้งแรกของเกาลัดที่ได้รับโอกาสนี้ เขาดีใจมาก



ตีโค้ง



เทกระจาด



ปีนขึ้นกันทุลักทุเล



เทส่งท้ายก่อนจบ



พักเหนื่อยก่อนกลับ



เกาลัดกับเจ้ารถถัง แมวที่รักของครอบครัว



เรือกสวนไร่นาที่พลิกผืนดินสู่การทำสวนยาง

แถวอีสาน เริ่มปลูกสวนยางกันแพร่หลาย คนที่ทำก่อนร่ำรวยไปแล้ว
ส่งผลให้อีกหลายๆ คน ก็อยากลงทึนทำสวนยางกันบ้าง

ในภาพเป็นต้นยางที่เพิ่งปลูกไม่ถึงปีค่ะ



ที่ดินอีกผืนที่พี่สาว พี่เขย กำลังจะลงยางใหม่



รถคันนี้ที่เด็กๆ โปรดปราน

รถวิ่งไปบนถนนที่ขรุขระ
ก็สั่นคลอนไปทั้งหน้าทั้งตัว หงึกหงัก หงึกหงัก



เกาลัดกับน้องชาย สืบเชื้อสายลูกหลานชาวท้องถิ่นบึงกาฬ
ดูชุดแล้วกลมกลืนมากๆ ยืมชุดน้องใส่



พาไปกินของอร่อยบึงกาฬอีกอย่างหนึ่งกันนะคะ
เราไปกินที่ร้านแถวๆ ริมโขง ในตัวจังหวัด

ตอนนี้ความเจริญรุกคืบเข้ามาที่จังหวัด
มีห้างฯ มีฟาสต์ฟู้ดกิน
วิถีชีวิตที่สงบงาม เงียบๆ ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว



อาหารที่ว่านี้ คือ เมี่ยงปลาเผา นั่นเอง

แถวนี้เรียกปลาพัน หรือพันปลา เครื่องเคียงตามภาพ



ดูใกล้ๆ ยั่วน้ำลาย



ผักแกล้มสดๆ




วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ที่บ้านอาฮง
ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ


ห่างจากตัวจังหวัด 21 กิโลเมตร


การเดินทางจากตัวจังหวัด
ไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ทางที่จะไปอำเภอปากคาด

ฝั่งตรงข้ามเป็นพื้นที่เมืองปากซัน
แขวงบอลิคำไซ ของลาว
งตัวเมืองตรงที่ลำน้ำซันไหลลงสู่ลำน้ำโขง
จะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองบึงกาฬ

ในภาพเป็น วัดลาว ชื่อ"วัดพุทธไสยาสน์"
มีเจดีย์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนโขดหินริมน้ำ



ใกล้เข้าไปอีกนิด



หน้าแล้ง น้ำลด จะเห็น "แก่งอาฮง"
อีกทั้งยังมี จุดชม “สะดือแม่น้ำโขง”
เป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้
กระแสน้ำไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลาก
และมีกระแสน้ำไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่

สังเกตได้จากเมื่อมีวัสดุหรือซากไม้
ขนาดใหญ่ลอยมาเมื่อถึงบริเวณนี้
สิ่งของต่างๆ จะหมุนวนอยู่ประมาณ 30 นาที
จึงจะไหลต่อไป
ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น "สะดือแม่น้ำโขง"
มีความกว้างประมาณ 300 เมตร


วัดอาฮง ยังเป็นจุดชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
"บั้งไฟพญานาค"
ในช่วงออกพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11





















ข้อมูลแนะนำจังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดใหม่ที่พึ่งจัดตั้งขึ้นมา แยกจากจังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ 4,305 ตารางกิโลเมตร
ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 756 กิโลเมตร ภูมิประเทศของจังหวัดค่อนข้างหลากหลาย
ได้แก่ พื้นที่ราบสูง ภูเขา พื้นที่ราบลุ่มบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
นอกจากนี้จังหวัดบึงกาฬจะกลายเป็นศูนย์กลางการปลูกยางพารา ที่มีเนื้อที่ถึง 300,000 ไร่
อาจถือเป็นพืชเศษฐกิจหลักของจังหวัด

อาณาเขต
» ทิศเหนือ : ติดต่อกับ ประเทศลาวและแม่น้ำโขง
» ทิศใต้ : ติดต่อกับ จังหวัดหนองคาย
» ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ ประเทศลาว
» ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี

ระยะทาง
ระยะทางจากจังหวัดบึงกาฬไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดหนองคาย 113 กม.
จังหวัดสกลนคร 133 กม.
จังหวัดอุดรธานี 189 กม.


ระยะทางจากอำเภอเมืองบึงกาฬไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอศรีวิไล 35 กม.
อำเภอบุ่งคล้า 39 กม.
อำเภอพรเจริญ 47 กม.
อำเภอปากคาด 50 กม.
อำเภอโซ่พิสัย 58 กม.
อำเภอบึงโขงหลง 73 กม.
อำเภอเซกา 88 กม.

การเดินทาง

โดยรถยนต์
ระยะทางจากหรุงเทพมหานครไปจังหวัดบึงกาฬโดยประมาณ 765 กิโลเมตร
โดยขึ้นทางด่วนจากพระราม 4 ใช้ทางพิเศษเฉลิม มหานคร จากนั้นให้ตามทางพิเศษหมายเลข 31
ไปยัง ถนนวิภาวดีรังสิต แล้วจะมาบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 พหลโยธิน
จาก นั้นเปลี่ยนมาใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพและจากนั้นก่อนเข้าสู่ตัวเมืองเปลี่ยนมาใช้ทางหลวง 212
เข้าสู่จังหวัดบึงกาฬ

โดยรถประจำทาง

มีรถประจำทางธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด โทรศัพท์ : 0 2936 2841-48, 0 2936 2852-66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด บริการรถที่มีมาตรฐาน ระดับ วี.ไอ.พี. มาให้บริการ
โดยสำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร.0 2936 2735 อุดรธานี โทร. 0 4224 5789
สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2
ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2 ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า,
กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ

และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย
โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หรือที่รู้จักในนาม "หมอชิต2"
และจากตัวจังหวัดอุดรธานีก็จะมีรถธรรมดาวิ่งมาจากสาย 224 อุดร-นครพนม
หรือสาย 225 อุดร–นครพนมวิ่งผ่านทางจังหวัดสกลนครทุกวัน
สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 //www.transport.co.th

เครดิต : //www.sawadee.co.th/isan/buengkan/

รถทัวร์โดยสาร

ส่วนใหญ่เราจะเดินทางโดยเครื่องบินราคาประหยัด
ซื้อตั๋วโปรไว้ล่วงหน้า
ไปลงที่สนามบินอุดร
แล้วเช่ารถจากสนามบินอุดรขับไปต่อค่ะ
ใช้เวลาขับก็หลายชั่วโมงทีเดียว
ถนนก็ไม่ใหญ่ ส่วนใหญ่จะสองเลน





แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ

เครดิต : //www.bungkan.com/webboard/photo/506365.gif



Create Date :18 พฤษภาคม 2555 Last Update :18 พฤษภาคม 2555 13:31:50 น. Counter : Pageviews. Comments :6