bloggang.com mainmenu search
เมื่อเดือนธันาคม 2555 เรามีโอกาสได้ไปศึกษาเรียนรู้ ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ 13 ถนนพหลโยธิน ต.คลอง1 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 ตรงข้ามโรงพยาบาลนวนคร ฝั่งเดียวกับตลาดไท และอยู่ใกล้ตลาดไท เปิดบริการวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 09.30-15.30 น. เราจึงนำภาพและข้อมูลมาฝากกันค่ะ



มุมถ่ายภาพน่ารักๆ





นิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เป็นนิทรรศการเฉพาะกิจ










ร้านกาแฟน่ารักที่ห้องโถง




ร้านขายของที่ระลึก





ช่วงเช้า เรายังไม่ได้เข้าชมนิทรรศการ เพราะจะเข้าร่วมกิจกรรมตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ฯ ก่อน โดยเริ่มแรก เข้ารับฟังการบรรยาย พร้อมทั้งแนะนำพิพิธภัณฑ์









จากนั้น ขึ้นรถรางไปชมการทำการเกษตรแบบคนเมือง ซึ่งผู้คนที่ใช้ชีวิตแบบในเมือง มีพื้นที่แคบๆ ก็สามารถทำการเกษตรได้




การทำสวนผักดาดฟ้า







การเพาะเห็ดในโอ่งและท่อซีเมนต์






การปลูกผักในกระถาง





การทำสวนผักบนพื้นปูน





การปลูกผลไม้ในบ่อซีเมนต์





แม้แต่การปลูกข้าวบนพื้นซีเมนต์ก็ยังทำได้



จากนั้นขึ้นรถรางไปกันต่อ



ฐานต่อไปคือ 1 ไร่พอเพียง



สาธิตการเพราะเห็ดฟางในตะกร้า



การใช้พลังงานแสงอาทิตย์



บ้านดิน



การผลิตน้ำส้มควันไม้



การแบ่งพื้นที่เพื่อทำการเกษตร



การเลี้ยงหมูหลุมแบบเกษตรธรรมชาติ





บ่อเลี้ยงปลา



ตัวอย่างบ้านราคาประหยัด แบบพอเพียง





จากนั้นไปทดลองปลูกข้าวแบบนาหว่าน





จากนั้นในช่วงบ่ายก็มาเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันต่อ



และก็มาสู่ไฮไลท์อย่างหนึ่ง คือ การเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 10 โซน ในแนวคิด “10 โซนมหัศจรรย์การเรียนรู้วิถีเกษตรตามรอยพ่อ” ซึ่ง ได้รวบรวม พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ผลงานอันเนื่องมาจากพระอัจฉริยภาพ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งวิวัฒนาการ ภูมิปัญญา นวัตกรรม และพัฒนาการของเกษตรกรไทย ไว้สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ท่องเที่ยวของประชาชนผู้สนใจ

โซนที่ 1 “พระราชพิธีในวิถีเกษตร” จัดแสดงหุ่นจำลองการประกอบราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนา พร้อมประกอบด้วยคำอธิบาย ความเป็นมาและความหมายของพระราชพิธี






โซนที่ 2 เป็นห้องฉายภาพยนตร์ เรื่อง “กษัตริย์ เกษตร” เผยแพร่เรื่องราวของราษฎร ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จนสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้มีพออยู่พอกิน ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพยนตร์ทางการ์ตูน แอนิเมชัน






//www.bloggang.com/data/moonwatcher/picture/1358091183.jpg width='450' height='599' border=0>

ในโซนนี้ที่ข้างนอกห้อง ยังมีการจัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลาที่ครองสิริราชสมบัตินานกว่า 60 ปี โดยมีการจัดทางเดินเป็นวงกลมรอบห้องฉายภาพยนตร์

โซนที่ 3 จัดแสดง “เรื่องของพ่อในบ้านของเรา” นำเสนอเรื่องราวหลักการทรงงานทั้ง 23 ข้อที่ทำให้คนไทยกว่า 60 ล้านคนอยู่เย็นเป็นสุขมาถึงปัจจุบัน






โซนที่ 4 “หัวใจใฝ่เกษตร” เป็นห้องสำหรับเด็ก









โซนที่ 5 ร“ตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง” ห้องโถงโล่ง แสดงเรื่องราวเศรษฐกิจพอเพียง จัดแสดงวีดีทัศน์ที่ถ่ายทอดพระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจที่สะท้อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นตัวอย่างที่ควรน้อมนำไปใช้เป็นแบบอย่าง






โซน 6 “วิถีเกษตรของพ่อ” จัดแสดงเกี่ยวกับโครงการหลวง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ









โซนที่ 7 “นวัตกรรมของพ่อ” จัดแสดงเรื่องราวสิ่งประดิษฐ์ ด้วยพระวิริยะและพระปรีชาสามารถทรงได้ประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ต่างๆเพื่อพัฒนาการเกษตรไทย








โซนที่ 8 โซน“ภูมิพลังแผ่นดิน” เป็นโดมที่ใช้ไม้สนในการสร้างแบบยุโรปภายในประกอบด้วยภาพวีดีโอ ที่ย้อนไปเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ จัดแสดงภายในโดมไม้สน และยังมีการจัดแสดงยุคสมัยที่ 1-7 ตั้งแต่ที่พระองค์ได้พระราชสมภพ ขึ้นครองราชย์ และ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างมิทรงย่อท้อเหน็ดเหนื่อย




โซนที่ 9 เป็นโซน “น้ำ คือ ชีวิต” จัดแสดงพระราชกรณียกิจต่างๆ วิธีการทรงงานของพระองค์ท่านในการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในด้านอุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตร

โซนที่ 10 “ลานภูมิปัญญา” ประดับแผ่นศิลาฤกษ์ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อ พ.ศ.2539


ส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึง คือ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามมิติ ที่ควรติดตามชม








สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-2529-2212-13 หรือ //www.wisdomking.or.th เปิดให้เข้าชมฟรี ถ้าต้องการมาเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อทางสำนักงานพิพิธภัณฑ์ฯ

Create Date :13 มกราคม 2556 Last Update :13 มกราคม 2556 22:55:51 น. Counter : 33234 Pageviews. Comments :11