bloggang.com mainmenu search




Health Blog::เพื่อสุขภาพ

กระเจี๊ยบเขียวช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้








กระเจี๊ยบเขียว คุณค่าที่คนไม่ค่อยรู้

กระเจี๊ยบ มีอยู่สองชนิด คือ กระเจี๊ยบแดง และ การะเจี๊ยบเขียว
ที่เรารู้จักกันทั่วไป มักจะเป็น กระเจี๊ยบแดง ที่เอามาต้มเป็น น้ำกระเจี๊ยบ ที่หลายท่าน
ชอบดื่ม เพราะ สดชื่น และ มีประโยชน์ นั่นเอง แต่กับ อีกหนึ่งกระเจี๊ยบ คือ
กระเจี๊ยบเขียว เป็นอะไรที่ เรา ๆ ท่าน ๆ ถ้าไม่ใช่เด็กบ้านสวน หรือ
เด็กต่างจังหวัด ก็คงไม่รู้หรอก ว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร มีคุณค่า
ประโยชน์อย่างไร วันนี้เลยเอามาฝากกัน

กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณ 1 ปี เจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน
คือมีอุณหภูมิระหว่าง 18-35 องศาโดยประมาณ เป็นพืชที่สามารถนำมาเป็น สมุนไพร
ได้ เพราะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร





ชื่อสามัญ : Okra
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus Linn.
ชื่ออื่น : Lady's Finger

ประเทศอินเดียเรียกว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนเรียกว่า บามี (Bamies)

ส่วนของประเทศไทยนั้นแบ่งแยกเป็นภาค ได้ดังนี้
ภาคกลาง : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือมอญ
ภาคเหนือ : มะเขือพม่า มะเขือขื่น มะเขือมอญ มะเขือละโว้







ถิ่นกำเนิด
กระเจี๊ยบเขียวนั้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบ แอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น : มีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร
ใบ : ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ
ดอก : มีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ
ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด
ฝัก : คล้ายนิ้วมือผู้หญิง ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม
ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวานกรอบอร่อย
ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว

แหล่งเพาะปลูก
ในประเทศไทยนั้นพื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวมาก ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง
มีหลายจังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร
พิจิตร กาญจนบุรี ราชบุรี ระยอง และนครนายก







สรรพคุณทางยา
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้
เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum)
ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ
เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย
แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วัน







คนไม่เคย รับประทาน ฝักกระเจี๊ยบเขียว อาจจะ รับประทานไม่เป็น รับประทานยาก
กันสักหน่อย คนสมัยก่อน ชอบเอาไป ต้ม หรือ ต้มราดกะทิสด กินกับ น้ำพริกกะปิ
ปลาทู รสชาติ กรอบหวานอร่อยมาก แต่ที่หลาย ๆ คนออกจะไม่ชอบ กระเจี๊ยบเขียว
เพราะ ฝักของมัน ข้างในจะมี ยางเมือก ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ ทำให้ พิอักพิอ่วน หากคนไม่ชอบ
แต่หารู้ไม่ว่า นั่นเป็นสิ่งมีประโยชน์เหลือคณานับ ของกระเจี๊ยบเขียวเลยทีเดียว







จาก ข้อมูล ของ วิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ ซึ่งแปรรูป กระเจี๊ยบเขียว ให้ข้อมูลว่า

รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก

รับประทาน 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร

รับประทาน 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ

รับประทาน 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ

กำจัด พยาธิตัวจี๊ด

รับประทาน 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ

ดีท็อกซ์ลำไส้ อุจจาระตกค้าง

รับประทานสม่ำเสมอ เป็นเส้นใยอาหารธรรมชาติ มีแคลเซียม และ วิตามินสูง

รับประทานประจำ มี โฟเลต สูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง

และ พัฒนาการ ทารก

ใน ครรภ์ 40 ฝักแห้ง มีโฟเลต เทียบเท่าที่คนต้องการในหนึ่งวัน 10 ฝัก

มีโฟเลต เท่ากับ 25% ของความต้องการในหนึ่งวัน


ภาพ :: อินเตอร์เนต

เครดิตข้อมูล :: //www.never-age.com


+++++++++++++++++






++Bloggang :: jamaica++

Create Date :21 กันยายน 2556 Last Update :21 กันยายน 2556 5:53:44 น. Counter : 2892 Pageviews. Comments :0