ตอนที่21 ตรวจวัดอุณหภูมิในแต่ละจุดของบ้าน
ช่วงนี้ไม่กี่วันก็มาอัพบล๊อกที แบบว่าพอบ้านใกล้จะเสร็จบ้างแล้ว ก็จะมีช่างทีมนั้นทีมนี้เข้ามาเก็บงาน ทำให้ได้ข้อมูลเยอะมากขึ้น แบบว่าถ้ามาอัพอาทิตย์ละครั้งนี่ คงอ่านกันตาแฉะ ไม่ก็คนพิมพ์ขี้เกียจพิมพ์กันไปเลย เพราะช่างคนไหนมาก็โดนสัมภาษณ์กันจะจะ...เก็บข้อมูลทุกอย่างที่พอจะคิดได้
ขนาดคิดๆไว้แล้วยังลืมถามเลย...เช่น
- การเดินสายกราวน์ ช่างจะเดินยังงัย จะรวมกราวน์ของแต่ละชั้นไหม หรือจะแยกกันแล้วมาลง กราวน์ลอดจ์ แท่งเดียวที่พื้นเลย
- การเดินสายล่อฟ้า จะมีไหม ถ้าไม่มีผมจะให้ติดหน่อย(เด๋วออกเอง) บ้านเราสูงสุดละในรัศมี 400 เมตรเนี่ย....เลยเสียวว่าฟ้าจะลงเอาง่ายๆ และจะติดตั้งจุดไหนดี กี่จุดดี....เฮ้อ...เด่วค่อยมาว่ากันเรื่องนี้อีกที

เอาแต่ว่า เมื่อวานซืนเพิ่งได้ของเล่นมาใหม่ ....ของเล่นของเพื่อนอ่ะนะ(ไม่ลงทุนเอาซะเลย...แฮะๆๆ) ...ขอยืมมาใช้วัดซะหน่อย เพื่อเก็บทำสถิติดูว่า ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิแต่ละจุดมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร และ เก็บข้อมูลไว้เผื่ออนาคตจะได้รู้ว่า จะต้องมา Improve ตรงจุดไหนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น......ส่วนใครที่ก่อผนัง 2 ชั้น ก็จะได้เห็นกันว่า...ที่ว่ามันดีๆๆๆ เนี่ย มันดีขึ้นเท่าไหร่ คุ้มไหมกับที่จะทำ.... (โดยส่วนตัวผมว่า คุ้มเลยนะ ถ้างบถึงๆน่ะ)

งั้นมาดูกันก่อนว่า องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมในการตรวจสอบมีอะไรบ้าง

การตรวจสอบเริ่มต้นขึ้นในเช้าวันที่สดใส เพราะเมื่อคืนฝนตกตลอดทั้งคืน จนกระทั่งเมื่อเกือบเช้ามืดฝนจึงหยุดตก ฟ้าโปร่ง ....ไร้เมฑ...ผนังบ้านในแต่ละด้าน รับแสงแดดตลอดทั้งวัน.....

เครื่องมือที่ใช้ทำการทดสอบคือ เครื่องวัดออุณหภูมิแบบ Laser จะวัดจุดไหน ก็ยิงไปที่จุดนั้นเลยเฆ้นเป็นจุดแดงๆ (ยังกะเล็งกล้อง Sniper เลย)





การอ่านค่าก็ไม่ได้ยากเย็น เป็นตัวเลข บอกเสร็จสรรพ เล็งยิงกดลากยาว ทั่วทั้งห้อง แล้วเครื่องจะบอกค่าอุณหภูมิ Maximum ในการยิงครั้งนั้นออกมา...ใช้ง่ายจริงๆ






คราวนี้มาดู Plan บ้านกัน




จาก ภาพ ทิศของบ้านหันไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นทิศที่จะรับแสงแดดเกือบตลอดทั้งวัน.....ทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เคลื่อนทะแยงข้ามตัวบ้านไป ตามลูกศรสีแดง...และมีการแบ่งโซนในการวัดแต่ละจุด (การวัดจะทำการทดสอบประสิทธิภาพของฉนวนหลังคาที่ติดไปว่ามีการแผ่ความร้อนออกมามากน้อยเท่าใดที่ชั้น 3 ซึ่งจะเทียบกันในแต่ละจุดของแต่ละห้อง ส่วนในชั้น 2 และชั้น 1 เนี่ย เย็นตลอดคร้าบเลยไม่ได้ทำการวัดมาด้วย) ไว้ตามนี้

A = ฝ้าห้อง Entertainment
B = ฝ้าห้องนอนรับแขก
C = ฝ้าห้องนอนลูก
D = บริเวณพื้นที่ใต้หลังคาโดยวัดจากฉนวนกันความร้อน
E = บริเวณพื้นที่บนหลังคา (กระเบื้องหลังคา)
F = ชายคาบ้าน (วัดจากอุณหภูมิของไม้ระแนง)
G = ฝ้าบริเวณโถงกลางบ้านในชั้น 3 และโซนบันได


แบ่งการวัดเป็นช่วงเวลา 7:00น. , 11:00 น., 14:00น., 16:00น. ผลที่ได้ออกมาดังนี้






พอได้ตัวเลขมา ก็ลองมาจับทำกราฟใน Excel ดูเพื่อดูความสัมพันธ์ของอุณหภูมิในแต่ละจุดวัดออกมา




ถ้าดูจากเส้นสีแดง...อุณหภูมิที่กระเบื้องหลังคาในตอนเช้าๆจะไม่เยอะมากและอุณหภูมิในแต่ละจุดตามห้องต่างๆ ก็แทบจะเท่าๆกันรวมถึงอุณหภูมิใต้หลังคาด้วย...แสดงว่า "จะต้องมีการแผ่ความร้อนออกมาจากใต้หลังคาเรื่อยๆตลอดทั้งคืนจนกระทั่งปรับจนเท่ากันในช่วงเช้า(หรือก่อนหน้านั้นอีกก็ไม่รู้ บอกไม่ได้เพราะคงไม่ได้ตื่นมาตี 2 ตี 3 ไปยืนวัดอ่ะนะ 555+)"

แต่เมื่อแสงแดดเริ่มสาดส่องมาเรื่อย ความร้อนสะสมที่หลังคาและส่วนอื่นๆก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นแต่จะขึ้นช้าๆ เนิบๆ...แต่ความร้อนที่กระเบื้องหลังคาน่ะพุ่งไปแล้ว และไป Peak เอาตอนช่วง 12:00 - 14:00น. นั่น และอุณหภูมิของฉนวนกันความร้อนก็เพิ่มขึ้นตามแต่ไม่มากโดยไป Peak ที่ 35.1 องศา............แต่ๆๆๆอุณหภูมิของฝ้าในแต่ละห้องก็ยังคงน้อยกว่า เท่ากับว่า "พื้นที่ว่างของหลังคาก็ช่วยกันอุณหภูมิได้พอสมควรทีเดียว ได้ส่วนต่างเพิ่มขึ้นอีก เกือบ 2 องศา"


และพอมาดูประสิทธิภาพการกันความร้อนของแต่ละห้องกลายเป็นว่า ห้องนอนเจ้าลูกชายดูจะมีอุณหภูมิสูงกว่าห้องอื่นๆอยู่ เกือบๆจะ 1 องศา.....ลองมาพิจารณาอีกที ก็เป็นไปได้ เพราะว่า หลังคาบ้านตรงช่วงที่คลุมห้องนอนลูกอยู่นั้น รับแสงแดดตลอดทั้งวัน


และมีข้อคิดอีกอย่าง นั่นคือ....ฝ้าระแนง ถึงแม้จะอยู่นอกตัวบ้านและเป็นส่วนที่มีพื้นที่ใต้หลังคาน้อยที่สุด และจะมีฉนวนกันความร้อนปูไว้ด้วย....มีอุณหภูมิเย็นกว่าจุดอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด..ต่างกันไปอีก 2 องศาถ้านับจากฝ้าภายในตัวบ้าน พิสูจน์ได้ว่า "ถ้าทำให้พื้นที่ใต้หลังคามีอากาศไหลเวียนดีๆ จะช่วยลดอุณหภูมิของฝ้าได้อีกถึง 2 องศา"

ถามว่าแล้วมันไปเกี่ยวอะไรกับอุณหภูมิของฝ้า.....เกี่ยวนะ เพราะ ความร้อนจะมาในลักษณะส่งผ่านตัวนำไปเรื่อยๆ (การแผ่ความร้อน)....



ต่อมา.....หลังจากจบในเรื่องของการทดสอบฉนวนกันความร้อน แล้วก็มาดูต่อที่ ผนังก่อ 2 ชั้น และ ผนังก่อ ชั้นเดียว ให้ผลต่างกันแค่ไหนกันนะ....
ผมทำการวัดตอน 16:00 ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ ผนังได้อาบแสงแดดมาตลอดทั้งวันแล้ว....


ผนังก่อ ชั้น เดียว....วัดได้ .. "31.4 องศา"






ผนังก่อ 2 ชั้น วัดได้ .... "28.1 องศา"




โอ้โห....ห่างกันถึง 3.3 องศา เลยแฮะ........ใครคิดจะทำผนังก่อ 2 ชั้น หรือ ทำไปแล้วก็ยินดีด้วย...คุ้มค่าครับ เห็นผล พิสูจน์ละ....ฟันธง



Create Date : 29 กันยายน 2553
Last Update : 29 กันยายน 2553 12:40:03 น.
Counter : 8007 Pageviews.

13 comments
  
ถ้าเป็นอิฐมอญก่อเบิ้ลจะเย็นจริงๆที่วัดเหมือนส่วนใหญ่เข้าไปจะเย็นเป็นภูมิปัญญาตั้งแต่โบราณ.ณ..กาลความร้อนจะถูกตีย้อนกลับ...ลงหมุดให้ด้วย
โดย: ปุ๋ยกะแมงปอ วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:13:01:43 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่คุณต่อมีให้ตลอดเลยนะคะ เป็นความรู้ที่เก็บไว้เป็นข้อมูลได้อีกเรื่องแล้วจ้า
โดย: หญิงแก่น วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:15:20:01 น.
  
ขยันจังเลย บล๊อคนี้สนุกดีได้ความรู้ดด้วยครับ
โดย: The Korn (kornkot ) วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:16:08:27 น.
  
ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ
เสียดายไม่มีข้อมูลช่วงหัวค่ำนะครับ
อยากรู้เรื่องการคลายความร้อน
ดูจากกราฟเหมือนความร้อนมันลงช้ากว่าขาขึ้นเยอะเลย
โดย: CL วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:16:15:43 น.
  
ขอบคุณที่แวะไปแซวนะคะ หญิงแก่นกลัวน้อยหน้าคุณต่อนะคะ อิอิ
โดย: หญิงแก่น วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:16:20:33 น.
  
ได้ความรู้มากเลยครับ เข้ามาในblogนี้ ตอนแรกก็เข้าใจว่าอิฐ2ชั้นน่ะดีในเรื่องกันความร้อนอยู่แล้วแต่เห็นตัวเลข ไม่คิดว่าจะต่างกัน
เฉลี่ยถึง 3 องศา ถ้าคิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ให้กับแอร์ ประหยัดต่อวันได้เยอะเลยนะครับ




ถือเป็นวิธีการลดโลกร้อน และทำให้บ้านเย็นสบายด้วย
เอ ตอนหน้าจะมีของเล่นอะไรมาโชว์อีกน่ะเนี่ย

โดย: ก้อปศักดิ์ วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:16:23:18 น.
  
ช่ายครับพี่ CL ความร้อนลงช้า...เพราะน่าจะมาจากการระบายความร้อนในพื้นที่ว่างของหลังคากับฝ้าไม่มีเลยน่ะครับ ใช้แค่หลักการไหลเวียนของอากาศใต้ลอนกระเบื้องเท่านั้น....ตอนนี้คิดจะติดอุปกรณ์เสริมบ้างแล้วล่ะครับพวกพัดลมดูดอากาศ อะไรทำนองเนี้ย...กำลังนึกๆอยู่น่ะครับว่าจะใช้อะไรดี.....ที่จะมาช่วยในเรื่องการไหลเวียนของอากาศ (ตรงตำแหน่ง D)


และคงเป็นปกติของพวกโลหะน่ะครับ ที่ รับความร้อนได้เร็ว แต่จะคายความร้อนช้า...เพราะโครงหลังคาเป็นเหล็กและอีกอย่าง..ผมว่าไม่ว่าวัสดุแบบไหน ก็น่าจะเหมือนกันทั้งหมดคือ รับความร้อนเร็วแต่คายออกช้า (เทียบเอาจากระยะเวลาที่ใช้ตอนรับความร้อนนะครับ)
โดย: Thandagra วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:16:31:17 น.
  
อีกแล้วครับท่าน ว่าที่ ผรม ในอนาคตที่ผมแต่งตั้งให้ ช่างหาเรื่อง ...เอ้ย! มีเรื่องราวดีๆ มีความรู้ใหม่ๆมาฝากให้พวกเราได้เก็บเป็นข้อมูลเพื่อเอาไป apply ในการสร้างและต่อเติมบ้านให้มีประโยชน์ใช้สอยสูงสุด
คุณ Thandagra น่าจะทำงานในส่วน engineering แน่ๆใช่ไหมครับ
ดูจากลักษณะ idea และเรื่องราวที่นำเสนอ มี step ในการเก็บข้อมูล และมี technique เพื่อมา analyze แล้วประมวลผลออกมา นี่เป็น concept ของ engineer ขนานแท้

ชอบครับ ได้ความรู้เยอะดี เพิ่งได้เห็นตัวเลขที่ชัดเจนเรื่องของ temp ที่แตกต่างกันระหว่างผนังชั้นเดียวกับสองชั้น

อืม แล้วห้อง MiniCNC ของคุณเป็นผนังแบบมีโฟมอยู่ด้านใน แล้ว temp ภายในเป็นอย่างไรบ้างครับ ได้วัดไว้หรือเปล่า?
โดย: plimsawa9 วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:17:40:16 น.
  
ยังไม่ได้อ่านทั้งหมดน๊ะแต่เห็นรูปและการรายงานผลคร่าวๆ นับถือมากๆเลยครับท่าน สุดยอด เดี๋ยวมีเวลาจะกลับมานั่งอ่านน๊ะครับ
โดย: Sun in the sky วันที่: 30 กันยายน 2553 เวลา:10:55:09 น.
  
ตอบท่าน plimsawa9 นะครับ:
เรื่องห้องที่ก่อผนัง 2 ชั้นแล้วยัดโฟมไว้ตรงแกนกลางยังทดสอบไม่ได้น่ะครับ เพราะยังก่อไม่เสร็จ และอีกอย่างนึง ผมคิดว่าคงทดสอบยากแน่ เพราะว่า ปัจจัยมีดังนี้
- ห้องนั้นตลอดทั้งวันไม่มีแดดสาดส่องมาถึงเลย
- ห้องนั้นอยู่ที่ชั้นล่างสุด(ชั้น1)
เลยว่าถ้าจะทดสอบวัดผลจริงๆ คงต้องก่อผนังทุกด้านให้หมดรวมทั้งติดตั้งประตูให้เรียบร้อย แล้วถึงจะทดสอบได้น่ะครับ ไม่งั้น อุณหภูมิภายในตัวบ้านที่ชั้น 1 มันจะส่งผลทำให้ไม่เกิดความแตกต่างระหว่างผนังภายในมาก .... ทดสอบยากอ่ะนะครับโจทย์นี้

แต่คิดว่าอย่างนึง น่าจะเย็นกว่าแบบผนัง 2 ชั้นธรรมดาแน่นอนอ่ะนะแต่อาจจะไม่มากเท่าไหร่ดูๆไปคล้ายๆกระติด Cooler ที่ใช้โฟมยัดตรงกลางน่ะครับ....
โดย: Thandagra วันที่: 30 กันยายน 2553 เวลา:11:43:28 น.
  
ตามมาหาความรู้ค่ะ ทั้งๆที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ บ้านสวยใกล้เสร็จแล้ยินดีด้วยนะคะ

แอบติสนิดๆค่ะ
โดย: แม่สามข้าว (sinaporn ) วันที่: 1 ตุลาคม 2553 เวลา:11:15:04 น.
  
โดย: ฟ้าประทานให้ วันที่: 6 ตุลาคม 2553 เวลา:16:01:19 น.
  
ไฮเทคมากเลย มีวัดอุณหภูมิด้วย เราก็เลยแอบดีใจกับบ้านตัวเองเพราะผนังเกือบ 80% ของที่บ้านเป็นผนัง 2 ชั้น ดีจังจะได้ไม่เปลืองค่าไฟ บ้านก็ไม่ร้อน ช่างที่บ้านบอกว่างานก่อผนังบ้านนี้เท่ากับงานผนังบ้าน 3 หลังรวมกัน เพราะทั้งสูงทั้งก่อ 2 ชั้น

ชอบมากเลยค่ะบล็อคนี้ให้ความรู้ดีมาก และเจ้าของบ้านก็ใส่ใจทุกรายละเอียดจริงๆ
โดย: รอบรั้ว วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:20:00:04 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Thandagra
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 65 คน [?]




กันยายน 2553

 
 
 
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
24
25
26
28
30
 
 
All Blog